ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความเกลียดชัง : กลอนแปด



ความเกลียดชัง : กลอนแปด

    ฝนไม่ตก ต้องตาม ฤดูกาล..................ก่อนหน้านั้น พานภินท์ แผ่นดินไหว
(พอ)ฝนชุกทำ น้ำท่วม อ่วมอรทัย.............ดูอะไร อะไร (ต่าง)ไม่พอดี

    คนรอบข้าง (แตก)ต่างไป ตามใจจิต......บ้างทุจริต อิดหนา กล้าบัดสี
ความบกพร่อง ของคน ผจญทวี................แปลกแยกเพิ่ม เริ่มพี ทุกวี่วัน

    ยิ่งกว่า(สร้าง)ความ รำคาญ (คือ)การเบียนเบียด.....ก่อความเครียด เกลียดชัง สั่งสมสรรค์
เอาแต่ใจ(ตน) ไม่เฟ้น เห็นใจกัน..............ชอบแกล้งกลั่น บั่นทอน รอนชีวา

    มุ่ง(แต่)สุขตน ล้นมี เป็นที่ตั้ง...............ใครทุกข์ท้อ ก็ช่าง ไร้กังขา
เทิดทูนคุณ ของตน ล้นอัตตา..................ไม่เห็นค่า คนอื่น ขื่นสัมพันธ์

    โลกียธรรม กำมะลอ คือข้อใหญ่..........เห็นแก่ตน (เป็น)กลไก การแข่งขัน
ไม่ทำชั่ว ก็เกือบชั่ว ทั่วหน้ากัน................(เพราะ)อยู่ตัวใคร ตัวมัน กันดารดล

    ความเกลียดชัง(กัน) ยังใจ ให้สกปรก....ปริวิตก บกพร่อง ต้องสับสน
เกิดโทสะ โมหะ มลมน...........................อกุศล จลจินต์ กัดกินใจ

    ถึงโลกา จะทะลาย กายแตกดับ............ชีวาลับ ล่วงสิ้น วิญญาณไส
จงสละ อกุศล พ้นจัญไร..........................เกรงกลัวภัย ในบาป ย้อนกลับคืน

    สติระลึก ฝึกฤดี บริสุทธิ์.......................เปรียบประดุจ น้ำค้าง กลางไพรผืน
มลภาวะ สละไกล ใสยั่งยืน.......................จิตแช่มชื่น รื่นดี นิรันดร ฯ

๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น