ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

นี่หรือคือวัดพุทธศาสนา? : กลอนคติเตือนใจ





นี่หรือคือวัดพุทธศาสนา? : กลอนคติเตือนใจ

    นี่หรือ คือวัด พุทธศาสนา?..................................เข้า(วัด)มา (ก็)เห็นป้ายเชิญ เงินบริจาค

โครงการ ก่อสร้าง ช่างมีมาก..............................อยากมี อยากได้ ไม่เพียงพอ


    ตู้ขอ บริจาค ตั้ง(ไว้)หลากหลาย...........................(เหมือน)รายจ่าย ก่ายกอง ต้องหมั่นขอ(เงิน)

(เห็นอยู่)ทุกวัน/เดือน/ปี ไร้รีรอ............................(คล้าย)เห็นใคร ก็ใคร่ขอ บ้าบอเบน


    มาบวช รับ(งาน)สวดมนต์ ระคนเทศน์....................ร้อยเลศ มารยา สามานย์เห็น

กิจกรรม ธรรมวินัย ไม่จัดเจน..............................(ชอบ)ทำเล่น เช่นคน กาม วนเวียน(ฆราวาส)

 

    (ตัวเอง)ไม่มี ศีลธรรม (แต่)เที่ยวพร่ำสอน..............ราวแสดง ละคร (บท)ซับซ้อนเขียน

สอน(เขา)อย่าง (ตัวเอง)ทำอย่าง ห่างเล่าเรียน*....(ไม่)พากเพียร ประพฤติตาม ธรรมวินัย(*เล่าเรียน=สิกขา)


    ชอบชวน (บริจาค)ทำบุญ ทำกุศล........................แต่ตน ตระหนี่ มิชอบให้(แต่ชอบรับ)

(สอนเขา)เมตตา ปราณี มีน้ำใจ...........................(จง)เอาเงิน มาให้ อาตมา

 

    อ้วนท้วน สมบูรณ์ แสนพูนสุข..............................ปราศทุกข์ ทรมาน ไร้ปัญหา

อยู่ดี กินดี มิต้องมา............................................อุตส่าห์ หากิน เหนื่อยดิ้นรน(เหมือนคนทั่วไป)


    ลาภ-ยศ-สรรเสริญ-สักการะ.................................ชื่นชู ยอดธุระ ชีวะผล

นิพพาน นั้นเอาไว้ พูดให้คน................................ศรัทธา มาหาตน ท้นนิยม


    (ชอบ)จับกลุ่ม สุมหัว มั่วสังสรรค์..........................เป็นกิจกรรม์ ฉันทะ สนุกสม

งานฉลอง(นานา) คล่องจัด มนัสชม.....................งามสังคม สมคิด จริตเอยฯ


๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

สังขิตตสูตร

             [๑๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่า
มหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี ครั้งนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมีเสด็จเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระ-
*วโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่หม่อมฉัน ซึ่งหม่อมฉันได้ฟัง
แล้ว จะพึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ด
เดี่ยวอยู่เถิด ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโคตมี ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้
เป็นไปเพื่อความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด เป็นไปเพื่อประกอบ
สัตว์ไว้ ไม่เป็นไปเพื่อพรากสัตว์ออก เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อไม่สั่ง
สมกิเลส เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย เป็น
ไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วย
หมู่คณะ ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อ
ปรารภความเพียร เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นคน
เลี้ยงง่าย ดูกรโคตมี ท่านพึงทรงจำไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย
ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระศาสดา ฯ
             ดูกรโคตมี ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลาย
กำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้ ไม่เป็นไป
เพื่อประกอบสัตว์ไว้ เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส เป็น
ไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก เป็นไปเพื่อสันโดษ
ไม่เป็นไปเพื่อไม่สันโดษ เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วย
หมู่คณะ เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน เป็นไปเพื่อ
ความเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก ดูกรโคตมี ท่านพึง
ทรงจำไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น