บาปเกิดจากการเบียดเบียน(ผู้อื่น) : กลอนคติเตือนใจ
๏ ทำคุณ กับใคร คงไม่บาป................................จนตราบ จับขั้ว ชั่วสาไถย
เบียดเบียน เขาจน ท้นทุกข์ใจ..........................ทุกข์กาย ; จะได้รับ กลับทรมาน
๏ บาปกรรม จึงเกิด ละเมิดก่อ.............................ติดต่อ ส่อสัจ วัฏสงสาร
กฎแห่ง เวรกรรม ตามบันดาล...........................ให้พาน พบทุกข์ คลุกกลับคืน
๏ ความเห็น แก่ตัว คือหัวใจ................................(ก่อ)บาปกรรม์ จัญไร ใจระรื่น
(คิดว่า)เอารัด เอาเปรียบ เหยียบ(ย่ำ)ผู้อื่น-.........ได้ ; ชื่น สุขสม ภิรมย์ฤดี
๏ (เอารัด)เอาเปรียบ เขาได้ ใครว่าฉลาด?............กฎหมาย (อาจจะ)ไม่อาจ ตัดสินชี้(ลงโทษ)
แต่กฎ แห่งกรรม (จะ)ตามราวี...........................ไม่มี(ทาง) หนีรอด ปลอดภัยพา
๏ ศีล ๕* เป็นเกราะ ป้องกันใคร-..........................ต่อใคร ไม่ให้ ไป(สร้างบาป)หยาบช้า
หลักใหญ่ ใจความ คือสัมมา**...........................มิปรารถ (ถะ)นา จะเบียดเบียน(ใคร)
๏ ธรรมคือ หิริ โอตตัปปะ....................................(ช่วย)เอาชนะ อกุศล กมล(อกุศลจิต)เสถียร
ลบล้าง ทางโฉดฉล หลงวนเวียน.......................(ช่วยให้)พากเพียร ประพฤติ ยึดคลองธรรม
๏ ศีลธรรม นำทาง สว่างไสว................................บาปกรรม์ จัญไร มิกรายกล้ำ
แต่สำ คัญใจ (ต้อง)ใคร่ประจำ............................เคารพ หลัก(ศีล)ธรรม ล้ำเลอจินต์(จินต์=คิด)
๏ อย่ายก ยอตน ยลเป็นใหญ่...............................กระทำ ตาม(อำเภอ)ใจ ใฝ่ถวิล
(จะ)พ้นข้อ ครหา ไร้ราคิน..................................(มี)ชีวิน สุขสันตฺิ์ (ตราบ)กาลนานเอยฯ
๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖
เบญจศีล (ศีล ๕)
เป็นหลักธรรมประจำสังคมที่มีมาก่อนพุทธกาลแล้ว ปรากฏในจักกวัตติสูตร[ (บาลี: จกฺกวตฺติสุตฺต) อันกล่าวถึงเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิตรัสสอนประชาชนว่า ท่านทั้งหลายต้องไม่ฆ่าสัตว์ (บาลี: ปาโณ น หนฺตพฺโพ), ต้องไม่ถือเอาของที่เขามิได้ให้ (บาลี: อทินฺนํ น อาทาตพฺพํ), ต้องไม่ประพฤติไม่เหมาะสมทางเพศ (บาลี: กาเมสุ มิจฺฉา น จริตพฺพา), ต้องไม่กล่าวเท็จ (บาลี: มุสา น ภาสิตพฺพา) และต้องไม่บริโภคสุรายาเมา (บาลี: มชฺชํ น ปาตพฺพํ) ต่อมา เมื่อมีผู้ประพฤติผิดจากที่พระเจ้าจักรพรรดิสอน จึงมีการลงโทษด้วยวิธีจับแขนไพล่หลังแล้วเอาเชือกเหนียวมัดอย่างมั่นคง โกนผม และประโคมบัณเฑาะว์เสียงกร้าว แห่ประจานไปตามถนนและตรอกซอกซอย พาออกไปทางประตูเมืองทิศใต้ ก่อนประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ
..........
ต่อมาพระโคตมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นและประกาศศาสนาพุทธก็ทรงยอมรับเอาข้อห้ามห้าประการตามจักวัตติสูตรมาสั่งสอนในพุทธศาสนาอย่างแพร่หลาย เรียกว่า "ศีล" บ้าง "สิกขาบท" บ้าง แต่ในทางปฏิบัติหมายถึง เจตนางดเว้นจากการกระทำความชั่วห้าประการข้างต้น ไม่เพียงเท่านี้ ครั้งเสด็จออกบรรพชาก็ทรงถือปฏิบัติตามคุณธรรมนักบวชสี่ประการดังกล่าว โดยทรงขนานชื่อว่า "อกรณียกิจ 4" แปลว่า เรื่องที่นักบวชไม่พึงทำสี่ประการ และทรงนำไปเป็นเกณฑ์บัญญัติพระวินัยอีกด้วย ที่เห็นได้ชัดคือ ปาราชิก 4
...........
( จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น