ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ยิ่งให้(เงิน)ยิ่งได้บาป(ไม่ใช่ได้บุญ) : กาพย์ยานี๑๑




ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิเคราะห์แล้วเห็นว่า 
ความผิดที่ผู้ต้องหาทั้งสามถูกกล่าวหามีอัตราโทษสูง มีลักษณะร่วมกันกระทำความผิด 
โดยที่ผู้ต้องหาที่ 1,2 อาศัยโอกาสกระทำความผิดในขณะครองสมณเพศ อันเป็นที่เคารพและเชื่อถือศรัทธาของประชาชน
 พฤติการณ์เป็นการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาอย่างร้ายแรง

ดีแต่สอนคนอื่น ตัวเองกลับทำชั่วเสียเอง

ยิ่งให้(เงิน)ยิ่งได้บาป(ไม่ใช่ได้บุญ) : กาพย์ยานี๑๑


    ยิ่งให้(เงิน) ยิ่งได้บุญ..........................คงเคยคุ้น คำหว่านล้อม

(จาก)วาทะ พระจอมปลอม..................ผู้พร้อมพรั่ง สร้างเล่ห์กล


    บวชไซร้ ไร้ศรัทธา..............................มิปรารถนา หามรรคผล(ตามหลักพุทธศาสนา)

แต่จิต ติดสัปดน.................................โลภลาภล้น ยศ สักการฯลฯ

 

    ยิ่งให้(เงิน) ยิ่งได้บาป..........................ยิ่งไหว้กราบ ยิ่งสาบ(สูญ)ศานติ์

(เพราะเงิน)ล่อตา พวกสามานย์............(มา)บวชรอนราญ ธรรมวินัย(ทำลายศาสนาพุทธ)


    อยากหรู อยู่(ดี)กินดี............................คือวิถี พระสาไถย

อยากเป็น โตเป็นใหญ่.........................ย่อมมิใช่ ทางสายกลาง(มัชฌิมาปฏิปทา)


    โลกีย์ ค่านิยม.....................................ฤดีถม โสมมถ่าง

(พระ)มักมาก อยากแอบอ้าง.................(ทำถูกต้อง)ตามแนวทาง ประเพณี(ท้องถิ่น)


    เงินทอง ของล่อใจ..............................ชนหลงใหล ไม่หลีกหนี

เงินทอง ของราคี.................................ขวางวิถี อริยมรรค(สู่นิพพาน)

 

    เงินทอง ทำลายพระ............................สิ้น(ความเป็น)สมณะ ให้ตระหนัก(สมณะ=ผู้สงบกิเลส)

เพิ่มอยาก(ตัณหา) พูนมากมัก(มักมาก)...เป็นอุปสรรค สู่มรรค(ผล)ดล


    (จง)ทำตาม ธรรมวินัย..........................จึงจะได้ บุญกุศล

อย่าทำ ตามใจตน.................................จักท้นชั่ว ทั่วชาญเอยฯ


๗ พฤษภาคม ๒๕๖๖


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒

๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

......ฯลฯ......
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่า เธอรับรูปิยะจริงหรือ? ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ, ไฉนเธอจึงได้รับรูปิยะเล่า? การกระ ทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาค ทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้วตรัส โทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำ นาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุมีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบัง- *เกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์....ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น