ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561

ทำไมชาติไม่เจริญ(ซะที)? : กาพย์ยานี๑๑(สะท้อนปัญหาราชการ)










ทำไมชาติไม่เจริญ(ซะที)? กาพย์ยานี๑๑(สะท้อนปัญหาราชการ)


    ค่าจ้าง ค่อนข้างสูง.........................มิอาจจูง ใจให้คิด
ทำงาน สุจริต..................................ทุ่มชีวิต เพื่อพัฒนา(ชาติ)

    ชอบบ่น ช่างจนยาก........................(ความเป็น)อยู่ลำบาก อยากปรารถนา
ขอเพิ่ม เงินเดือนพา.........................ยกฐานะ ข้าราชการ

    "เช้าชาม เย็นชาม"ชี้้.......................กิจวิถี ที่เกียจคร้าน
"ผักชี โรยหน้า"ประจาน.....................วิธีการ(ทำงาน) อันโสมม

    "สินบาท คาดสินบน"......................กินกันจน คนด่าขรม
มิจฉา ค่านิยม..................................ทึ้ง-อม เงิน งบประมาณ

    เบียดบัง กระทั่ง(เงิน)ลูกน้อง............ทุกข์จนต้อง ร้องเรียนขาน
ซื้อ-ขาย ตำแหน่ง ดาล......................คนชั่วพาล ได้ดิบ(ได้)ดี

    เอาเปรียบ ประชาชน.......................ทำเหมือนตน ท้นศักดิ์ศรี
กฎหมาย ใช้กดขี่..............................หา(ความ)มั่งมี (สร้าง)อิทธิพล

    ราชการ (ที่)สันดานชั่ว.....................เห็นแก่ตัว หัวใจฉล
โดยเฉพาะ พวก"นายคน"...................คือต้นเหตุ แห่งเวทนา(เวทนา=สงสารสลดใจ)

    ขัดขวาง ความเจริญ........................(ทำให้)ชาติประเชิญ แต่ปัญหา
อุปสรรค การพัฒนา..........................ถึงชาติหน้า (ก็)อย่าหวังเลยฯ

๙ มีนาคม ๒๕๖๑

*โครงสร้างของงบประมาณไทย พบว่า
รัฐบาลมีรายจ่ายประจำประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการข้าราชการ และงบชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย
สูงถึง 80% ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายรวม
เหลือ
 งบลงทุนแค่ 20% ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 4% ของจีดีพี
From <https://thaipublica.org/2016/12/budgeting-prayuth-government/>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น