ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564

การนั่งสมาธิ มิใช่เพื่อสร้างบุญบารมี : กาพย์ยานี๑๑


การนั่งสมาธิ มิใช่เพื่อสร้างบุญบารมี : กาพย์ยานี๑๑


    การนั่ง สมาธิ...............................................หลากชนซิ นิยมทำ

วัดวา นานาพร่ำ......................................สั่งสอนย้ำ บำเพ็ญเพียร


    (มัก)อ้างว่า (เพื่อ)สร้างอานิสงส์.....................ได้โดยตรง จนหลงเพี๊ยน

(การนั่ง)สมาธิ สิแปรเปลี่ยน......................เป็นบุญเจียร เนียนแนบใจ


    เชื่อว่า สามารถแผ่(อุทิศ)...............................ผลบุญ(จากการนั่งสมาธิ)แด่ ผู้อื่นได้

ทำมา แลทำไป.......................................พุทธกลับไพล่ ไสยศาสตร์พาน

 

    (ที่จริง)การนั่ง สมาธิ.....................................ตาม(หลัก)พุทธ(มุ่ง)ริ กิเลส(ตัณหา)ผลาญ

หาใช่ ให้ดักดาน......................................อภินิหาร บันดาลดล


    (มุ่ง)ทำให้ จิตใจสงบ....................................ลด-ละ-ลบ อกุศล

ฝึกทรวง ดวงกระมล.................................(ให้)ตั้งมั่นดล เกิดผลดีฯลฯ

 

    หลักการ ภาวนา..........................................มุ่ง(ผล)อุรา เจริญศรี

หาใช่ ให้(สร้าง)บารมี...............................เหมือนอย่างที่ วิกลกรำ

 

    คน(ชั่ว)โง่ เข้าวัดวา.....................................งมงายบ้า เขลาถลำ

บิดเบือน พุทธธรรม..................................(เปลี่ยน)ขาวเป็นดำ พาล(มิจฉา)ดำเนิน


    (ส่วน)คนดี มีปัญญา.....................................พุทธศาสนา พาสรรเสริญ

สัมมา ประพฤติเพลิน................................มิเลินเล่อ เซ่อซ่าเอยฯ


๗ เมษายน ๒๕๖๔


ภาวนา 2 (การเจริญ, การทำให้เกิดให้มีขึ้น, การฝึกอบรมจิตใจ)
       1. สมถภาวนา (การฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ, การฝึกสมาธิ)
       2. วิปัสสนาภาวนา (การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง, การเจริญปัญญา)
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=36


 บุญกิริยาวัตถุ 3 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำความดี, หลักการทำความดี, ทางทำความดี )
       1. ทานมัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ)
       2. สีลมัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดีมีระเบียบวินัย )
       3. ภาวนามัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือฝึกอบรมจิตใจ)*

บุญกิริยาวัตถุ 10 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี )
       1. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ)
       2. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี)
       3. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ)*
       4. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม)
       5. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้)
       6. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น)
       7. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น)
       8. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้)
       9. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้)
       10. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง )

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=บุญกิริยาวัตถุ
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%BA%D8%AD%A1%D4%C3%D4%C2%D2%C7%D1%B5%B6%D8


*(อธิบายโดยผู้เขียน) 

ตามหลักศาสนาพุทธ การภาวนา หมายถึง การฝึกอบรมจิตใจ เช่น ลดละกิเลสตัณหาฯลฯ 

ไม่ใช่(แค่)การนั่งสมาธิอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด จนเป็นที่มาของการนั่งสมาธิเพื่อสร้างบุญบารมี ก่อนจะแผ่-อุทิศส่วนบุญไปให้ผู้อื่น ตามที่นิยมทำกันอย่างแพร่หลาย(ไม่รู้ไปเอาความเชื่อนี้มาจากไหน?)


ส่วนการนั่งสมาธิ พระพุทธเจ้าจะสอนการทำ "อานาปานสติ" ซึ่งพระองค์ทรงอธิบายอานิสงส์ไว้ตอนหนึ่งว่า

....ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก 

ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ 

ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ 

ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ


(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖  มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ๘. อานาปานสติสูตร )

http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3924&Z=4181&pagebreak=0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น