ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2566

7 ใน 10 ครั้งของข้อความ SMS ที่คนไทยได้รับเป็นข้อความสแปมและข้อความหลอกลวง

 


7 ใน 10 ครั้งของข้อความ SMS ที่คนไทยได้รับเป็นข้อความสแปมและข้อความหลอกลวง


Whoscall รายงานประจำปี 2565 พบว่า คนไทยต้องเผชิญกับยอดสายมิจฉาชีพ 17 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 165% จาก 6.4 ล้านครั้งในปีที่แล้ว นอกจากนี้สัดส่วนเบอร์โทรศัพท์คนไทยรั่วไหลและถูกขายในทางที่ผิดจำนวนถึง 13.5 ล้านเบอร์หรือกว่า 45% 

ฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท Gogolook ผู้ทำสำรวจ ระบุ 7 ใน 10 ครั้งของข้อความ SMS ที่คนไทยได้รับเป็นข้อความสแปมและข้อความหลอกลวง หรือคิดเป็น 73% ของข้อความที่ได้รับทั้งหมด ได้แก่ ข้อความสแปม, ฟิชชิ่ง, หลอกลวง, เว็บพนัน, ปล่อยกู้ ส่วน SMS ปกติมีเพียง 27% ได้แก่ ข้อความแจ้งเตือน, OTP, ใบแจ้งหนี้ทั่วไป โดยข้อความ SMS ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อ "ติดต่อครั้งแรก" หลอกให้เหยื่อกดลิงก์ฟิชชิ่งเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว เพิ่มบัญชีไลน์เพื่อหลอกให้ส่งข้อมูลหรือโอนเงินให้ โดยกลอุบายที่พบบ่อย ได้แก่ การเสนอเงินกู้โดยมักอ้างรัฐบาลหรือธนาคาร การให้สิทธิ์เข้าตรงเว็บพนันออนไลน์ที่ผิดกฎหมาย 

โดยมีคีย์เวิร์ดของข้อความหลอกลวงที่พบบ่อยที่สุด เช่น “รับสิทธิ์ยื่นกู้” “เครดิตฟรี” “เว็บตรง” “คุณได้รับสิทธิ์” “คุณได้รับทุนสำรองโครงการประชารัฐ” “คุณได้รับสิทธิ์สินเชื่อ” และ “คุณคือผู้โชคดี”

นอกจากนี้ยังพบกลหลอกลวงใหม่ๆ ในประเทศไทย มักเกิดขึ้นตามความสนใจและเทรนด์ต่างๆ เช่น การหลอกส่งพัสดุเพื่อเก็บเงินปลายทาง, การหลอกเสนองานพาร์ทไทม์, การหลอกว่าได้รางวัลจาก TikTok และแพลตฟอร์มต่างๆ

แมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ Gogolook กล่าวว่า ภัยคุกคามจากการหลอกลวงที่เพิ่มขึ้นมีผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมต่อต้านการทุจริต (Anti-Fraud Prevention) จากข้อมูลของ Fortune Business Insight ระบุการหลอกหลวงลักษณะนี้จะมีมูลค่าถึง 129.2 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2572 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปีที่ 22.8% จากการเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีและช่องโหว่ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลขององค์กร และคาดว่าจะมีการใช้เทคโนโลยีเพื่อหลอกลวงมากขึ้นในอนาคต

Whoscall แนะนำให้ปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้เพื่อป้องกันตนเองจากเหล่ามิจฉาชีพ 

อย่าคลิก หากคุณได้รับลิงก์ใน SMS อย่าคลิกลิงก์นั้น โดยเฉพาะข้อความที่มาจากธนาคารหรือหมายเลขที่ไม่รู้จัก เนื่องจากปัจจุบันมีข้อห้ามไม่ให้ธนาคารและสถาบันการเงินในประเทศไทยส่งลิงก์ทาง SMS ให้กับลูกค้าโดยตรง

อย่ากรอก หากได้รับ SMS เพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคลหรือขออัปเดตชื่อผู้ใช้/รหัสผ่าน หรือข้อมูลทางการเงินที่มีลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่น่าสงสัย และอย่าให้ข้อมูลส่วนบุคคลเด็ดขาด

อย่าเพิกเฉย ผู้ใช้สามารถช่วยกันต่อต้านกลโกงและหลอกลวงทางโทรศัพท์ โดยการรายงานเบอร์โทรศัพท์ที่น่าสงสัยหรือหลอกลวง ทางแอปพลิเคชัน whoscall เพื่อป้องกันและช่วยส่งคำเตือนไปยังกลุ่มผู้ใช้รายอื่น

Whoscall ก่อตั้งขึ้นในปี 2555 โดย Gogolook บริษัทสตาร์ทอัพจากไต้หวัน เป็นแอปพลิเคชันที่สามารถระบุหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่รู้จัก โดยจะระบุตำแหน่งต้นทาง และแสดงบนหน้าจอทันทีเมื่อตรวจจับเบอร์ต้องสงสัยว่าเป็นเบอร์มิจฉาชีพ ด้วยการกรองสายน่าสงสัยด้วย AI และฐานข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ทั่วโลก พร้อมให้บริการค้นหาเบอร์โทรศัพท์เพื่อตรวจสอบและรายงานความปลอดภัยกับฐานข้อมูลได้ทันที 

https://www.thairath.co.th/business/other/2679340?mibextid=Zxz2cZ&fbclid=IwAR3pdQ-e7zGthCCc6WxVixarzqn2rHxgDxyo5KfK1wbrzPah1f9iZpte790

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น