ความไม่เห็นแก่ตัว : โคลงสี่สุภาพ
๑.ธรรมชาติสัตว์ทั้งหลาย....................เกิดมา
ย่อมเห็นแก่อัตตา..........................เป็นที่ตั้ง
สัญชาตญาณบัญชา.......................วิตก(วิตก=ความคิด)
ยกตนสำคัญทั้ง.............................มนุษย์แม้(แต่)ดิรัจฉานฯ
๒.เป็นสันดานเกิดพร้อม......................ชีวี
เป็นสามัญวิถี.................................แห่งหล้า
เป็นสาเหตุชิงดี..............................ชิงเด่น
เป็น-อยู่-ตาย
ภายหน้า....................ถึงสิ้นพงศาฯ
๓.ทวยสัตว์หารู้จัก..............................ศีลธรรม
ไม่แยกแยะกิจกรรม.........................ดี-ร้าย
ยึดอัตตะประโยชน์สำ-.....................คัญหลัก
มักทำตามใจคล้าย..........................(สิ่ง)ถูกต้องคลองวิถีฯ
๔.ยินดีที่จะได้....................................เบียดเบียน
เอารัดเอาเปรียบเพียร......................พากพร้อม
เข่นฆ่าแกงกันเชียร..........................เลือดหลั่ง
กินเพื่อประทังชีพค้อม......................แลไร้เหตุผลฯ
๕.คนสามารถเรียนรู้.............................พัฒนา
เสริมสติเพิ่มปัญญา..........................เพริศแพร้ว
หลักศีลธรรมจริยา............................ยืนหยัด
ถือปฏิบัติร่วมแล้ว.............................สร้างสังคมศานติ์ฯ
๖.แรงสันดานสัตว์ร้าย...........................ในใจคน
ยังคงอยู่เวียนวน..............................คุเคล้า
เมื่อไม่สำคัญกระมล.........................กำกับ
ยอมรับอำนาจเร้า.............................ชั่วช้าตอบสนองฯ
๗.ไม่มองความชั่วคล้าย........................สามัญ
เป็นปฐมจริยธรรม์.............................ปกเกล้า
ศรัทธากฎแห่งกรรม์..........................กลัวบาป
ปราบความเห็นแก่ตัวเข้า....................สู่ห้วงสาธุชนฯ
๘.ช่วยดลบันดาลให้.............................สังคม
เปี่ยมสันตินิยม.................................เลิศล้ำ
ทรัพยากรอุดม.................................คู่โลก
ดับทุกข์โศกชอกช้ำ..........................ไม่ต้องเห็นแก่ตัวฯ
๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๐
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น