ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันจันทร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2564

พื้นฐานธรรมดา : กลอนคติธรรม


พื้นฐานธรรมดา : กลอนคติธรรม


    พืนฐาน การเป็น คนดี........................................ต้องมี อุระ สุจริต

ยึดถือ (ความ)ซื่อตรง จำนงนิตย์.....................ความคิด จิตใจ ใสสะอาด


    พื้นฐาน การมี ศีลธรรม*.....................................มโนกรรม สัมมา จึงสามารถ

กิเลส ตัณหา มิระบาด....................................พิสุทธิ์ ผุดผาด มนัสใน


    พื้นฐาน จรรยา ปฏิบัติ........................................ก็คือ (การ)ถือสัตย์ อัชฌาสัย

เทิดทูน คุณธรรม ค้ำหทัย...............................ปองเห็น(จรรยา) เป็นใหญ่ เหนือใจตน

 

    พื้นฐาน มานมนา สุจริต......................................ดวงจิต (ต้อง)ลดละ อกุศล

กิเลส ตัณหา สัปดน........................................กำจัด ปัดพ้น มนฤดี


    สรรพสิ่ง อิงปัจจัย พื้นฐาน..................................เป็นไป ในหลักการ วิถี

ปราศเหตุ ปัจจัย ย่อมไม่มี................................ทางเห็น-เป็น-มี ปริยาย

 

    ธรรมชาติ สัตว์ยืน(อยู่บน) พื้นฐาน.......................ดวงมาน เห็นแก่ตน ฉลชั่วร้าย

กำเนิด เกิดดับ มิกลับกลาย..............................แพร่หลาย เผ่าพันธุ์ พาลมนา

 

    เกิดมา ก็มี กิเลส...............................................ดวงเจต กระสัน ตัณหา**

หากเห็น เป็นกรรม ธรรมดา...............................ก็อย่า หมายมั่น การเปลี่ยนแปลง


    ปรับปรุง พื้นฐาน จิตใจ......................................ทำให้ ขยัน ขันแข็ง

ผลักดัน ดวงฤดี มีเรี่ยวแรง................................แสวง ประเสริฐ เลิศล้ำเทอญฯ


๑๒ เมษายน ๒๕๖๔


*ศีล แปลได้หลายความหมาย โดยศัพท์แปลว่า ความปกติของกายและวาจา...

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5 )


**หลายปีก่อน

ผู้เขียนเคยดูคลิปเทศนาของพระเถระ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น "ปราชญ์ทางพุทธศาสนา" ใน YouTube 

ท่านสอนไว้ตอนหนึ่งว่า "...คนราจะได้ดีต้องมีตัณหา แต่เป็นตัณหาในด้านดี..."

ผู้เขียนได้แต่อุทานในใจว่า "ตายห่- สอนแบบนี้ธรรมะวิบัติหมด"

(ตัณหา๓ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา พระพุทธเจ้าสอนว่าต้องกำจัดให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ)

แสดงว่า ท่านแยกแยะ "ฉันทะ" กับ "ตัณหา" ไม่ออก

กล่าวอีกนัยหนึ่ง 

ท่านคงเอาวิธีของตัวเองมาสอนคนอื่น ที่ท่านได้ดีเพราะมีความ "อยาก(ตัณหา)ได้ดี 

ท่านไม่ได้เป็นคน "รัก(ฉันทะ) "ดี นั่นเอง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น