ผลงานของชายคนหนึ่งซึ่งนอกจากตามหลักสูตรของโรงเรียนแล้ว ต้องเรียนรู้ศึกษาหาความรู้เอง ทั้งหลักธรรมและการประพันธ์ ชอบคิด-วิเคราะห์-สรุปบทเรียนใหม่เป็นประจำ แล้วบันทึกไว้เป็นบทกวีเพราะมิเช่นนั้นจะลืมบทเรียนเก่า คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง จึงโพสต์สู่สื่อสาธารณะ
ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน
สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้
วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2568
วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2568
วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2568
ทักษะชีวิตพิชิตอุปสรรค : กลอนคติสอนใจ
“—รู้สึกเจ็บใจที่ถึงตรุษจีนทีไร เจ๊กปิดร้านขายของหมด หมูก็ไม่มีกินกับข้าวก็ไม่มีขาย
เป็นเพราะคนไทยชอบแต่สบาย ทำราชการ ไม่รู้จักหัดทำมาค้าขายกับเขาบ้าง—”
... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.silpa-mag.com/quotes-in-history/article_6047
ทักษะชีวิตพิชิตอุปสรรค : กลอนคติสอนใจ
๏ ทักษะ=ความรู้ ความเชี่ยวชาญ*..................ของการ กระทำ นำสู่ผล-
สำเร็จ ชีวี งามวิมล....................................อันคน ไม่มี (เพราะ)มิใส่ใจ
๏ ทักษะ ยั่งยืน ขั้นพื้นฐาน...........................ของการ โลกา อยู่อาศัย
(คือ)สามารถ อยู่รอด อย่างปลอดภัย.............และไม่ มีทุกข์ ทรมาน์
๏ สุขภาพ กาย-ใจ ให้สำคัญ.........................เป็นอัน ดับต้น(ๆ) พึงหนหา(หน=ทาง, ทิศ)
สุขภาพ ที่ดี มีคุณค่า..................................ยิ่งกว่า โชคลาภ ทรัพย์สินใด(ๆ)
๏ ทักษะ ในการ สื่อสารสุด-..........................ยอด,มนุษย์ สัมพันธ์ เชี่ยวชาญไข
เลิศล้ำ อำนวย ช่วยเอื้อให้...........................สุขะ อาศัย ในสังคม
๏ ทักษะ การคิด วิจารณญาณ.......................บันดาล บรรลุ อุกฤษณ์สม
ทัศน(ะ) คติ งามวิกรม...............................พาสู่ ความอุดม สมฤทัย
๏ ทักษะ ทำมา รู้(จัก)หากิน..........................(คือ)วิถี ชีวิน สินทรัพย์ไหล(มาเทมา)
(อยาก)มีอยู่ มีกิน มิสื้นใช้(ใช้ไม่หมด)...........อย่าไร้ ทักษะ อาชีวะ
๏ ทักษะ ศึกษา และเรียนรู้............................ประเสริฐ เชิดชู บูรณะ
ให้(เป็นคน)เก่ง ให้(เป็นคน)ดี มีสุขะ..............พัฒนะ เจริญ ดำเนินชัย
๏ (จะมี)ทักษะ ต้องเพียร พร่ำเรียนรู้................ฝึกฝน จนสู่ รุจิใส
(รุจิ=แสง,ความรุ่งเรือง,ความงาม)
ไม่ว่า จะกระทำ (กิจ)กรรมอะไร.....................ล้วนต้องใช้ ทักษะ+มานะเอยฯ
๒๙ มกราคม ๒๕๖๘
*รวมเรียกว่า ทักษะในการดำเนินชีวิต
วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2568
การกระทำสำคัญกว่าความ(แค่)รู้
การกระทำสำคัญกว่าความ(แค่)รู้ : กลอนคติสอนใจ
๏ มหา(เปรียญ) มาถาม เรื่องทำบุญ..............ว่าคุณ(ทำบุญด้วยการ) สวดมนต์ ท่องบทไหน?
(พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนว่าสวดมนต์จะได้บุญ)
ตอบว่า ก็เลี้ยง แมววัดไง............................ทุกวัน(เช้า-เย็น) ทำไป ไม่ละเลย
๏ มหา พาที นี่คือทาน................................พรหมวิหาร ทั้ง ๔ คลี่เฉลย
สอนธรรม (มะ)คล่อง ท่อง(จำ)คุ้นเคย...........เปิดเผย ว่า(มีความ)รู้ แต่ไม่ทำ
๏ แมวหมา ที่เขา เอามาทิ้ง(วัด)....................พระชิง ชังใส่ ไม่อุปถัมภ์
ลูกแมว ลูกหมา ตาดำๆ..............................จุนค้ำ ชีวาตม์ โดยญาติโยม
(เอาอาหารไปเลี้ยงแมวหมาในวัด ยังถูกพระว่าทำให้วัดสกปรก)
๏ ให้ศีล สอนธรรม ตามพิธี...........................ทำที คึกคัก เหมือนหักโหม(พูดจริงทำจริง)
(ทั้ง)ผู้ให้ ผู้รับ มิซับโซรม............................สังคม โรมลาม ความอัปรีย์(โซรม=ช่วยกัน)
๏ ใส่ใจ การเรียน อย่าเพียรเล่น......................เด็กต่าง รู้เห็น เช่นวิถี
ผู้ใหญ่ สอนสั่ง หวัง(เด็ก)ได้ดี.......................แต่มี (เด็ก)กี่คน สนใจทำ?(ส่วนใหญ่เอาแต่เล่น)
๏ ใครไม่ รู้ว่า อย่าทุจริต?..............................(แต่)ใครคิด จริงจัง มิย่าง(ล่วง)ถลำ
กฎระเบียบ วินัย ใครใคร่จำ?..........................(ชอบ)ล่วงล้ำ กล้ำเกิน ดำเนินลาญ(ละเมิดกฎ)
๏ ปัญหา สภาวะ สิ่งแวดล้อม..........................สุมห้อม ชีวิต วิกฤติผลาญ
ต่าง(ก็)รู้ ทั่วไป (แต่)ไม่ต้องการ.....................กล้าหาญ ปฏิบัติ ตัดต้นตอ
๏ การกระทำ สำคัญ กว่าความ(แค่)รู้................มีผู้ ใส่ใจ เท่าไรหนอ?
สันดาน มนุษย์ สุดบ้าบอ...............................(เหมือน)คดในข้อ งอใน หทัยเอยฯ
๒๕ มกราคม ๒๕๖๘
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๕. พาลวรรค หมวดว่าด้วยคนพาล ๑. อัญญตรปุริสวัตถุ เรื่องชายคนใดคนหนึ่ง (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระเจ้าปเสนทิโกศล และชายคนหนึ่ง ดังนี้) [๖๐] ราตรีหนึ่ง ยาวนานสำหรับคนผู้ตื่นอยู่ ระยะทางโยชน์หนึ่ง ยาวไกลสำหรับคนผู้เมื่อยล้า สังสารวัฏยาวนานสำหรับคนพาลผู้ไม่รู้แจ้งสัทธรรม
๒. มหากัสสปสัทธิวิหาริกวัตถุ เรื่องสัทธิวิหาริกของพระมหากัสสปเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุผู้อยู่ในกรุงราชคฤห์ ดังนี้) [๖๑] หากบุคคลเที่ยวหาคนดีกว่าตน หรือเสมอกับตนไม่ได้ ก็ควรถือการเที่ยวไปคนเดียวให้มั่นคง เพราะจะหาความเป็นเพื่อนในคนพาลไม่ได้เลย๓. อานันทเสฏฐิวัตถุ เรื่องอานันทเศรษฐี (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่เศรษฐีชื่อมูลสิริบุตรของอานันทเศรษฐี ดังนี้) [๖๒] คนพาลย่อมเดือดร้อนว่า “เรามีบุตร เรามีทรัพย์” แท้จริง ตัวตนก็ไม่มี บุตรและทรัพย์จักมีแต่ที่ไหน๔. คัณฐิเภทกโจรวัตถุ เรื่องโจรผู้ทำลายปม (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่โจรผู้ทำลายปมและชนทั้งหลาย ดังนี้) [๖๓] คนพาลที่รู้ตัวว่าเป็นคนพาล ยังเป็นบัณฑิตได้บ้าง แต่คนพาลที่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต นั่นแหละ เรียกว่า คนพาลแท้
๕. อุทายิเถรวัตถุ เรื่องพระอุทายีเถระ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๖๔] คนพาล แม้จะอยู่ใกล้บัณฑิตชั่วชีวิต ก็ไม่รู้แจ้งธรรม เหมือนทัพพีไม่รู้รสแกง ฉะนั้น๖. ปาเฐยยกภิกขุวัตถุ เรื่องภิกษุชาวเมืองปาฐา (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๖๕] วิญญูชน แม้จะอยู่ใกล้บัณฑิตเพียงชั่วครู่ ก็รู้แจ้งธรรมได้ฉับพลัน เหมือนลิ้นรู้รสแกง ฉะนั้น๗. สุปปพุทธกุฏฐิวัตถุ เรื่องนายสุปปพุทธะผู้เป็นโรคเรื้อน (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๖๖] คนพาลผู้มีปัญญาทราม ทำตนให้เป็นดุจข้าศึก เที่ยวทำบาปกรรมที่ให้ผลเผ็ดร้อน.
วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2568
วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2568
พ่อแม่รังแกฉัน : กลอนคติเตือนใจ
พ่อแม่รังแกฉัน : กลอนคติเตือนใจ
๏ ทำอะไร ตามใจ คือไทยแท้..........................ก็เพราะแม่ และพ่อ ส่อสั่งสอน(ผิดๆ)
กฎระเบียบ วินัย (คน)ไทยย่อหย่อน.................ตามคติ บิดร และมารดา(ทำจนเคยตัว)
๏ พ่อแม่คือ บุร พอาจารย์...............................ผู้หยิบยื่น พื้นฐาน การศึกษา(ครูคนแรก)
ลูกหลานจัก รักดี มีจริยา................................(เริ่มจาก)พึ่งมารดา บิดร สอนอบรม
๏ กิริยา มารยาท ทัศไนย................................พ่อแม่มี วิสัย(ทัศน์) ให้สั่งสม
วิจารณญาณ มานฤดี ค่านิยม...........................สติอุดม (หรือ)งมงาย ถ่ายทอดเป็น
๏ ความซื่อสัตย์ สุจริต นิตยา............................มีบิดา มารดร สอนให้เห็น
ความเอาจริง เอาจัง (หรือ)หวังแต่เล่น...............ล้วน อเนก เฉกเช่น บุพการี
๏ ปรารถนา ประเทศชาติ พัฒนา........................ต้องพึ่งพา พ่อแม่ แพร่วิถี
ยังเช้าชาม เย็นชาม ทำ(งานพอเป็น)พิธี.............อย่าหมายมี ชีวิต พิชยา
๏ ผลประโยชน์ ส่วนตัว ต้องมาก่อน....................(มักจะมี)พ่อแม่สอน ให้เห็น เป็นสิกขา(ตัวอย่าง)
มี(หรือ)ไม่มี ศีลธรรม นำอุรา............................(เด็ก)ดูบิดร มารดา ประสาทดาล(ประสาท=ให้)
๏ คุณสมบัติ ทัศนีย์ มีประจำ(ตัว)........................พ่อแม่นำ ฝึกหัด ปทัสถาน
ปรับปรุงตน พ้นปลัก หรือ(โง่)ดักดาน.................พึ่งเผ่าพงศ์ วงศ์วาน สานสืบมี
๏ จะเลือกคู่ อย่าดูแล แค่ทรัพย์-สวย...................(ดู)อย่างอื่นด้วย ช่วยให้ ได้สุขี
อย่าโทษ(แต่)ลูก โทษหลาน สันดานไม่ดี............ควรโทษบุพ (พะ)การี ที่ก่อเอยฯ
๒๑ มกราคม ๒๕๖๘
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)