ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561

(หลาย)มาตรฐานความยุติธรรม : กลอนสะท้อนสังคม






(หลาย)มาตรฐานความยุติธรรม : กลอนสะท้อนสังคม


    ผู้อ่อนน้อม ถ่อมตน คือคนดี..................................หากควรมี มโนธรรม ความเหมาะสม
สักแต่ทำ ตามฤดี สิโง่งม........................................ถูกสังคม จับจ้อง ข้องหลักเกณฑ์

    (เช่นกรณี)ตำรจใหญ่ ไหว้อาชญา(กร) งามซะจน......ประชาชน สนใจ ให้ความเห็น(อาชญากร=ผู้ทำผิดคดีอาญา)
ทักท่าทาง อย่างนี้ ชี้ชัดเจน....................................ถึงประเด็น ปฏิบัติ เลือกอัชฌา

    กับคนยาก คนจน คนต้อยต่ำ.................................ท่านจะทำ อย่างไร ไม่ครหา?
เยี่ยง(ทำกับ)เจ้าสัว แสนล้าน เงินลานตา....................หรือเหมือนหมา ตัวหนึ่ง? ซึ้งทรวงใน

    คนมีเงิน มีอำนาจ สามารถซื้อ................................ความยุติธรรม ความซื่อ สัตย์หรือไม่?
ผู้ที่มี ประสบการณ์ นั้นกริ่งใจ...................................ประเทศไทย ประเทศที่ มีตำนาน

    ความเหลื่อมล้ำ ค้ำคอ ก่อวิกฤติ............................การทุจริต คดโกง คาโรงศาล
เลือกปฏิบัติ จัดเจน เป็นอาการ................................(หลาย)มาตรฐาน (แบ่ง)ชั้นชน จนชาชิน

    เขียนกฎหมาย ให้มี ดุลยพินิจ.................................เอื้อทุจริต มิจฉา หาบนสิน(สินบน)
"ความยุติธรรม" คำพูด ประดุจดิน..............................มากมารยา ราคิน อจินไตย

    "แต่ละคดี มิอาจ เปรียบเทียบกัน"............................ชอบจำนัล สรรหา คำมาใช้
(เพื่อ)เลือกวิธี ปฏิบัติ ตัดสินใคร...............................ตามแต่ใคร ให้ประโยชน์ โคตรยุติธรรม

    คดีฆ่า เสือดำ แห่งทุ่งใหญ่(นเรศวร).........................จะจบลง อย่างไร ไม่เหลื่อมล้ำ?
คดี(ชาวบ้าน)ฆ่า หมีควาย ให้จองจำ..........................คือเงื่อนงำ คำตอบ (ของ)ระบอบเอยฯ

๓ มีนาคม ๒๕๖๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น