ผลงานของชายคนหนึ่งซึ่งนอกจากตามหลักสูตรของโรงเรียนแล้ว ต้องเรียนรู้ศึกษาหาความรู้เอง ทั้งหลักธรรมและการประพันธ์ ชอบคิด-วิเคราะห์-สรุปบทเรียนใหม่เป็นประจำ แล้วบันทึกไว้เป็นบทกวีเพราะมิเช่นนั้นจะลืมบทเรียนเก่า คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง จึงโพสต์สู่สื่อสาธารณะ
ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน
สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้
วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
คติการบวชที่งมงาย(อายหมา) : กลอนคติเตือนใจ
คติการบวชที่งมงาย(อายหมา) : กลอนคติเตือนใจ
๏ วัฒนธรรม ประเพณี ที่สืบต่อ......................มากมาย กลายส่อ ก่อมิจฉา
สร้างเรื่อง หลอกลวง ปวงประชา....................ให้มา สั่งสม ความ(โง่)งมงาย
๏ เชื่อ(ว่า)มี อานิสงส์ ของการบวช................อ้างอวด เกื้อหนุน โชค-บุญหลาย
ล้างกรรม ล้างบาป สรรพภยันตราย.................สูญหาย ได้สิ้น ชวนยินดี
๏ โดยบ่ สืบหา ที่มา(ของความเชื่อ)ก่อน.........พุทธ(เจ้า)สอน ตอนไหน? พระไตร(ปิฎก)ชี้
(โดยเฉพาะ)บวชหวัง สร้างบุญ บารมี..............(เพื่อ)ได้ดิบ ได้ดี มีศรัทธา(ใครสอน?)
๏ *การบวช ไม่มี ความวิเศษ..........................บวช(เพื่อ)ตัด กิเลส เฉทตัณหา
กำจัด อุปธิ อวิชา........................................แสวงหา มรรคผล ดลนิพพาน
(พระพุทธเจ้าสอนแบบนี้)
๏ ไม่ใช่ อย่างเช่น เห็นประจำ..........................แสร้งทำ (รู้สึก)สำนึก ตรึกหลอกศาล
(บวช)อุทิศ ส่วนบุญ หนุนวิญญาณ..................ขอศาล เมตตา อาญาเบา(ลดโทษที่ทำคนตาย)
๏ บวชก่อน แต่งงาน คนพาลคิด(ได้ไง?)............บวชเลี้ยง ชีวิต(บวชหาเงิน) มิจฉาเขลา
(บวชก่อนเบียด)
ประกาศ เอิกเกริก บวชเลิกเหล้า.....................เลิกยา(เสพติด) พระเมา บวชเข้าไป
(แล้วก็ไปเสพยาฯต่อขณะเป็นพระ)
๏ กตัญญู พ่อแม่ อย่าแห่บวช...........................(ควร)เข้มงวด กวดขัน สิ่ง(ที่ท่าน)ฝีนใฝ่
ปรนนิบัติ ดูแล จนแก่ไกร...............................ทำดี มิเหลวไหล (ออก)นอกลู่(นอก)ทาง
๏ อย่าทำ ให้วัด ล้นบัดสี.................................(สร้างความ)ชั่วจน คนดี มิเหยียบย่าง
บิดเบือน ศาสนา(พุทธ) (มืด)มัวฝ้าฟาง.............สิ้นแสง สว่าง ส่องสังคม(ไทย)ฯ
๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘
-*พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาตคหบดี หรือบุตรคหบดีผู้เกิดภายหลังในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ฟังธรรมนั้นแล้ว ได้ศรัทธาในตถาคต ได้ศรัทธาแล้วพิจารณาเห็นว่า ‘ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมา แห่งธุลี บรรพชาปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้อยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ที่ขัดแล้วนี้ มิใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรจะ ปลงผม และหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’ สมัยต่อมา เขาได้ละกองโภคทรัพย์น้อยใหญ่ เครือญาติน้อยใหญ่แล้ว ปลงผม และหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ เสมอด้วยภิกษุทั้งหลาย ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความ เอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือ รับเอาแต่ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่ เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่ เป็นผู้ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่าง ไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำ เป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอก ฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลาย ฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วย ประโยชน์เหมาะแก่เวลา
ภิกษุนั้นเป็นผู้เว้นขาดจากการพรากพีชคามและภูตคาม ฉันมื้อเดียว ไม่ฉัน ตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของหอม และเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่ง การแต่งตัว เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่ เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้นขาด จากการรับธัญญาหารดิบ เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการรับสตรีและ กุมารี เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา เว้นขาดจาก การรับเรือกสวนไร่นาและที่ดิน เว้นขาดจากการรับทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร เว้นขาดจากการซื้อขาย เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วย เครื่องตวงวัด เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง เว้นขาด จากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และการขู่กรรโชก ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกาย และบิณฑบาตพออิ่มท้อง จะไป ณ ที่ใดๆ ก็ไปได้ทันทีเหมือนนกบินไป ณ ที่ใดๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ ภิกษุนั้นผู้ ประกอบด้วยอริยสีลขันธ์อย่างนี้ ชื่อว่าเสวยสุขอันไม่มีโทษภายใน ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมในจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)และโทมนัส(ความทุกข์ใจ)ครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวม ในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะ ทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมใน มนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ โทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุนั้นผู้ประกอบ ด้วยอริยอินทรียสังวรอย่างนี้ จึงชื่อว่าเสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสภายใน ภิกษุนั้นเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การ เหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร และอริยสติสัมปชัญญะ อย่างนี้แล้ว พักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าทึบ ที่แจ้ง ลอมฟาง ภิกษุนั้นไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี ก็นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ภิกษุนั้นละอภิชฌาในโลก แล้วมีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากอภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูล สรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ(ความ หดหู่และเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระ จิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) เป็นผู้ไม่ ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจะกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา.......
วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2568
วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2568
วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2568
ทักษะชีวิตพิชิตอุปสรรค : กลอนคติสอนใจ
“—รู้สึกเจ็บใจที่ถึงตรุษจีนทีไร เจ๊กปิดร้านขายของหมด หมูก็ไม่มีกินกับข้าวก็ไม่มีขาย
เป็นเพราะคนไทยชอบแต่สบาย ทำราชการ ไม่รู้จักหัดทำมาค้าขายกับเขาบ้าง—”
... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.silpa-mag.com/quotes-in-history/article_6047
ทักษะชีวิตพิชิตอุปสรรค : กลอนคติสอนใจ
๏ ทักษะ=ความรู้ ความเชี่ยวชาญ*..................ของการ กระทำ นำสู่ผล-
สำเร็จ ชีวี งามวิมล....................................อันคน ไม่มี (เพราะ)มิใส่ใจ
๏ ทักษะ ยั่งยืน ขั้นพื้นฐาน...........................ของการ โลกา อยู่อาศัย
(คือ)สามารถ อยู่รอด อย่างปลอดภัย.............และไม่ มีทุกข์ ทรมาน์
๏ สุขภาพ กาย-ใจ ให้สำคัญ.........................เป็นอัน ดับต้น(ๆ) พึงหนหา(หน=ทาง, ทิศ)
สุขภาพ ที่ดี มีคุณค่า..................................ยิ่งกว่า โชคลาภ ทรัพย์สินใด(ๆ)
๏ ทักษะ ในการ สื่อสารสุด-..........................ยอด,มนุษย์ สัมพันธ์ เชี่ยวชาญไข
เลิศล้ำ อำนวย ช่วยเอื้อให้...........................สุขะ อาศัย ในสังคม
๏ ทักษะ การคิด วิจารณญาณ.......................บันดาล บรรลุ อุกฤษณ์สม
ทัศน(ะ) คติ งามวิกรม...............................พาสู่ ความอุดม สมฤทัย
๏ ทักษะ ทำมา รู้(จัก)หากิน..........................(คือ)วิถี ชีวิน สินทรัพย์ไหล(มาเทมา)
(อยาก)มีอยู่ มีกิน มิสื้นใช้(ใช้ไม่หมด)...........อย่าไร้ ทักษะ อาชีวะ
๏ ทักษะ ศึกษา และเรียนรู้............................ประเสริฐ เชิดชู บูรณะ
ให้(เป็นคน)เก่ง ให้(เป็นคน)ดี มีสุขะ..............พัฒนะ เจริญ ดำเนินชัย
๏ (จะมี)ทักษะ ต้องเพียร พร่ำเรียนรู้................ฝึกฝน จนสู่ รุจิใส
(รุจิ=แสง,ความรุ่งเรือง,ความงาม)
ไม่ว่า จะกระทำ (กิจ)กรรมอะไร.....................ล้วนต้องใช้ ทักษะ+มานะเอยฯ
๒๙ มกราคม ๒๕๖๘
*รวมเรียกว่า ทักษะในการดำเนินชีวิต
วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2568
การกระทำสำคัญกว่าความ(แค่)รู้
การกระทำสำคัญกว่าความ(แค่)รู้ : กลอนคติสอนใจ
๏ มหา(เปรียญ) มาถาม เรื่องทำบุญ..............ว่าคุณ(ทำบุญด้วยการ) สวดมนต์ ท่องบทไหน?
(พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนว่าสวดมนต์จะได้บุญ)
ตอบว่า ก็เลี้ยง แมววัดไง............................ทุกวัน(เช้า-เย็น) ทำไป ไม่ละเลย
๏ มหา พาที นี่คือทาน................................พรหมวิหาร ทั้ง ๔ คลี่เฉลย
สอนธรรม (มะ)คล่อง ท่อง(จำ)คุ้นเคย...........เปิดเผย ว่า(มีความ)รู้ แต่ไม่ทำ
๏ แมวหมา ที่เขา เอามาทิ้ง(วัด)....................พระชิง ชังใส่ ไม่อุปถัมภ์
ลูกแมว ลูกหมา ตาดำๆ..............................จุนค้ำ ชีวาตม์ โดยญาติโยม
(เอาอาหารไปเลี้ยงแมวหมาในวัด ยังถูกพระว่าทำให้วัดสกปรก)
๏ ให้ศีล สอนธรรม ตามพิธี...........................ทำที คึกคัก เหมือนหักโหม(พูดจริงทำจริง)
(ทั้ง)ผู้ให้ ผู้รับ มิซับโซรม............................สังคม โรมลาม ความอัปรีย์(โซรม=ช่วยกัน)
๏ ใส่ใจ การเรียน อย่าเพียรเล่น......................เด็กต่าง รู้เห็น เช่นวิถี
ผู้ใหญ่ สอนสั่ง หวัง(เด็ก)ได้ดี.......................แต่มี (เด็ก)กี่คน สนใจทำ?(ส่วนใหญ่เอาแต่เล่น)
๏ ใครไม่ รู้ว่า อย่าทุจริต?..............................(แต่)ใครคิด จริงจัง มิย่าง(ล่วง)ถลำ
กฎระเบียบ วินัย ใครใคร่จำ?..........................(ชอบ)ล่วงล้ำ กล้ำเกิน ดำเนินลาญ(ละเมิดกฎ)
๏ ปัญหา สภาวะ สิ่งแวดล้อม..........................สุมห้อม ชีวิต วิกฤติผลาญ
ต่าง(ก็)รู้ ทั่วไป (แต่)ไม่ต้องการ.....................กล้าหาญ ปฏิบัติ ตัดต้นตอ
๏ การกระทำ สำคัญ กว่าความ(แค่)รู้................มีผู้ ใส่ใจ เท่าไรหนอ?
สันดาน มนุษย์ สุดบ้าบอ...............................(เหมือน)คดในข้อ งอใน หทัยเอยฯ
๒๕ มกราคม ๒๕๖๘
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๕. พาลวรรค หมวดว่าด้วยคนพาล ๑. อัญญตรปุริสวัตถุ เรื่องชายคนใดคนหนึ่ง (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระเจ้าปเสนทิโกศล และชายคนหนึ่ง ดังนี้) [๖๐] ราตรีหนึ่ง ยาวนานสำหรับคนผู้ตื่นอยู่ ระยะทางโยชน์หนึ่ง ยาวไกลสำหรับคนผู้เมื่อยล้า สังสารวัฏยาวนานสำหรับคนพาลผู้ไม่รู้แจ้งสัทธรรม
๒. มหากัสสปสัทธิวิหาริกวัตถุ เรื่องสัทธิวิหาริกของพระมหากัสสปเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุผู้อยู่ในกรุงราชคฤห์ ดังนี้) [๖๑] หากบุคคลเที่ยวหาคนดีกว่าตน หรือเสมอกับตนไม่ได้ ก็ควรถือการเที่ยวไปคนเดียวให้มั่นคง เพราะจะหาความเป็นเพื่อนในคนพาลไม่ได้เลย๓. อานันทเสฏฐิวัตถุ เรื่องอานันทเศรษฐี (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่เศรษฐีชื่อมูลสิริบุตรของอานันทเศรษฐี ดังนี้) [๖๒] คนพาลย่อมเดือดร้อนว่า “เรามีบุตร เรามีทรัพย์” แท้จริง ตัวตนก็ไม่มี บุตรและทรัพย์จักมีแต่ที่ไหน๔. คัณฐิเภทกโจรวัตถุ เรื่องโจรผู้ทำลายปม (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่โจรผู้ทำลายปมและชนทั้งหลาย ดังนี้) [๖๓] คนพาลที่รู้ตัวว่าเป็นคนพาล ยังเป็นบัณฑิตได้บ้าง แต่คนพาลที่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต นั่นแหละ เรียกว่า คนพาลแท้
๕. อุทายิเถรวัตถุ เรื่องพระอุทายีเถระ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๖๔] คนพาล แม้จะอยู่ใกล้บัณฑิตชั่วชีวิต ก็ไม่รู้แจ้งธรรม เหมือนทัพพีไม่รู้รสแกง ฉะนั้น๖. ปาเฐยยกภิกขุวัตถุ เรื่องภิกษุชาวเมืองปาฐา (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๖๕] วิญญูชน แม้จะอยู่ใกล้บัณฑิตเพียงชั่วครู่ ก็รู้แจ้งธรรมได้ฉับพลัน เหมือนลิ้นรู้รสแกง ฉะนั้น๗. สุปปพุทธกุฏฐิวัตถุ เรื่องนายสุปปพุทธะผู้เป็นโรคเรื้อน (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๖๖] คนพาลผู้มีปัญญาทราม ทำตนให้เป็นดุจข้าศึก เที่ยวทำบาปกรรมที่ให้ผลเผ็ดร้อน.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)