ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ทางโลก ≠ ทางธรรม : กลอนคติเตือนใจ


                       








ทางโลก ≠ ทางธรรม : กลอนคติเตือนใจ


    นี่คือผล (การ)มิสนใจ พระไตรปิฎก..................เทศนา ตลกๆ ฮายกใหญ่

สนุกสนาน หรรษา หฤทัย-............................ชาวบ้านผูก ถูกใจ ใคร่ศรัทธา


    ละเลยธรรม (มะ)วินัย (ทำ)ตามใจชอบ.............ปราศจากกรอบ ครอบกาย-(วาจา)-ใจ ไตรสิกขา

อวดอ้างตน ล้นเด่น เป็น(พระ)พัฒนา..............อนิจจา การประพฤติ ยึดโลกีย์*


    สมณะ วิสัย** ไม่รู้จัก......................................ผูกพัน-รัก โลกวิสัย ใคร่สุขี

ยังหลงตน ล้นอัตตา (กู)เป็นพระดี..................(ทั้งๆที่)ไม่ประสี ประสา มิละอาย


    ปากนักบวช อวดตน (เป็น)คนสมถะ..................(แต่)ไม่ลดละ รับเงิน เชิญถวาย(ให้กูมากๆ)

กูจะได้ ใช้-ทำ-สร้างฯลฯ อย่างมากมาย...........ดูเป้าหมาย คล้ายเลิกรา พระนิพพาน


    ทางสายกลาง ห่างเหิน (ชอบ)เดินสายเทศน์......ทั้งๆที่ ล้นกิเลส เหตุสังสาร(วัฏ)

คนไม่รู้ บูชา เรียก"อาจารย์"............................ถวายยาน พาหนะ ราคาแพง(กูต้องฝืนนั่ง)


    ของไม่ดี(ไม่แพง) มิควรใคร่ ถวายพระ...............ฟังพูดจา ฉะฉาน หาญกำแหง

ต้องถวาย ของดี(มีราคา) วจีแจง.....................เพื่อแสดง ศรัทธา ว่าตามกัน


    บริขาร๘ สำมะหา ล้าสมัย................................พระเดี๋ยวนี้ นิยมใช้(สิ่งของ) ตามใจฉัน

ของแบรนด์เนม ไขว่คว้า มาประชัญ.................ยุญาติโยม โหมหรรษ์ แบ่งปันทุน(ร่วมบริจาคเงิน)


    ไม่เคยพบ(เห็น) พระดี เพราะกิเลส...................พบ(เห็น)แต่เปรต เวทนา พาลสถุล

เรื่องเงินทอง ของแพง แฝงทำบุญ..................ไม่เกิ้อหนุน (พุทธ)ศาสนา เจริญรุ่งเรืองฯ(อย่าถวายพระ-วัด)


๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๗


*โลกีย์=เกี่ยวกับโลก, ทางโลก, ธรรมดาโลก, ตรงข้ามกับโลกุตระ, เช่นโลกิยธรรม


**สมณวิสัย มีความหมาย 2 นัย คือ 

(1) โลกของสมณะ คือการครองชีวิตตามแบบของนักบวช หรือกรอบขอบเขตที่นักบวชจะพึงประพฤติปฏิบัติหรือไม่ควรประพฤติปฏิบัติ ทั้งนี้เป็นไปตามกฎหรือหลักการที่ศาสนานั้นๆ กำหนดไว้ ถ้าปฏิบัติตามกรอบก็เรียกว่า อยู่ในสมณวิสัย ถ้าออกนอกกรอบ คือทำสิ่งที่สมณะไม่พึงทำ ก็เรียกว่า ผิดสมณวิสัย            (2) ความสำนึกว่าเป็นสมณะ คือความรู้สึกตัวได้ด้วยตนเองว่า บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว อาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ ถ้ามีความรู้สึกตัวดังนี้ก็เรียกว่า มีสมณวิสัย(https://dhamtara.com/?p=4615)

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

๓. ตติยปัณณาสก์
๑. สมณสัญญาวรรค
หมวดว่าด้วยสมณสัญญา๑-
๑. สมณสัญญาสูตร
ว่าด้วยสมณสัญญา
[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สมณสัญญา ๓ ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วย่อมให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์ สมณสัญญา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ สมณสัญญาว่า ๑. เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์ ๒. ชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๓. มารยาทอย่างอื่นที่เราควรทำมีอยู่

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑

สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ธัมมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒
ตถาคตสูตรที่ ๑
ทรงแสดงพระธรรมจักร
[๑๖๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด ๒ อย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ ส่วนสุด ๒ อย่างนั้นเป็นไฉน? คือ การประกอบตนให้ พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบความลำบากแก่ตน เป็นทุกข์ ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ ๑ ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุด ๒ อย่างเหล่านี้ อันตถาคต ได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางนั้น ... เป็นไฉน? คือ อริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ ซึ่งได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพ ชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจมั่นชอบ ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางนี้แล อันตถาคตได้ตรัสรู้ แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อ นิพพาน.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๑๐. อนุรุทธสูตร
...........ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้
ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึก
มหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตก
วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก
๘ ประการนี้ ในการนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ในกาลใดแล เธอ
จักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุ
จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก
๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้มีปรกติได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่ง
ฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุล
จีวรจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่หวาดเสียว ด้วย
ความอยู่เป็นสุข ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนหีบใส่ผ้าของคฤหบดี
หรือบุตรแห่งคฤหบดี อันเต็มไปด้วยผ้าสีต่างๆ ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใด
แล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน ในกาลนั้น โภชนะ คือ คำข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง จักปรากฏแก่เธอผู้
สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนข้าวสุก (หุงจาก) ข้าวสาลี
คัดเอาดำออกแล้ว มีแกงและกับหลายอย่าง ของคฤหบดีและบุตรแห่งคฤหบดี
ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และ
จักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิต
ยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น เสนาสนะ คือ โคนไม้ จัก
ปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเรือนยอด
ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี ฉาบทาไว้ดีแล้ว ปราศจากลม ลงลิ่มสลักมิด
ชิด ปิดหน้าต่างสนิท ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริส-
*วิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก
ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ที่นอน
ที่นั่งอันลาดด้วยหญ้า จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนบัลลังก์ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี อันลาดด้วยผ้าโกเชาว์ขน
ยาว ลาดด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยผ้าสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดี
ทำด้วยหนังชะมด มีเครื่องลาดเพดานแดง มีหมอนข้างแดงสองข้าง ฉะนั้น ดูกร
อนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า จักปรากฏ
แก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเภสัชต่างๆ คือ
เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี
ฉะนั้น ฯ......

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น