ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2566

"หลักพุทธ"(วันมาฆบูชา) : กาพย์ยานี๑๑


"หลักพุทธ"(วันมาฆบูชา) : กาพย์ยานี๑๑


    "หลักพุทธ" (คือ)เพื่อหลุดพ้น....................(หยุด)เวียนว่าย(ตายเกิด)วน วัฏสงสาร

มากกว่า แค่ต้องการ...............................ล้างผลาญทุกข์ (มี)สุขารมณ์(ในปัจจุบัน)


    ไม่ใช่ (ทำแค่)ไม่ยึดมั่น..............................(แต่)ต้องห้ำหั่น ตัณหาสม

อกุศล (ละ)มูลปม....................................อบรม(ตน)เร้น เป็นหลักธรรม(อกุศลมูล=กิเลส)

 

    ปาฏิ โมกข์สังวร........................................เป็นคำสอน ปกรณ์ล้ำ(ปกรณ์=หนังสือ,คัมภีร์)

พึงพร้อม จิตน้อมนำ.................................ปฏิบัติตาม ธรรมวินัย


    มีหทัย ไม่ประมาท.....................................บาปตัดขาด (ความ)ชั่วปัดไส

แม้โทษ (มี)เล็กน้อย ; ไม่..........................ไว้วางใจ ภัยเภทมี


    อภิชฌา และโทมนัส..................................พึงกำจัด(ละ) จากโลกนี้(อภิชฌา=ความโลภมากอยากได้)

ความผูก พันคลุกคลี.................................กับหมู่คณะ ควรละวาง


    ศีล-สมา ธิ-ปัญญา(สิกขา๓)........................เพียรศึกษา ประพฤติสร้าง

มรรคผล พ้องหนทาง................................ข้างหน้าลุ สู่นิพพาน

 

    มีฤดี ที่เด็ดเดี่ยว........................................มุ่งขับเคี่ยว สติปัฏฐาน

ฝึกฝน จนเชี่ยวชาญ..................................บันดาลพบ ประสบชัย(หมดสิ้นกิเลสตัณหาหมดทุกข์)

 

    วันมา ฆบูชา.............................................พุทธศา(สนิกชน) จงเลื่อมใส

"หลักพุทธ" อุตส่าห์หทัย...........................ไม่ทำเพียง พอเป็นพิธี


๖ มีนาคม ๒๕๖๖


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

ปาฏิโมกขสูตร
ว่าด้วยปาฏิโมกขสังวร
[๘๒๗] ครั้งนั้น พระภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้น แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มี- *พระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้ผู้เดียว หลีก ออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด. [๘๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอจงชำระเบื้องต้น ในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม? เธอจงสำรวมในปาฏิโมกข- *สังวร จงถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขา บททั้งหลาย. [๘๒๙] ดูกรภิกษุ เมื่อใดแล เธอจักสำรวมในปาฏิโมกขสังวร จักถึงพร้อมด้วย มารยาทและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เมื่อนั้น เธออาศัยศีลดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุ เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ... ในเวทนาอยู่ ... ในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อใด เธอจักอาศัย ศีลดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญใน กุศลธรรมได้ทีเดียว ตลอดคืนหรือวันที่จักมาถึง ไม่มีความเสื่อม. [๘๓๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้น ชื่นชม อนุโมทนา พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ภิกษุนั้นเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุด แห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลภิกษุนั้นเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวน พระอรหันต์ทั้งหลาย.

โอวาทปาฏิโมกข์ [โอ-วา-ทะ-ปา-ติ-โมก]

       หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
       ได้แก่ พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่า วันมาฆบูชา
       (อรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา ๒๐ พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา),
       คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)
           สพฺพปาปสฺส อกรณํกุสลสฺสูปสมฺปทา
           สจิตฺตปริโยทปนํเอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ
                          ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
                          นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
                          น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
                          สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ฯ
           อนูปวาโท อนูปฆาโตปาติโมกฺเข จ สํวโร
           มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึปนฺตญฺจ สยนาสนํ
           อธิจิตฺเต จ อาโยโคเอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ
       แปล: การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การบำเพ็ญแต่ความดี ๑ การทำจิตต์ของตนให้ผ่องใส ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
       ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง, พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม, ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต, ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
       การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑ ที่นั่งนอนอันสงัด ๑ ความเพียรในอธิจิตต์ ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
       ที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันได้มาก ก็คือ ความในคาถาแรกที่ว่า
           ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%E2%CD%C7%D2%B7%BB%D2%AF%D4%E2%C1%A1%A2%EC&detail=on

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น