ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

หายนะสภาพอากาศโลก! ระบบ “กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม” อาจล่มสลายในปี 2025



หายนะสภาพอากาศโลก! ระบบ “กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม” อาจล่มสลายในปี 2025


โดย PPTV Online

เผยแพร่ 

วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

โลกป่วย ! ร้อนจัด - น้ำท่วมฉับพลัน | ข่าวดัง สุดสัปดาห์ 15-07-2566

สหรัฐสั่งเบรคF-16ให้ยูเครน บอกยังแปลภาษาไม่เสร็จ วงในบอกรัสเซียเล่นนุ้ก

ยุโรปอ่วม คลื่นความร้อนถล่มทั่วยุโรป - สหรัฐฯ 113 ล้านคน เผชิญร้อนจัด | ...

วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

มวลน้ำร้อนใหญ่ผิดปกติ เอลนีโญ เคลื่อนที่จ่อปากอ่าวไทยแล้ว

วันที่ 14 กรกฎาคม ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก อธิบายสถานการณ์และปรากฏการณ์เอลนีโญที่กำลังเกิดขึ้นกับประเทศไทยวันนี้ โดยระบุว่า

อุณหภูมิผิวหน้าน้ำทะเลเกี่ยวข้องโดยตรงกับเอลนีโญ ภาพนี้แสดงน้ำร้อนผิดปรกติที่เคลื่อนเข้ามาจ่อปากอ่าวไทยแล้วครับ


สอดคล้องกับข้อมูลล่าสุดจาก องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ หรือ โนอา NOAA แสดงกราฟอุณหภูมิน้ำทะเลที่ทำให้เราเห็นว่า เราทะลุเข้าเอลนีโญตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงเร่งตัวขึ้น

เอลนีโญจะแรงสุดช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม มีโอกาสที่น้ำทะเลร้อนเพิ่มขึ้นเกิน 1 องศา (80%) เกิน 1.5 องศา (50%) และเกิน 2 องศา (20%)

ตัวเลข % อาจเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จะแม่นยำเพิ่มขึ้นเมื่อใกล้ขึ้น

เมื่อดูกราฟในอดีต ส่วนใหญ่เอลนีโญจะจบลงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ปีหน้า แต่มีอยู่บ้างที่จะลากยาวไปไกลกว่านั้น กลายเป็นดับเบิ้ลเอลนีโญ

เรามาดูว่าน้ำร้อนส่งผลอย่างไร ? ผมสรุปให้เพื่อนธรณ์ 3 เรื่อง

ผลกระทบต่อปะการัง แม้เป็นช่วงฤดูฝนที่น้ำควรจะเย็น แต่ปะการังบางแห่งยังสีซีดไปจนถึงฟอกขาวน้อยๆ ไม่แข็งแรงอย่างที่ควรเป็น

หากเอลนีโญลากยาวไปถึงฤดูร้อนปีหน้า มันเป็นเรื่องน่าสะพรึง

ผลกระทบต่อแพลงก์ตอนบลูม/น้ำเปลี่ยนสี ช่วงนี้ฝนตกแดดออกสลับกันไป แพลงก์ตอนพืชชอบมาก เพราะมีทั้งธาตุอาหารทั้งแสงแดด จึงเกิดปรากฏการณ์น้ำเขียวเป็นระยะ

มวลน้ำที่ร้อนกว่าปรกติ ทำให้น้ำแบ่งชั้น น้ำร้อนอยู่ข้างบน น้ำเย็นอยู่ข้างล่าง ออกซิเจนจากน้ำด้านบนมาไม่ถึงน้ำชั้นล่าง หากเกิดแพลงก์ตอนบลูม สัตว์น้ำตามพื้นจะตายง่าย

ผลกระทบต่อพายุ อันนี้ต้องออกไปดูมวลน้ำร้อนในแปซิฟิก น้ำยิ่งร้อนยิ่งถ่ายทอดพลังงานให้พายุหมุนได้มากขึ้น ต้องจับตาดูไต้ฝุ่นปีนี้ว่าจะเป็นอย่างไร

พื้นที่ได้รับผลกระทบคืออ่าวไทย โดยเฉพาะอ่าวไทยตอนในและภาคตะวันออก ซึ่งบริเวณนั้นเป็นที่คนอยู่หนาแน่นและมีกิจกรรมทางทะเลมากสุดในไทย

แล้วเราทำอะไรได้บ้าง ?

คำตอบคือ “รับมือ” ด้วยการยกระดับติดตามผลกระทบในทะเลอย่างจริงจัง เพิ่มการสำรวจคุณภาพน้ำ สมุทรศาสตร์ และระบบนิเวศให้ทันท่วงที

“ปรับตัว” ด้วยการลดผลกระทบจากมนุษย์ให้น้อยที่สุด อย่าซ้ำเติมทะเลตอนที่เธอกำลังแย่

มองไปข้างหน้าหาทางหนีทีไล่ เช่น หากต้องปิดจุดดำน้ำในแนวปะการังหากฟอกขาวปีหน้า เราจะต้องทำอย่างไรเมื่อการท่องเที่ยวกำลังฟื้นตัว

ปรับตัวกับโลกร้อนไม่ใช่อะไรที่จะทำได้ในพริบตา เราต้องคิดและวางแผนล่วงหน้าครับ

อย่างที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกบอกไว้ โลกเปลี่ยนไป เอลนีโญ+โลกร้อน เป็นปรากฏการณ์ที่เราต้องเผชิญอีกเรื่อยๆ

หนนี้เป็นแค่ชิมลางก่อนเข้าสู่ยุคธรรมชาติแปรปรวนอย่างแท้จริง เราควรต้องเรียนรู้ให้มากที่สุด คิดหาหนทางไว้ในขณะที่ยังพอมีเวลา

จะมารายงานเพื่อนธรณ์เรื่อยๆ ส่วนที่ว่าทำได้แค่ไหน ก็จะพยายามสุดแรง โดยมีความหวังเล็กๆ ว่าที่พูดไปจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นบ้าง

เปลี่ยนเร็วๆ หน่อยก็ดีนะ เพราะมวลน้ำร้อนใหญ่มาจ่อไทยแล้วครับ

(https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_4079785)

Perfect Storm หายนะโลกสมบูรณ์แบบ ? l TNN World Today

แหล่งผลิตข้าวทั่วโลกชะลอตัว หลังภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ซ้ำเติมวิกฤตอาหา...

วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

น้ำแข็งในทะเลแอนตาร์ติก ลดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ |



น้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกแตะระดับ “ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์”


Climate: น้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกแตะระดับ “ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์” เมื่อเดือนมิ.ย.66 ที่ผ่านมา

นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า ระดับน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และ "การเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ" นี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการลดลงในระยะยาว 


NOAA หรือ National Oceanic and Atmospheric Administration (องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ) รายงายว่า วันที่ 27 มิ.ย. ที่ผ่านมา ขอบเขตของน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกานั้นต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเกือบ 2.6 ล้านตารางกิโลเมตร ในช่วงเวลานี้ของปี เมื่อเทียบกับช่วงเวลาระหว่างปี 1981 ถึง 2010 ซึ่งเทียบเท่ากับการสูญเสียพื้นที่น้ำแข็งเกือบประมาณสี่เท่าของรัฐเท็กซัส


ขอบเขตของน้ำแข็งในทะเลในเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. ที่ผ่านมา นั้นมีขนาดเล็กกว่าวันเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 1.3 ล้านตารางกิโลเมตร เนื่องจากฤดูกาลในแอนตาร์กติกาจะพลิกผันเมื่อเทียบกับซีกโลกเหนือ ปัจจุบันแอนตาร์กติกาเป็นฤดูหนาว และน้ำแข็งในทะเลน่าจะเติบโตอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ทะเลน้ำแข็งกำลังสะสมตัวอยู่ทั่วทวีป แต่สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในอัตราเดียวกันและในระดับเดียวกับปีก่อนหน้า


โดยรวมแล้ว ตอนนี้น้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 11.7 ล้านตารางกิโลเมตร และคาดว่าบริเวณนี้จะขยายใหญ่ขึ้นจนถึงกลางเดือนถึงปลายเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำแข็งในทะเลมักจะสูงถึงประมาณ 18.4 ล้านตารางกิโลเมตร จากนั้นน้ำแข็งจะถอยร่นในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนของแอนตาร์กติกจนเหลือพื้นที่ขั้นต่ำปีละประมาณ 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งโดยปกติจะบันทึกไว้ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม ขอบเขตของน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกมีการเปลี่ยนแปลงปีต่อปีมากกว่าน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกในซีกโลกเหนือเนื่องจากความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ระหว่างสองภูมิภาค แต่ถึงกระนั้น ตัวเลขที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ในปัจจุบันถือว่าผิดปกติ 


นักวิจัยทราบมาระยะหนึ่งแล้วว่าน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกกำลังลดลงอย่างรวดเร็ว และอาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในภูมิประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 


ที่มา: Livescience

(https://www.tnnthailand.com/news/earth/150487/)


วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

วิกฤตน้ำแล้งบึงบอระเพ็ด

อย่ารอท่า"ฟ้าหลังฝน" : กลอนจรรโลงใจ



อย่ารอท่า"ฟ้าหลังฝน" : กลอนจรรโลงใจ


    ฝนหยด รดริน ดินด่ำ.........................................ชุ่มฉ่ำ น้ำนอง ลำยองศรี(ลำยอง=สวย, งาม)

เพลินเมียง ฟังเสียง(ฝน)ซ่า กลางราตรี..............สุขี ฤดีเห็น เย็นสบาย


    คนเขา เฝ้าคิด พิจารณา....................................ยก "ฟ้า หลังฝน" ยลสลาย

งดงาม ล้ำเลิศ ช่างเพริศพราย..........................(น่า)เสียดาย ไม่ถนัด สัจธรรม

 

    นภา ทุกนาที บริสุทธิ์........................................วิมุต หลุดพ้น มลทินล้ำ(วิมุต=หลุดพ้น)

พิไล ใสสด จรดเช้า-ค่ำ....................................เมฆคล้ำ น้ำฝน พิมลมอง


    ไม่ว่า มนุษย์ ผุดความคิด...................................สร้างผล มลพิษ วิกฤตสนอง

ก็หา ทำให้ (ฟ้า)ไร้เรืองรอง..............................ภัยผอง ต้องสู่ พสุธา


    ชีวี ที่ชี้นำ ธรรมกุศล.........................................(ยาม)ขัดข้อง ต้องผจญ ท้นปัญหา

จิตใจ ไม่ติดขัด ความศรัทธา............................เสมือนฟ้า คราฝน ระคนครอง


    ยังคง ยงสู้ เหล่าอุปสรรค..................................เบา-หนัก ผลักดัน กรรม์ถูกต้อง(สัมมากัมมันตะ)

มิหยุด สุจริต จิตครรลอง..................................(มิ)ขาดตก บกพร่อง คล่องจรรยา

 

    (เมื่อ)เข้าใจ ตัวบท กฎแห่งกรรม........................ไม่ทำ ให้ท้อ ต่อปัญหา

ไม่เกิด เศร้าโศก กับโชคชะตา..........................เชื่อว่า ทำดี ย่อมได้ดี(ทำชั่วย่อมได้ชั่ว)


    อย่ามัว รอท่า "ฟ้าหลังฝน"...............................แยบยล หนทาง สว่างศรี

เมฆฝน ล้นฟ้า (ดุจ)มโหรี..................................สวยดี วิเศษ เพียงเพชรเอยฯ


๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๖

วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

เตือนพายุฝนถล่มใต้อ่วมหนัก จับตาเอลนีโญวิกฤตสภาพอากาศไทย | TNN ข่าวดึก |...

ร้อนทุบสถิติโลก“3 ก.ค.”ร้อนสุดในประวัติศาสตร์ | TNNข่าวเที่ยง | 5-7-66

"ดับเบิลเอลนีโญ่" มาแน่! - ฟังคำเตือนร้อน-แล้งหนักยาวปีหน้า | TNN ข่าวเย...

เปิดภาพโลกในวัน "ร้อน" ที่สุด - ขั้วโลกใต้ในฤดูหนาวยังร้อนผิดปกติ | TNN ...