ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2567

ฆ่าตัวตาย ≠ ได้นิพพาน : กลอนคติเตือนใจ(กาพย์ยานี๑๑)

                  ฝึกตนให้เป็นปุถุชนที่ดีเสียก่อน อย่ารีบร้อนเป็นพระอรหันต์เลย














ฆ่าตัวตาย ได้นิพพาน : กลอนคติเตือนใจ(กาพย์ยานี๑๑)


    นิพพาน คือ(ความ)ฝันใฝ่............................(ตั้ง)แต่ก่อนสมัย ไร้(พุทธ)ศาสนา

เพราะ(ความคิด)เบื่อ เหลือระอา.................ต่อทุกขา (และ)ชีวาภัย(เช่นแก่-เจ็บป่วย-ตายฯลฯ)


    (จินตนาการ)เข้าใจ ไปต่างๆ........................วิถีทาง นิพพานได้

(พระ-ชาวบ้าน พูดกันไปสารพัด)

โดยที่ มิใส่ใจ...........................................ใฝ่ศึกษา พระไตรปิฎก

 

    กิเลส และตัณหา.......................................ชวนชักพา อุรารก(รุงรัง)

ฟุ้งเฟื่อง เรื่องสกปรกฯลฯ...........................สุมอกให้ ไร้ปัญญา


    คนเขลา (คน)พาลเข้าวัด............................(เมื่อ)ไม่กำจัด ตัด(กิเลส)ตัณหา

(ย่อม)ก่อกรรม ต่างๆนานา..........................ตามประสา มิจฉาชน


    เหลวไหล ในสาระ.....................................ปฏิปทา มรรคาผล(มรรคผล)

ดวงฤดี ที่มืดมน.........................................ยากหลุดพ้น อกุศลกรรม


    (มัก)ศรัทธา ประเพณี.................................กรรมพิธี(พิธีกรรม) (ยกให้เป็นสิ่ง)วิเศษล้ำ

(เรื่อง)งมงาย ฝังใจจำ................................ครอบงำจิต คิดสัปดน


    พุทธะ(องค์) สอนอะไร?.............................ช่างประไร ข้าไม่สน

กระทำ ตามใจตน......................................ที่เปี่ยมล้น อวิชชา


    เข้า(วัด)ไป ไร้ทางออก..............................โดนปอกลอก หลอกเงินหาฯลฯ

โฉดไพร่(คนเลว) ใช้วัดวา(ผ้าเหลือง)..........เพื่อทำมา หากินเอย


๙ เมษายน ๒๕๖๗


สัญลักษณ์ไม่เท่ากับ, ที่แทนด้วย ≠, ใช้เพื่อแสดงว่าค่าหรือนิพจน์คณิตศาสตร์สองอย่างไม่เท่ากัน.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
ปัญหาว่าด้วยผู้หลุดพ้น
[๒๔๘] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ จะเกิดในที่ไหน?
             ดูกรวัจฉะ คำว่าจะเกิดดังนี้ ไม่ควรเลย.
             ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น จะไม่เกิดขึ้นหรือ?
             ดูกรวัจฉะ คำว่า ไม่เกิดดังนี้ ก็ไม่ควร.
             ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มี ไม่เกิดก็มีหรือ?
             ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มี  ไม่เกิดก็มี ดังนี้ ก็ไม่ควร.
             ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่หรือ?
             ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ ก็ไม่ควร.
             [๒๔๙] พระองค์อันข้าพเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้ว
อย่างนี้ จะเกิดในที่ไหน ก็ตรัสตอบว่า ดูกรวัจฉะ คำว่าจะเกิด ดังนี้ ไม่ควร. ฯลฯ พระองค์
อันข้าพเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้นเกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่หรือ ก็ตรัสตอบว่า
ดูกรวัจฉะ คำว่า เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ ก็ไม่ควร. ข้าแต่ท่านพระโคดม ในข้อนี้
ข้าพเจ้าถึงความไม่รู้ ถึงความหลงแล้ว แม้เพียงความเลื่อมใสของข้าพเจ้าที่ได้มีแล้ว เพราะ
พระวาจาที่ตรัสไว้ในเบื้องแรกของท่านพระโคดม บัดนี้ได้หายไปเสียแล้ว.
             [๒๕๐] ดูกรวัจฉะ ควรแล้วที่ท่านจะไม่รู้ ควรแล้วที่ท่านจะหลง เพราะว่าธรรมนี้
เป็นธรรมลุ่มลึก ยากที่จะเห็น ยากที่จะรู้ สงบระงับ ประณีต ไม่ใช่ธรรมที่จะหยั่งถึงได้ด้วย
ความตรึก ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้นอันท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจ
เป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักของอาจารย์อื่น
รู้ได้โดยยาก ดูกรวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านเห็นควรอย่างใด ก็พึง
พยากรณ์อย่างนั้น ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน ท่านจะพึง
รู้หรือว่า ไฟนี้ลุกโพลงต่อหน้าเรา.
             ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟลุกโพลงต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่า ไฟนี้ลุกโพลงอยู่
ต่อหน้าเรา.
             ดูกรวัจฉะ ถ้าใครๆ พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไร
จึงลุกโพลง ท่านถูกถามอย่างนี้แล้วจะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร?
             ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าใครๆ ถามข้าพเจ้าอย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงต่อหน้าท่านนี้ อาศัย
อะไรจึงลุกโพลง ข้าพเจ้าถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรานี้
อาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุกโพลงอยู่.
             ดูกรวัจฉะ ถ้าไฟนั้นพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านพึงรู้หรือว่า ไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว?
             ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟนั้นดับไปต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่าไฟนี้ดับไปต่อหน้า
เราแล้ว.
             ดูกรวัจฉะ ถ้าใครๆ พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ไฟที่ดับไปแล้วต่อหน้าท่านนั้น ไปยังทิศ
ไหนจากทิศนี้ คือทิศบูรพา ทิศปัศจิม ทิศอุดร หรือทิศทักษิณ ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะ
พึงพยากรณ์ว่าอย่างไร?
             ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้อนั้นไม่สมควร เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุก
แต่เพราะเชื้อนั้นสิ้นไป และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเชื้อ ไฟนั้นจึงถึงความนับว่าไม่มีเชื้อ ดับ
ไปแล้ว.
การละขันธ์ ๕
[๒๕๑] ฉันนั้นเหมือนกัน วัจฉะ บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะ รูปใด รูปนั้นตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่ารูป มีคุณอันลึก อันใครๆ ประมาณ ไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก. เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะ กล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิด ก็หามิได้. บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะเวทนาใด ... เพราะสัญญาใด ... เพราะ สังขารเหล่าใด ... เพราะวิญญาณใด ... วิญญาณนั้น ตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้ดุจเป็นตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการ นับว่าวิญญาณ มีคุณอันลึก อันใครๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก. เปรียบเหมือน มหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิด ก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิดก็หามิได้.
ปริพาชกวัจฉโคตรถึงสรณคมน์
[๒๕๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วัจฉโคตตปริพาชกได้ทูลพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม เปรียบเหมือนต้นสาละใหญ่ ในที่ใกล้บ้านหรือนิคม กิ่ง ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้ ของต้นสาละใหญ่นั้น จะหลุดร่วง กะเทาะไปเพราะเป็นของไม่เที่ยง สมัย ต่อมา ต้นสาละใหญ่นั้นปราศจาก กิ่ง ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้แล้ว คงเหลืออยู่แต่ แก่นล้วนๆ ฉันใด พระพุทธพจน์ของท่านพระโคดม ก็ฉันนั้น ปราศจากกิ่ง ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้ คงเหลืออยู่แต่คำอันเป็นสาระล้วนๆ. ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของ พระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศ ธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ถึงท่านพระโคดม พระธรรมและภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดม จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น