ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันศุกร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2567

ใจบริสุทธิ์จุด(ให้เกิดมี)เสน่ห์ : กลอนจรรโลงใจ


ใจบริสุทธิ์จุด(ให้เกิดมี)เสน่ห์ : กลอนจรรโลงใจ


    ความบริสุทธิ์ ดุจเสน่ห์...............................ชวนสนเท่ห์ ชนเห่หา

ใครพบเห็น เป็น(ต้อง)เมตตา......................ปรารถนา จะชิดชม


    ใจบริสุทธิ์ จุด(ให้เกิดมี)เสน่ห์.....................ปราศจากเล่ห์ เฉฉลสม

ทุกความดี ที่อุดม......................................ก่อวิกรม โสมนัส(วิกรม=เก่งกล้า,กล้าหาญ,มีชัยชนะ)

 

    ผู้ที่มี ใจบริสุทธิ์........................................ย่อมไม่หยุด ยั้งซื่อสัตย์

สุจริต จิตประภัทร์......................................เป็นกิจวัตร สัจนิสัย(ประภัทร=ดี เจริญ ประเสริฐ)


    ความซื่อตรง ไม่โก่งคด(ของจิต)................เสมือนกฎ เกณฑ์สืบไป

รุ่งเรืองรอง งามผ่องใส...............................มิต้องใช้ (สิ่ง)ใดแต่งเติม(ของปลอม)


    ไร้ด่างพร้อย รอยตำหนิ.............................เพราะความดี บริสุทธิ์เสริม-

(ความ)เพริศพิไล ให้(มีมาก)กว่าเดิม............เพียงแค่เริม(จาก) เพิ่มเจตนา(บริสุทธิ์)


    การยึดถือ ความซื่อสัตย์............................ช่วยกำจัด ตัดปัญหา

แม้อาศัย ในโลก........................................ที่คร่ำครา(คราคร่ำ) มุสาชน


    ความสุจริต ชวนพิสมัย..............................ความใส่ใจ ในกุศล

คือโซ่ทอง คล้องใจคน(ที่ทนทาน)...............ให้เวียนวน รัก(ใคร่)เมตตา

 

    ความหวังดี และบริสุทธิ์(ใจ)......................ต่อมนุษย์ (และ)สัตว์โลกหล้า

คือพรหมวิหาร อันโสภา..............................สร้างเสน่หา ให้(แสน)ตราตรึงฯ


๕ มกราคม ๒๕๖๗


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๗. วัตถูปมสูตร
ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยผ้า
[๗๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ช่างย้อมผ้าจะพึงนำผ้าที่สกปรก เปรอะเปื้อน ใส่ลงในน้ำย้อมสี คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมพู ผ้าผืนนั้นจะพึงเป็นผ้าที่ย้อมได้ไม่ดี มีสี ไม่สดใส ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผ้าผืนนั้นเป็นผ้าที่ไม่สะอาด แม้ฉันใด เมื่อจิต เศร้าหมอง ทุคติก็เป็นอันหวังได้ ฉันนั้นเหมือนกัน
ช่างย้อมผ้า จะพึงนำผ้าที่สะอาดหมดจดใส่ลงในน้ำย้อมสี คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมพู 
ผ้าผืนนั้นจะพึงเป็นผ้าที่ย้อมได้ดี มีสีสดใส ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผ้าผืนนั้นเป็นผ้าที่สะอาด
แม้ฉันใด เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติก็เป็นอันหวังได้ ฉันนั้นเหมือนกัน
อุปกิเลสแห่งจิต ๑๖ ชนิด
[๗๑] ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสแห่งจิต อะไรบ้าง คือ ๑. อภิชฌาวิสมโลภะ(ความโลภไม่สม่ำเสมอคือความเพ่งเล็งอยากได้ สิ่งของของผู้อื่น) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๒. พยาบาท(ความคิดปองร้ายผู้อื่น) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๓. โกธะ(ความโกรธ) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๔. อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๕. มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๖. ปฬาสะ(ความตีเสมอ) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๗. อิสสา(ความริษยา) เป็นอุปกิเลสแห่งจิตฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น