ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2566

คิดบวก ไม่ใช่หลอกตัวเอง : กาพย์ยานี๑๑


ลูกแมวถูกทิ้งวัดในวันเข้าพรรษา
1 วันหลังจากรับมาเลี้ยง

ผ่านไปเกือบ 2 เดือน ก็พบว่า 
ตาหยีที่เป็นอาการของแมวป่วย กลับกลายเป็นลักษณะของแมว"ปัญญาอ่อน" 
ยังปีนป่ายไม่เป็น วิ่งเหมือนกบกระโดด เล่นกับลูกแมวด้วยกันไม่เป็น กินอิ่มได้สักพักก็จะง่วง-นอนหลับ

คิดบวก ไม่ใช่หลอกตัวเอง : กาพย์ยานี๑๑


    ลูกแมว ปัญญาอ่อน.................................รับเลี้ยงตอน เข้าพรรษา

(มี)พัฒนา การเชื่องช้า.............................เรียก(ชื่อ)ไม่มา ตาไม่โต(ตาปรือตลอดเวลา)


    แต่กิน อาหารคล่อง(กินทุกชั่วโมง)............จนพุงป่อง (ใครเห็นก็)ร้องโอ้โห

ขาลุย ไม่คุยโว(แย่งอาหารแมวใหญ่).........(กิน)อิ่มแล้วโชว์ โซเซนอน

 

    มิได้ ปรารถนา(ไม่อยากได้)......................แมว(มี)ปัญหา ปัญญาอ่อน

(โลก)รอบกาย อันตรายว่อน......................(ใครปัญญาอ่อน)คงเดือดร้อน เข้าสักวัน


    (แต่)ก็ดี ที่ได้หนุน....................................การทำบุญ จุนสร้างสรร

สาธุ กุศลธรรม์.........................................ขอมุ่งมั่น ซึ่งทานมัย(ทานมัย=สำเร็จด้วยทาน)


    (แม้)ประสบ พบ(ความ)ลำบาก...................จะบั่นบาก จน(ชีวิต)หาไม่

อุปสรรค หนักเพียงใด...............................จะตั้งใจ ใฝ่ฝ่าฟัน


    พากเพียร ภาวนา......................................ด้วยสัจจา หา(ใช่)เพ้อฝัน

(ภาวนา=การเจริญ,การทำให้เกิดมีขึ้น,การฝึกอบรมจิตใจ)

มิมัวเมา จะเท่าทัน....................................มองชีวัน ด้วยปัญญา

 

    บุญกรรม ช่วยทำให้...................................มีจิตใจ ไคลตัณหา(กิเลส)

บ่มเพาะ ความเมตตา(พรหมวิหาร๔)...........คือสัมมา ปฏิบัติธรรม


    ใยต้อง นุ่งห่มขาว......................................(เมื่อ)จิตเพริศพราว สกาวล้ำ

(สกาว=ขาว,สะอาด,หมดจด)

มนต์ผอง มิท่องจำ....................................ก้าวหน้านำ นักสวด(มนต์)เอยฯ


๒๓ กันยายน ๒๕๖๖


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

๔. อนิจจสูตรที่ ๒
ว่าด้วยความเป็นไตรลักษณ์แห่งขันธ์ ๕
[๙๓] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็น ทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา. เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้น (อดีต) ย่อม ไม่มี เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้นไม่มี ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลาย (อนาคต) ย่อมไม่มี เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลายไม่มี ความยึดมั่นอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี. เมื่อความยึดมั่นอย่าง แรงกล้าไม่มี จิตย่อมคลายกำหนัดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ย่อมหลุดพ้น จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้น จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัด ว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น