ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

มีก็เหมือนไม่มี คือสัจธรรมของชีวิต : กลอนคติชีวิต









มีก็เหมือนไม่มี คือสัจธรรมของชีวิต : กลอนคติชีวิต


    มองนภา สลัว เมฆมัวหม่น.............................สุริยน ค้นหาย ไร้สักขี

ฝนโปรยปราย ไม่เปียกพอ ก็จรลี.....................ลมไม่มี แรงทอน ลดร้อนลง


    เด็กออกไป เที่ยวเล่น อย่างเป็นสุข.................ความสนุก ของวัย(เยาว์) ชวนใหลหลง

เมื่อภาระ หน้าที่ มิจำนง..................................ชีวิตคง (วน)เวียนสุข ทุกนาที

 

    แต่ถ้าต้อง ท่องมา ทำหากิน...........................เลี้ยงชีวิน ดิ้นรน ค้นวิถี

(จะ)เริ่มรับรู้ อุปสรรค หนักฤดี..........................ปัญหามี คู่วิสัย (ชีวิต)ในโลกา


    ความสำเร็จ,สิ่งของฯลฯ จ้องประสงค์..............ที่เจาะจง ลงแรง แสวงหา

มีมากมาย ไม่หมดสิ้น ด้วยจินดา......................ที่(คนมีความ)มุ่งมาด ปรารถนา เป็นสามัญ(ปกติ)


    สิ่งที่ได้ ใช่ว่า จะวิเศษ...................................(หลายอย่าง)เป็นสาเหตุ เภทภัย ให้อาสัญ(เป็นทุกข์ฯลฯ)

ต้องรักษา ทะนุถนอม พร้อมป้องกัน-.................คนแย่งชิง ยิ่งนับวัน เพิ่มอันตราย


    โลกามอบ (ทั้ง)โอกาส และ(ความ)ขัดสน.........เคยยากดี มีจน คน......สุดท้าย(ท้ายที่สุด)

มิรอดพ้น หนทาง ย่าง(สู่)ความตาย..................สิ่งที่มี ที่ได้ (สูญ)สลายพลัน


    มีก็เหมือน ไม่มี ในที่สุด..................................สรรพสิ่งผอง ต้องสะดุด หยุดเพ้อฝัน

(ลาภ,ยศฯลฯ)ของทุกอย่าง (ล้วน)ว่างเปล่า ก็เท่านั้น.......คือสัจจ์ที่ ไม่มีวัน เปลี่ยนผันแปร

 

    หวนคำนึง ซึ่งการ (ขับ)เคี่ยวขันแข่ง................(ดั่ง)เครื่องตกแต่ง อัตตา (คิด)ว่า(เป็นของ)จริงแท้

บังเกิดความ โง่เขลา เฝ้าดูแล(หวงแหน)...........ทั้ง(ๆ)ที่แม้ แต่ชีวา ก็มลาย(หายลับ)


๑๘ กุมภาพันธุ์ ๒๕๖๗


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

๔. อนิจจสูตรที่ ๒
ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕
[๔๒] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่ เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้ อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่ เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของ เรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็น จริงอย่างนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น