ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2565

ต้องฝึกตนเพื่ออยู่บนโลกอย่างสงบสุข : กลอนคติเตือนใจ










ต้องฝึกตนเพื่ออยู่บนโลกอย่างสงบสุข : กลอนคติเตือนใจ

    โลกนี้ มีมากคน คิดฉลชั่ว.................................เห็นแก่ตัว อันตราย ไร้ศีลศรี

(ผู้)อยากมี สุขพิมล บนโลกนี้............................อย่าบกพร่อง ต้องมี สติปัญญา


    (สิ่งที่)อยากมี-เป็น-ได้ ใฝ่สมัคร........................น้อยนัก จักสมหวัง ดังปรารถนา

(ผู้)ไม่อยาก โศกเศร้า เคล้าน้ำตา......................ต้องฝึก อุรา อย่า(อยาก)ยึดมั่น


    (การ)พลัดพราก จากของรัก ของชอบใจ............บ่มีใคร ที่ไหนรอด ปลอดสัจขันธ์

การบรรเทา เบา(ความ)รัก พัก(ความ)ผูกพัน.......คือวิถี ชีวัน สันติดล

 

    ทุกชี วีผอง (ล้วน)ต้องลำบาก...........................เหนื่อยยาก บากบั่น พาน(ความ)ขัดสน(ของโลก)

ปัญหา อุปสรรค จักต้องผจญ............................จึงต้อง ฝึกตน อดทนมี(มากๆ)

 

    ลดละ (ใช้)อารมณ์ ความรู้สึก............................ตรองตรึก ฝึกฝน กุศลศรี

คุณธรรม นำหน้า (นำ)พาฤดี..............................ประสบสุข สวัสดี เปรมปรีดา

 

    เพียรทำ กรรมดี มิทำชั่ว...................................มิเกลือกกลั้ว มัวเมา เบามิจฉา

ห่างเหิน ชนพาล เชี่ยวมารยา............................เป็นมรรคา ประเสริฐ เพริศพลิกแพลง


    ผู้รู้ ทั้งผอง (ล้วน)ต้องฝึกตน.............................ให้มี กระมล ล้นเข้มแข็ง

เพื่อเผชิญ สถานการณ์ พลันเปลี่ยนแปลง...........อุบัติ(การณ์) ความขัดแย้ง ทุกแห่ง-ยาม


    เผชิญ ชะตา(ชีวิต) อย่างสงบ(ใจ)......................อย่ามัวขบ คิดประดัง ตั้งคำถาม

(กู)เราทำ กรรม(เก่า)อะไร ให้ต้องตาม................ชดใช้ ช่างไร้ความ ยุติธรรมฯ


๒๗ มกราคม ๒๕๖๕


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

คาถาธรรมบท ปัณฑิตวรรคที่ ๖
[๑๖] บุคคลพึงเห็นบุคคลใดผู้มักชี้โทษ เหมือนบุคคลผู้บอก ขุมทรัพย์ มักกล่าวข่มขี่ มีปัญญา พึงคบบุคคลผู้เป็นบัณฑิต เช่นนั้น เพราะว่าเมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น มีแต่คุณที่ประเสริฐ โทษที่ลามกย่อมไม่มี บุคคลพึงกล่าวสอน พึงพร่ำสอน และพึงห้ามจากธรรมของอสัตบุรุษ ก็บุคคลนั้น ย่อมเป็น ที่รักของสัตบุรุษทั้งหลาย แต่ไม่เป็นที่รักของพวกอสัตบุรุษ บุคคลไม่ควรคบมิตรเลวทราม ไม่ควรคบบุรุษอาธรรม์ ควร คบมิตรดี ควรคบบุรุษสูงสุด บุคคลผู้อิ่มเอิบในธรรม มีใจผ่องใสแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข บัณฑิตย่อมยินดีในธรรม ที่พระอริยเจ้าประกาศแล้วทุกเมื่อ ก็พวกคนไขน้ำย่อมไขน้ำ ไป พวกช่างศรย่อมดัดลูกศร พวกช่างถากย่อมถากไม้ บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกฝนตน ภูเขาหินล้วน เป็นแท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะลมฉันใด บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่หวั่น ไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ ฉันนั้น ห้วงน้ำลึก ใสไม่ขุ่นมัว แม้ฉันใด บัณฑิตทั้งหลายฟังธรรมแล้ว ย่อมผ่องใส ฉันนั้น สัตบุรุษทั้งหลายย่อมเว้นในธรรม ทั้งปวงโดยแท้ สัตบุรุษทั้งหลายหาใคร่กามบ่นไม่ บัณฑิต ทั้งหลายผู้อันสุขหรือทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่แสดงอาการ สูงๆ ต่ำๆ บัณฑิตย่อมไม่ทำบาปเพราะเหตุแห่งตน ไม่ทำ บาปเพราะเหตุแห่งผู้อื่น ไม่พึงปรารถนาบุตร ไม่พึงปรารถนา ทรัพย์ ไม่พึงปรารถนาแว่นแคว้น ไม่พึงปรารถนาความ สำเร็จแก่ตนโดยไม่ชอบธรรม บัณฑิตนั้นพึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา ประกอบด้วยธรรม ในหมู่มนุษย์ ชนผู้ที่ถึงฝั่งมี น้อย ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้ย่อมเลาะไปตามฝั่งทั้งนั้น ก็ชน เหล่าใดแล ประพฤติตามธรรมในธรรมอันพระสุคตเจ้าตรัส แล้วโดยชอบ ชนเหล่านั้นข้ามบ่วงมารที่ข้ามได้โดยยาก แล้ว จักถึงฝั่ง บัณฑิตออกจากอาลัยแล้ว อาศัยความไม่มีอาลัย ละธรรมดำแล้วพึงเจริญธรรมขาว บัณฑิตพึงปรารถนาความ ยินดียิ่งในวิเวกที่ยินดีได้โดยยาก ละกามทั้งหลายแล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล พึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว จากเครื่อง เศร้าหมองจิต ชนเหล่าใดอบรมจิตด้วยดีโดยชอบ ในองค์แห่ง ธรรมสามัคคีเป็นเครื่องตรัสรู้ ชนเหล่าใดไม่ถือมั่น ยินดี แล้วในการสละคืนความถือมั่น ชนเหล่านั้นมีอาสวะสิ้นแล้ว มีความรุ่งเรืองปรินิพพานแล้วในโลก ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น