ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566

จิตก่อนตาย เรื่องไร้สาระ : กาพย์ยานี๑๑

 

จิตก่อนตาย เรื่องไร้สาระ : กาพย์ยานี๑๑


    คำสอน (เรื่อง)จิตก่อนตาย.........................เผยแพร่หลาย (ว่าคือคำสอนของ)พุทธศาสนา

ทั้ง(ๆ)ที่ ไร้ที่มา..........................................ไม่อาจหา (จาก)พระไตรปิฏก


    สุดแท้ แต่จะเชื่อ.......................................หากไม่เบื่อ คนลามก

ชอบทำ คำโกหก........................................ยังหยิบยก ว่า"คำครู(บาอาจารย์)"

 

    (อันที่จริง)แม้แต่ พระไตร(ปิฏก)ยัง...............สมควรฟัง หูไว้หู

(เพราะเป็นคำสอน)ของใคร ก็ไม่รู้.................(ถูก/ผิด ต้อง)พิสูจน์ดู จีงรู้จริง


    กล่าวใย (เรื่อง)ไร้ตำรา...............................อ้าง(พุทธ)ศาสนา (เพื่อให้)ทรงค่ายิ่ง

อย่าหลง(ใหล) จงละทิ้ง...............................(เพราะ)หาใช่สิ่ง ต้องจริงจัง


    คนเขลา มิเอาถ่าน......................................(หลับหูหลับตา)หลงอาจารย์ เป็นบ้า(เป็น)หลัง

(อาจารย์)สอนอะไร ใคร่เชื่อฟัง......................บ่ยับยั้ง ชั่งฤดี


    โลกล้น คนโง่เขลา......................................ปัญญาเบา เมาวิถี

ไม่คิด ผิด(ชอบ)-ชั่ว-ดี..................................มิเลื่อมใส วินัยธรรม(ธรรมวินัย)

 

    ชอบเชื่อ เรื่องเหลือล้น.................................เหนือเหตุผล มลวิสัย(มล=คำวิเศษณ์ มัวหมอง,สกปรก)

(ชอบ)เชื่อตาม ตามกันไป..............................ชอบคุณไสย งมงายปอง


    (ซึ่ง)ผิดกฎ บทบาทกรรม..............................สิ่งใดทำ(ไว้) กรรม(ย่อมตาม)สนอง

ฉลจิต คิดลำพอง..........................................กูช่ำชอง ต้องกราบ(ไหว้)เอยฯ


๑๒ กันยายน ๒๕๖๖


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

[๙๒] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่เศร้าหมองมลทินจับ
ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นใส่ลงในน้ำย้อมใดๆ คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมพู ผ้านั้น
พึงเป็นของมีสีที่เขาย้อมไม่ดี มีสีมัวหมอง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะผ้าเป็นของไม่บริสุทธิ์
ฉันใด เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น.
             ผ้าที่บริสุทธิ์สะอาด ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นใส่ลงในน้ำย้อมใดๆ คือ สีเขียว สีเหลือง
สีแดง หรือสีชมพู ผ้านั้นพึงเป็นของมีสีที่เขาย้อมดี มีสีสด ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะ
ผ้าเป็นของบริสุทธิ์ ฉันใด เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น.
อุปกิเลส ๑๖
[๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเหล่าไหน เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต [คือ] อภิชฌาวิสมโลภะ [ละโมบไม่สม่ำเสมอ คือความเพ่งเล็ง] พยาบาท [ปองร้ายเขา] โกธะ [โกรธ] อุปนาหะ [ผูกโกรธไว้] มักขะ [ลบหลู่คุณท่าน] ปลาสะ [ยกตนเทียบเท่า] อิสสา [ริษยา] มัจฉริยะ [ตระหนี่] มายา [มารยา] สาเฐยยะ [โอ้อวด] ถัมภะ [หัวดื้อ] สารัมภะ [แข่งดี] มานะ [ถือตัว] อติมานะ [ดูหมิ่นท่าน] มทะ [มัวเมา] ปมาทะ [เลินเล่อ] เหล่านี้เป็น ธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต. [๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า อภิชฌาวิสมโลภะ พยาบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตด้วยประการฉะนี้แล้ว ย่อมละอภิชฌาวิสมโลภะ พยาบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ อันเป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตเสีย. [๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุรู้ชัดว่า อภิชฌาวิสมโลภะ พยาบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็ละอภิชฌา- วิสมโลภะ พยาบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ อันเป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตเสียได้ แล้ว ในกาลนั้น เธอเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและ จรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม เป็นผู้ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน (แล) เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรงแล้ว ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง คือ คู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนั้น เป็นผู้ควรรับเครื่องสักการะ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ ควรทักขิณา เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ก็เพราะเหตุที่ ส่วนแห่งกิเลสนั้นๆ อันภิกษุนั้นสละได้แล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละเสียแล้ว สละคืนแล้ว เธอย่อมได้ความรู้แจ้งอรรถ ย่อมได้ความรู้แจ้งธรรม ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรมว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า เราเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันแน่วแน่ในพระธรรม เราเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระสงฆ์ และเพราะ ส่วนแห่งกิเลสนั้นๆ อันเราสละได้แล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละเสียแล้ว สละคืนแล้ว ดังนี้ เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อม ได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. [๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแลมีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ ถึงแม้จะฉันบิณฑบาตข้าวสาลีปราศจากเมล็ดดำ มีแกงมีกับมิใช่น้อย การฉันบิณฑบาตของภิกษุนั้น ก็ไม่มีเพื่ออันตรายเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผ้าอันเศร้าหมอง มลทินจับ ครั้นมาถึงน้ำอันใส ย่อมเป็นผ้าหมดจด สะอาด อีกอย่างหนึ่ง ทองคำครั้นมาถึงปากเบ้า ย่อมเป็นทองบริสุทธิ์ ผ่องใส ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นแล มีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ ถึงแม้จะฉันบิณฑบาตข้าวสาลีปราศจาก เมล็ดดำ มีแกงมีกับมิใช่น้อย การฉันบิณฑบาตของภิกษุนั้น ก็ไม่มีเพื่ออันตรายเลย. [๙๗] ภิกษุนั้นมีใจประกอบด้วยเมตตา ประกอบด้วยกรุณา ประกอบด้วยมุทิตา ประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน มีใจ ประกอบด้วยเมตตา ประกอบด้วยกรุณา ประกอบด้วยมุทิตา ประกอบด้วยอุเบกขา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังทิศเบื้องบน เบื้องต่ำ ด้านขวาง ทั่วโลกทั้งสิ้น โดยเป็นผู้หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกแห่ง ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อม รู้ชัดว่า สิ่งนี้มีอยู่ สิ่งที่เลวทรามมีอยู่ สิ่งที่ประณีตมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกที่ยิ่งแห่ง สัญญานี้ มีอยู่ เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้อาบแล้วด้วยเครื่องอาบอันเป็นภายใน....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น