ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562

ทำไมไม่อ่านพระไตรปิฎก? : กลอนคติเตือนใจ

ทำไมไม่อ่านพระไตรปิฎก? : กลอนคติเตือนใจ

    ก็ไม่ เข้าใจ....................................ทำไม เมื่อใคร่ ศึกษา
พระพุทธ (ธะ)ศาสนา........................(จึง)ไม่มา อ่านพระ ไตรปิฎก?

    (ชอบ)เข้าวัด เข้าวา.........................ฟังคำ เทศนา พระลามก(บางคน)
พระเทศน์ ตลก.................................ถูกอก ถูกใจ ในวจี

    พระ(ส่วนใหญ่)เอง ก็ไม่อ่าน...............หลักฐาน ธรรมวินัย วิถี(ในพระไตรปิฎก)
(ชอบ)ทำตาม ฤดี..............................ที่มี กิเลส ปั้นเหตุผล

    หยิบเอา ความเชื่อ...........................ที่หลงเหลือ มาจาก บรรพชน
ผสมผเส เปปน..................................ดั่งตน บรรลุ วิชชา(เป็นพระอรหันต์)

    (โดยเฉพาะ)สถาน ปฏิบัติธรรม............กิจกรรม ดำเนิน เงินหา
จัดธรรม สัมมนา.................................เริด-หรู ดูสง่า น่านิยม(เริด เขียนแบบสมัยนิยม)

    (เอา)สารพัด ลัทธิ............................คติ(ความเชื่อ) ผสาน ผสม
พากัน ชื่นชม.....................................โง่งม นับถือ ลือชา

    (เดาว่า)คงเป็น เวรกรรม....................ที่ทำ ให้ไม่ (ประสี)ประสา
หลักพุทธ (ธะ)ปรัชญา.........................ไม่น่า ถูกจริต จิตใจ

    พระไตร ปิฎก..................................ผิดอก ผิดฤดี นิสัย?
น่าเบื่อ เหลือกระไร?............................อ่านไม่ เข้าใจ-ไม่(เคย)อ่านเลยฯ

๑๑ มีนาคม ๒๕๖๒

*พระไตรปิฎก ที่เป็นหนังสือมีหลายแบบ เช่น ฉบับเต็ม ฉบับย่อ ฉบับบาลี ฉบับแปล ฉบับมีอรรถกถาแปลฯลฯ
สมัยนี้ มีพระไตรปิฎกแบบออนไลน์ และแบบที่โหลดไฟล์มาเก็บไว้อ่านแบบออฟไลน์ได้ด้วย
ศัพท์คำไหนที่ไม่เข้าใจ ก็ค้นหาจากพจนานุรมพระพุทธศาสนาได้
ผู้ที่เรียกตัวเองว่าเป็นพุทธศาสนานิกชน ควรอ่านพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นแหล่งรวบรามธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ที่มีมาตรฐานที่สุด
ให้เหมือนกับที่คนนับถือศาสนาคริสต์,อิสลาม นิยมอ่านคัมภีร์ของศาสนาตน

*พระไตรปิฎก ออนไลน์
*พจนานุกรม พระพุทธศาสนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น