อุปการะและกตัญญู : กลอนคติเตือนใจ
๏ หญิงชรา
บ่นว่าบุตร..........................................ยากแสนสุด ขอเงิน(ลูก)ใช้
จ่ายเงิน(ตัว)เอง
จึงสมใจ....................................บ่งบอกอะไร ในอุรา?
๏ มีลูกมา
เพื่อหาประโยชน์...................................ตั้งเป็นโจทย์ โคตรปรารถนา
(มีลูกเพื่อ)ใช้แรงงาน
ผลักดันชีวา.........................ให้ก้าวหน้า สถาพรฯลฯ
๏ ความกตัญญู
(ใน)อุปการะ.................................กตเวทิตา อุตสาห์สอน
อ้างบุญคุณ
หรือ(ลง)ทุนรอน?..............................ที่ต้องถอน (ผล)ย้อนคืนพลัน
๏ ส่วนบางคน
สนใจแค่........................................ขอ(รับการ)เผื่อแผ่ แดใฝ่ฝัน
เอาแต่ได้
ไม่แบ่งปัน(กลับคืน)..............................ความสัมพันธ์ ลาญเยื่อใย
๏ (กรณีแรก)เหมือนหว่านพืช
เพื่อหวังผล................ความคิดคน ล้นสาไถย
(กรณีหลัง)เหมือนเสาะหา
อยากจะกำไร.................ของคนใคร่ เห็นแก่ตัว
๏ การให้ทาน
อย่าหาญผล....................................จึงเป็นกุศล พ้นความชั่ว
(การ)รับของใคร
ไม่เมามัว...................................ไร้หัวจิต คิดตอบแทน
๏ อันคนดี
มีศีลธรรม............................................เมตตานำ มิหวงแหน
เมื่อให้ทาน
มิมั่นแม่น...........................................ต้องตอบแทน ทวงบุญคุณ
๏ กตัญญู
(ต่อผู้)อุปการะ......................................กตเวทิตา ปราชญาหนุน
อกซึมซับ
ซึ่งบาปบุญ..........................................คือคุณสมบัติ ของคนดีฯ
๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
*[๒๔๖๖]
ผู้ใดในโลกนี้
เป็นผู้สำรวมด้วยกาย วาจาและใจ ไม่ทำบาปกรรมอะไรๆ ไม่พูดพล่อยๆ เพราะเหตุแห่งตน
บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่ามีศีล.
ผู้ใดคิดปัญหาอันลึกซึ้งได้ด้วยใจ
ไม่ทำกรรมอันหยาบช้าอันหาประโยชน์มิได้ ไม่ละทิ้งทางแห่งประโยชน์อันมาถึงตามกาล
บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่ามีปัญญา.
ผู้ใดแล เป็นคนกตัญญูกตเวที มีปัญญา
มีกัลยาณมิตร และมีความภักดีมั่นคง ช่วยทำกิจของมิตรผู้ตกยากโดยเต็มใจ
บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่าสัตบุรุษ.
ผู้ใดประกอบด้วยคุณธรรมทั้งปวงเหล่านี้
คือเป็นผู้มีศรัทธา อ่อนโยน แจกทานด้วยดี รู้ความประสงค์ ศิริย่อมไม่ละคนเช่นนั้น
ผู้สงเคราะห์ มีวาจาอ่อนหวาน สละสลวย.
จาก
<http://84000.org/tipitaka/read/?27/2466-2469>
*บุคคลหาได้ยาก 2
1.
บุพการี (ผู้ทำความดีหรือทำประโยชน์ให้แต่ต้นโดยไม่ต้องคอยคิดถึงผลตอบแทน
2. กตัญญูกตเวที
(ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วและตอบแทน, ผู้รู้จักคุณค่าแห่งการกระทำดีของผู้อื่น
และแสดงออกเพื่อบูชาความดีนั้น
จาก
<http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=29>
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น