ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ฝีดาษลิง Monkeypox คืออะไร ติดต่ออย่างไร อาการ การรักษา และวัคซีน



แผนซ้อมสงครามชีวภาพปีที่แล้ว ทำนายฝีดาษลิงระบาดไปทั่วโลกปีนี้
วันที่ 22 พ.ค. 2565 เวลา 09:59 น.
ในเดือนมีนาคมปี 2021 โครงการ Nuclear Threat Initiative (NTI) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2544 โดยอดีตวุฒิสมาชิกสหรัฐ Sam Nunn และผู้ประกอบการด้านสื่อ Ted Turner ได้ร่วมมือกับการประชุมด้านความมั่นคงแห่งมิวนิกเพื่อดำเนินการฝึกหัดเกี่ยวกับ “การลดภัยคุกคามทางชีวภาพที่มีผลกระทบสูง ” มุ่งเน้นไปที่ฝีดาษลิง
รายงานข่าวของ NTI ในเวลานั้นระบุว่าจากผลกระทบของโควิด-19 ถือเป็นสถานการณ์ที่เร่งด่วนที่จะต้องมีการซ้อมรับมือการระบาดของโรคและการโจมตีด้วยอาวุธชีวภาพ เนื่องจากการระบาดใหญ่ที่กำลังดำเนินอยู่ได้เน้นย้ำจุดอ่อนในกลไกสากลในการป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามจากการระบาดใหญ่ นี่เป็นข้อกังวลเร่งด่วน เนื่องจากการระบาดใหญ่ในอนาคตอาจเทียบเท่าหรือเกินกว่าผลกระทบร้ายแรงของโควิด-19ในชีวิตที่สูญเสียไปและเศรษฐกิจที่พังทลาย
"สิ่งที่น่ากังวลยิ่งกว่านั้นก็คือ มีช่องว่างที่สำคัญในการกำกับดูแลเทคโนโลยีชีวภาพที่สร้างโอกาสสำหรับการใช้ในทางที่ผิดโดยไม่ได้ตั้งใจหรือโดยเจตนา ซึ่งอาจส่งผลร้ายแรงต่อโลก" NTI ระบุ
NTI จึงทำการจำลองสถานการณ์การฝึกซ้อม นั่นคือตั้งโจทย์การโจมตีด้วยอาวุธชีวภาพเน้นเป้าหมายเฉพาะท้องถิ่นด้วยไวรัสโรคฝีดาษลิงที่ดัดแปลงพันธุกรรมเริ่มต้นขึ้นในประเทศบริเนีย (Brinia) ซึ่งเป็นประเทศสมมติในแอฟริกา จากนั้นเกิดการระบาดเป็นเวลากว่า 18 เดือน สถานการณ์นี้ค่อยๆ พัฒนาไปสู่การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก ทำให้มีผู้ติดเชื้อ 40% ทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตกว่า 1 ใน 4 ของประชากรพันล้านคน (250 ล้านคน) 
“สถานการณ์การฝึกซ้อมแสดงให้เห็นถึงการแพร่ระบาดทั่วโลกที่ร้ายแรงซึ่งเกี่ยวข้องกับไวรัสโรคฝีดาษลิงสายพันธุ์ที่ผิดปกติซึ่งเกิดขึ้นในประเทศบริเนียที่สมมติขึ้นและแพร่กระจายไปทั่วโลกในช่วง 18 เดือน ในท้ายที่สุด สถานการณ์การฝึกเปิดเผยว่าการระบาดครั้งแรกเกิดจากการโจมตีของผู้ก่อการร้ายโดยใช้เชื้อโรคที่ออกแบบในห้องปฏิบัติการซึ่งมีข้อกำหนดด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและความปลอดภัยทางชีวภาพที่ไม่เพียงพอและการกำกับดูแลที่อ่อนแอ เมื่อสิ้นสุดการฝึก การระบาดใหญ่ในจินตนาการส่งผลให้มีผู้ป่วยมากกว่า 3,000 ล้านรายและเสียชีวิต 270 ล้านคนทั่วโลก”  executive summary ของรายงานชิ้นนี้ระบุ
รายละเอียดของ NTI ระบุสถานการณ์จำลองที่เหมือนกับการระบาดของฝีดาษลิงในเวลานี้อย่างน่าตกใจ นั่นคือการระบาดเริ่มเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2022 ที่ประเทศบริเนีย มีเคสติดเชื้อ 1,421 ราย/4 รายเสียชีวิต โดยไม่มีคำเตือนระหว่างประเทศหรือคำแนะนำ
เมื่อถึง 10 มกราคม 2023 มี 83 ประเทศได้รับผลกระทบ ติดเชื้อ70 ล้านราย/ผู้เสียชีวิต 1.3 ล้านราย โดยเชื้อฝีดาษลิงตัวนี้ถูกตัดแต่งพันธุกรรมโดยออกแบบมาเพื่อเป็นดื้อวัคซีน
เมื่อถึง 10 พฤษภาคม 2023 มีผู้ติดเชื้อ 480 ล้านราย/ผู้เสียชีวิต 27 ล้านราย มีการเปิดเผยของกลุ่มก่อการร้ายที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีด้วยการแทรกซึมของพลเรือนเข้าไปห้องปฏิบัติการชีวภาพ
และเมื่อถึง 1 ธันวาคม 2023 ทั่วโลกติดเชื้อ 3,200 ล้านคน/ 271 ล้านคนเสียชีวิต 
นี่คือสถานการณ์จำลองคร่าวๆ และมีการลงรายละเอียดแวดล้อมให้สมจริง เช่น เงื่อนไขที่ทำให้เชื้อหลุดออกมาจากห้องแล็บเพราะจุดประสงค์ทางการเมือง 
รายงานสรุปว่า ผู้เข้าร่วมการฝึกเห็นพ้องกันว่าช่องว่างในกลไกความปลอดภัยทางชีวภาพระหว่างประเทศและการเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่นั้นกว้างขวาง ซึ่งบ่อนทำลายความสามารถของประชาคมระหว่างประเทศในการตอบสนองอย่างมีประสิทธิผลต่อเหตุการณ์ทางชีววิทยาในอนาคต และพวกเขาตั้งข้อสังเกตว่าการเตรียมพร้อมที่แข็งแกร่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในหลายด้าน

ทีมข่าวต่างประเทศโพสต์ทูเดย์

Picture taken in 1997. Brian W.J. Mahy/CDC/Handout via REUTERS

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น