ผลงานของชายคนหนึ่งซึ่งนอกจากตามหลักสูตรของโรงเรียนแล้ว ต้องเรียนรู้ศึกษาหาความรู้เอง ทั้งหลักธรรมและการประพันธ์ ชอบคิด-วิเคราะห์-สรุปบทเรียนใหม่เป็นประจำ แล้วบันทึกไว้เป็นบทกวีเพราะมิเช่นนั้นจะลืมบทเรียนเก่า คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง จึงโพสต์สู่สื่อสาธารณะ
ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้
วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564
วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564
วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2564
อย่าหลับหูหลับตารักษาศีล : กลอนคติเตือนใจ
๏ อย่าหลับหู หลับตา รักษาศีล
ผล(ลัพธ์อาจ)ต่ำเตี้ย เรี่ยตีน สิ้นสุขศานติ์
คิดปรับปรุง ไปตาม สถานการณ์
เคร่งตึงผ่อน-อย่าหย่อนยาน เลี่ยงบรรลัย
๏ เช่นกับคน ต้องการ กำลังจิต
กลัวศีลผิด พูดตรง ส่งผลให้
เขาท้อแท้ แออ่อน บั่นทอนใจ
(ไม่สู้)โกหกให้ ได้ฟัง ดั่งเมตตา
๏ แมลงร้าย โรคภัยทราม นำมาสู๋
ยังอยากมี ชีวีอยู่ ต้องรู้ฆ่า
เพื่อป้องกัน ภยันตราย กรายกล้ำมา
ไม่ใช่ว่า ฆ่าเล่น มิเป็นธรรม
๏ พระป่วยไข้ ไม่สบาย ไปหาหมอ
ต้องทานยา ติดต่อ เช้า-เที่ยง-ค่ำ
หลังอาหาร(ค่ำ) ทานไม่ได้ วินัยนำ
คงต้องจำ ทำใจ (หาก)วายชีวี
ฯลฯ
๏ (วัตถุประสงค์)รักษาศีล เพื่อให้ ไม่ทำชั่ว
(มิ)เห็นแก่ตัว มัวเมา เฝ้าบัดสี
ห้ามไม่ให้ เบียดเบียน เพียรราวี
(ศีล)หาได้มี ความวิเศษ เวทวิชา(อย่างมงาย)
๏ (ศีล)เป็นระเบียบ วินัย ใช้ชีวิต
อบรมจิต คิด-พูด-ทำ ตามสิกขา
(เป็น)ปกติกรรม ทำให้ ได้พัฒนา
กุศลธรรม สัมมา สาธุชน
๏ ศีลทำให้ เป็นมนุษย์ สุจริต
เว้นทำผิด ศีลธรรม นำพาผล
ผู้ทำดี ได้ดี มีสุขล้น
ปราศเวรกรรม ตามประจญ ทนทรมาน
๏ ศีลคือหลัก ปฏิบัติ เป็นปัจจัย
เพื่อก้าวไป ให้พ้น วัฏสงสาร
ทางประเสริฐ เปิดประตู สู่นิพพาน
เป็นพื้นฐาน (ของ)ทุกศาสนา ปราชญาเอยฯ
๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๔
วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564
ศีลไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ : กลอนคติเตือนใจ
๏ ศีลหาใช่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์....................................ก่อเกิดฤทธิ ปาฏิหาริย์
อย่างคนเฒ่า เก่าโบราณ.............................ชอบเล่าขาน สืบกันมา
๏ การอวดดี หลงวิเศษ(ในศีล)...........................คือกิเลส ความหยาบช้า
คนหลงใหล ในอัตตา..................................สติ-ปัญญา- คุณ มลาย
๏ (การ)รักษาศีล เป็นเครื่องมือ...........................ช่วยผู้ถิอ(ศีล) ซื่อสัตย์ขวาย
ไม่ทำชั่ว มัวเมามาย....................................มิกล้ำกราย ทำร้ายชน
๏ (การถือศีล)ป้องกันให้ ไม่เบียดเบียน................บำเพ็ญเพียร เรียนรู้หน-
ทางละเว้น (ความ)เห็นแกตน.......................ละอกุศล สิ้นมนมาน
๏ (การถือ)ศีลทำให้ กาย-ใจสะอาด.....................ชั่วบาปปราศ เป็นมาตรฐาน
ของอริยะ ศาสนาจารย์................................ประเสริฐศานติ์ สำคัญมี
๏ สัมมาบท กฎแห่งกรรม...................................การกระทำ ล้ำเลิศศรี
ใครทำดี ย่อมได้ดี......................................ใครมีศีล ชีวินสบาย
๏ (ผู้)ไม่ทำชั่ว ไม่(ต้อง)กลัวผล-.........................กรรมประจญ ดลเลวร้าย
(เดือด)ร้อนลำเค็ญ มิเว้นวาย........................(ไม่ต้องกลัว)สุขสมหมาย ห่างหายพลัน
๏ คือเป้าหมาย ในศีลธรรม.................................ที่น้อมนำ ความสุขสันติ์
ให้ผู้มี(ศีลธรรม) ใช้ชีวัน...............................สุขสำราญ นิรันดรฯ
๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๔
ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ในธรรมวินัยนี้
ย่อมถึงกองโภคทรัพย์มากมาย อันมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ข้อ
ที่ ๑ ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล
อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของคนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมฟุ้งไป นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ ของคน
มีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล
อีกประการหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีลจะเข้าสู่บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท
ย่อมองอาจ ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ ของคนมีศีล เพราะความ
ถึงพร้อมด้วยศีล
อีกประการหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ ของคนมีศีล
เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล
อีกประการหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อานิสงส์ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล ๕ ประการนี้แล ฯ
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 (สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพอันต่ำ )
1. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น )
2. วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ )
3. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร )
4. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ )
5. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง )
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5 (สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด เป็นไปแม้ในภพอันสูง )
6. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ )
7. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ )
8. มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ )
9. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน )
10. อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง )
วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564
วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2564
ความเป็นมิตรย่อมไม่มีในคนขั่ว : กลอนคติเตือนใจ
๏ คบคน ฉลพาล ไม่นานดอก..................................(ต้อง)โดนหลอก โดนโกงฯลฯ อย่าสงสัย
โดนเอาเปรียบ เหยียบย่ำ อยู่ร่ำไป......................คบมัน ทำไม ให้ป่วยการ?
๏ คนไร้ ศีลธรรม ความสุจริต...................................(แค่)ใกล้ชิด ชีวิตทุกข์ สิ้นสุขศานติ์
คอยก่อ เรื่องทราม ให้รำคาญ.............................เดือดร้อน บันดาล ผลาญสวัสดี
๏ ไร้ความ เป็นมิตร(ใน) มิจฉาหมู่.............................ผู้เห็น แก่ตน มนบัดสี
บ่เคย คิดสร้าง ความหวังดี..................................(เสีย)สละพลี เพื่อใคร ในสากล
๏ (การ)มองแค่ ด้านดี ของคนอื่น.............................สักวัน สิพานดื่น ขื่นขมผล
ด้านดี-ชั่วใด ในตัวคน.........................................มองให้ ถ้วนท้น ดลปัญญา
๏ อย่าคบ คนพาล(ชั่ว) คบบัณฑิต(ดี).......................ภาษิต พุทธศาสตร์ ปราญช์สิกขา
เรียนรู้ เหตุผล ดลพัฒนา.....................................ชีวา อยู่รอด อย่างปลอดภัย
๏ "คบใคร ก็ได้" ไม่(ใช่ความ)ฉลาด.........................สิพลาด ส่งผล สู่ตนไฉน
(เพราะการ)คบค้า สมาคม รมย์ร่วมใคร..................(อย่างน้อย)ย่อมรับ นิสัย ได้สันดาน(มาด้วย)
๏ แม้ขาด คนดี มีศีล(ธรรม)สบ................................พึงอยู่ อย่างสงบ ปรารภศานติ์
ไม่มี มิตรไซร้ (ชีวิต)ไม่กันดาร.............................แต่จะทุกข์ ทรมาน เพราะพาลมิตร
๏ คนชั่ว มากมี คนดีน้อย........................................โลกจึง ด่างพร้อย ด้อยสุจริต
หนทาง สว่างใส ใช้ชีวิต......................................บัณฑิต มักต้อง ท่องเดียวดายฯ
๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๔
หมายเหตุของผู้เขียน: ขึ้นชื่อว่าคนชั่ว ถึงจะเป็นลูกหลาน พ่อแม่ญาติพี่น้องฯลฯ ก็ไว้วางใจไม่ได้ คบไม่ได้
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
![]() |
[๑๒๒๓] ถ้าจะพึงได้สหายผู้มีปัญญา เป็นนักปราชญ์เที่ยวไปร่วมกัน ผู้มีปกติ อยู่ด้วยกรรมดี พึงครอบงำอันตรายทั้งปวงเสีย แล้วดีใจ มีสติเที่ยวไป กับสหายนั้น. [๑๒๒๔] ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา เป็นนักปราชญ์เที่ยวไปร่วมกัน ผู้มีปกติ อยู่ด้วยกรรมดี พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เหมือนพระราชาทรงสละ แว่นแคว้นเสด็จไปแต่พระองค์เดียว หรือเหมือนช้างมาตังคะเที่ยวไปใน ป่าแต่เชือกเดียว ฉะนั้น. [๑๒๒๕] การเที่ยวไปผู้เดียวประเสริฐกว่า เพราะคุณเครื่องความเป็นสหายย่อมไม่ มีในคนพาล ควรเที่ยวไปแต่ผู้เดียวแต่ไม่ควรทำบาป เหมือนช้างมาตังคะ มีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปในป่า ไม่ทำกรรมชั่ว ฉะนั้น.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
[199] อบายมุข 4 (ช่องทางของความเสื่อม, ทางที่จะนำไปสู่ความพินาศ)
1. อิตถีธุตตะ (เป็นนักเลงผู้หญิง, นักเที่ยวผู้หญิง)
2. สุราธุตตะ (เป็นนักเลงสุรา, นักดื่ม)
3. อักขธุตตะ (เป็นนักการพนัน)
4. ปาปมิตตะ (คบคนชั่ว)
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว : กลอนคติสอนใจ
๏ เด็กที่ ใส่ใจ ในการเรียน.......................................(ย่อมได้)ผลการ เรียนดี มีความรู้
คุณภาพ ชีวิต ความเป็นอยู่.............................ดีงาม ตามคู่ ความรู้ยล
๏ เด็กที่ ตั้งใจ ในการเล่น(ไร้สาระ)............................ว่างเว้น การเรียน ย่อมเปลี่ยนผล
อนาคต อดอยาก ลำบาก(ยาก)จน...................มืดมน หนทาง ย่างชีวี
๏ คนที่ ใส่ใจ ในศีลธรรม(ความดี)..............................น้อมนำ กำหนด บทวิถี
ไม่ทำ ความชั่ว มั่วราคี...................................ย่อมง่าย ได้ดี สุขีคราญ(คราญ=สวยงาม)
๏ ส่วนคน ใส่ใจ ในความชั่ว......................................เมามัว ชั่วช้า มนาหาญ
ทำตน ฉลกล้า อันธพาล................................ย่อมทุกข์ ทรมาน นิรันดร
๏ คนที่ ใส่ใจ ในหน้าที่(การงาน)...............................ฤดี วิริยะ อดิสร
(ย่อม)ชำนาญ งานทำ เลิศกำธร.....................อุตสาห์ คืออากร แห่งพรชัย
๏ กับคน เกียจคร้าน งานท้อแท้................................ย่ำแย่ แน่นอน สะท้อนได้
ผลลัพธ์ อับจน ล้นบรรลัย..............................หาใช่ เรื่องแปลก แตกต่างมี
๏ (คนที่)ดูแล รักษา สุขภาพ....................................(ย่อม)ได้ลาภ ประเสริฐ เลิศล้ำศรี
(ส่วน)คนไม่ รักษา สุขภาพ(ให้)ดี...................ย่อมมี โรคภัย (เจ็บป่วย)ไข้วนเวียน
๏ (ใครๆ)ย่อมดู รู้เห็น เป็นสัจจะ................................ธรรมะ หาได้ ให้ผลัดเพี้ยน
ไม่(อบรมสั่ง)สอน ลูกหลาน หมั่นพากเพียร.....มรดกให้ ก็เหี้ยน เตียนใช้เอยฯ
๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๔
วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564
จงมีตนเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นที่พึ่ง : กาพย์ยานี๑๑
๏ ลูกค้า มาซื้อของ.......................................มุ่งหมายปอง ต้องการผล(สำเร็จ)
โชคดี สิริมงคล......................................สุขสันติ์ล้น ท้นร่ำรวย
๏ ซื้อ(ของ)ไป ถวายพระ................................เป็นธุระ ทำพิธี(กรรม)ช่วย
เสริมดวง ลุล่วงทวย...............................สิ่งประสงค์ หลงใหลมี
๏ ก็เพราะ คนส่วนมาก....................................คิดแค่(มีความ)อยาก ประเสริฐศรี
อยากอยู่ ดีกินดีฯลฯ...............................แต่(คุณธรรม)ความดี มิกระทำ
๏ งานการ คิดคร้านเกียจ.................................กลับกระเดียด อยากรวยร่ำ
ฐานะ พสุต่ำ..........................................แต่ทำตน เช่นคน(มั่ง)มี(พสุ=ทรัพย์, สมบัติ, ความมั่งมี)
๏ มีความ สามารถน้อย...................................เอาแต่คอย (ให้)คนนั้นคนนี้
รัฐบาล ช่วยฉันที....................................(อยาก)มีกินใช้ ไม่ยากจน
๏ เหมือนคน ที่ล้นเลศ....................................ล้นกิเลส (แต่)ไร้เหตุผล
ไป่ตรอง มองตัวตน.................................(คือ)ต้นเหตุให้ (ชีวิต)ไม่พัฒนา
๏ มิใคร่ ใฝ่(หา)ความรู้....................................อดทนสู้ เพียรศึกษา
มิ มา นะอุตส่าห์......................................ทุ่ม(สติ)ปัญญา หาทำกิน(จะมีเงินได้ยังไง?)
๏ ไม่รัก การเก็บออม(เงินทอง)........................ฤาพรักพร้อม ล้อมทรัพย์สิน?(มีแต่หนี้สิน)
(หวัง)พึ่งพา(ผู้อื่น) จนชาชิน.....................ชีวินด้อย ต้อยต่ำเอยฯ**
๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๔
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
![]() |
คิลานสูตร ว่าด้วยมีตนเป็นเกาะ [๗๑๑] ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตเข้าเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เพราะไม่กระทำ ไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง เพราะดับเวทนาบางเหล่าแล้วอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมผาสุก เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ จง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด. [๗๑๒] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ดูกรอานนท์ ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะมีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล. [๗๑๓] ดูกรอานนท์ ก็ผู้ใดผู้หนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็น ผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศ.หมายเหตุผู้เขียน :
คำว่า " มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง " เป็นหลักคำสอน
แต่การนำไปใช้ ต้องเลือกวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันไป
เช่นพระภิกษุสงฆ์ พระพุทธเจ้าจะเน้นย้ำเรื่องทำสติปัฏฐาน๔ เป็นต้น
อย่าอ่านแล้วคิดเพียงผิวเผิน ว่าหลักธรรมนี้เป็นเรื่องของพระสงฆ์ ไม่เกี่ยวกับตัวเอง
หากใครคิดได้แค่นั้นก็น่าเสียดาย ที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่รู้จักการประยุกต์ใช้ธรรมะ
ศีลธรรมความดีมีคุณมาก : กลอนคติสอนใจ
๏ ศีลธรรม ความดี คือวินัย................................(อัน)สัปบุรุษ* สมัครใจ ใฝ่ตั้งมั่น
สร้างระเบียบ นิสัย ให้ชีวัน...........................มีกฎเกณฑ์ หลักกรรม์ สำคัญครอง
๏ มากกว่าแค่ เกื้อหนุน บุญกุศล........................ศีลธรรม(ความดี) นำทางคน พ้นมัวหมอง
(การ)เว้นว่างบาป หลาบชั่ว หัวใจกรอง.........คือครรลอง ผ่องแผ้ว แคล้วคลาดภัย
๏ ผู้ทำดี มีศีลธรรม ย่อมกำจัด...........................ผองไพรี พิบัติ อัชฌาศัย
มูลเหตุแห่ง อกุศล พ้นหทัย.........................ระวังระไว ไม่(ทำ-พูด)คิด ผิดศีลธรรม
๏ เสมือนเกราะ ป้องกัน อันวิเศษ.......................การกำจัด กิเลส ตัณหากล้ำ-
กรายฤดี มีผล ล้นเลิศล้ำ.............................ไคลวิโยค โศกซ้ำ ทุกข์กำจร
๏ ศีลธรรม ความดี พาพิพัฒน์...........................ยังให้คน ต่างสัตว์ สวัสดิสร
ใจสูงส่ง บ่งชี้ มิอาทร...................................ความยอกย้อน ซ่อนเร้น เห็นแก่ตน
๏ ศีลธรรม ความดี สร้างนิสัย............................แสนงดงาม อำไพ ไม่โฉดฉล
สุจริต กิจกรรม ล้ำวิมล..................................สาธุชน คนสัตย์ซื่อ ถือสัมมา(ปฏิบัติ)
๏ ทั้งต่อหน้า ลับหลัง ไม่สร้างภาพ....................คงความดี ศีลธรรมตราบ ดับสังขาร์
เปรียบดั่งลม หายใจ ให้ชีวา..........................มิทำเล่น เช่นมุสา หาคำชมฯ
๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๔
*สัปบุรุษ = คนดี, คนมีสัมมาทิฐิ, คนที่ตั้งอยู่ในศีลธรรม