๏ กิน-นอน ลดทอนไม่................................ทุกวันใคร่ คู่กายขันธ์
อดอยาก(อดนอน) ลำบากพลัน...............ดั่งทัณฑ์โทษ สลดชีวา
๏ (ตั้งแต่)เส้นผม จรดปลายเท้า...................คือมูลเค้า ของโรคคร่า(คร่า=ฉุดลากอย่างรุนแรง)
(ร่างกาย)สังขาร สร้างปัญหา..................สาเหตุให้ ได้ทุกข์ตรม
๏ ก่อกรรม-รับกรรมกาจ...............................ต้องมิขาด สังขารสม(กาจ=ว. ร้าย, กล้า, เก่ง)
ชั่ว-ดี ชี้เงื่อนปม(ผล).............................(อาศัย)สังขารก้ม หน้ารับกรรม
๏ (เพราะฉะนั้น)ตราบที่ มีสังขาร...................ทุกข์ทรมาน (ต้อง)พานกรายกล้ำ(ไม่สิ้นสุด)
เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ตรำ...........................ตามวัฏฏะ สงสารตรึง
๏ นักปราชญ์ อดีตกาล................................ทะเยอทะยาน หมั่นคิดถึง
สงสาร ลาญรำพึง.................................คะนึงหา มรรคามี
๏ เพื่อให้ ได้พ้นทุกข์..................................(จะ)ต้องไม่ขลุก โลกวิถี
(อยากจะ)พ้นโลก (ต้อง)พ้นโลกีย์...........(ต้อง)พ้นกิเลส ตัณหาทวย
๏ คือคติ พุทธธรรม.....................................ที่ต้องนำ ไปทำด้วย
(เพื่อ)หยุดเกิด-แก่-เจ็บป่วย....................-ตาย;ช่วยพ้น สงสารวัฏ
๏ วิถี อริยมรรค...........................................(เป็น)วิถีหลัก ปฏิบัติ
วงจร (การมี)สังขารตัด(ขาด)..................ชะงัดดี นิรันดรฯ(สิ้นทุกข์อย่างแท้จริง)
๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕
๔. จตุตถนิพพานปฏิสังยุตตสูตร ว่าด้วยธรรมที่เกี่ยวกับนิพพาน สูตรที่ ๔ [๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาว่าด้วยเรื่องนิพพาน ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นก็ทำให้มั่น มนสิการ แล้วน้อมนึกธรรมีกถาทั้งปวงด้วยจิต เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่าพุทธอุทาน ความหวั่นไหวย่อมมีแก่บุคคลผู้ถูกตัณหาและทิฏฐิอาศัย ความหวั่นไหวย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิอาศัย เมื่อความหวั่นไหว(จิต)ไม่มี ก็ย่อมมีปัสสัทธิ๑- เมื่อมีปัสสัทธิ ก็ย่อมไม่มีตัณหา เมื่อไม่มีตัณหา ก็ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด เมื่อไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ก็ไม่มีการจุติและการอุบัติ เมื่อไม่มีการจุติและการอุบัติ ก็ไม่มีโลกนี้ โลกอื่น และระหว่างโลกทั้งสอง นี้คือที่สุดแห่งทุกข์.
ความพ้นทุกข์แบบพุทธศาสนา จึงไม่ใช่การพ้นทุกข์แบบจิตวิทยา
แต่เป็นการหยุดเวียนว่ายตายเกิด สิ้นสุดวัฏสงสาร.(ผู้เขียน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น