ผลงานของชายคนหนึ่งซึ่งนอกจากตามหลักสูตรของโรงเรียนแล้ว ต้องเรียนรู้ศึกษาหาความรู้เอง ทั้งหลักธรรมและการประพันธ์ ชอบคิด-วิเคราะห์-สรุปบทเรียนใหม่เป็นประจำ แล้วบันทึกไว้เป็นบทกวีเพราะมิเช่นนั้นจะลืมบทเรียนเก่า คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง จึงโพสต์สู่สื่อสาธารณะ
ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้
วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
ปัญหาของการ"ไม่รักดี-ไม่มีศีลธรรม" : กลอนคติเตือนใจ
ปัญหาของการ"ไม่รักดี-ไม่มีศีลธรรม" : กลอนคติเตือนใจ
๏ คน(บ่น)เครียด เกลียดดู รู้ข่าวสาร.....................รำคาญ บ้านเมือง เฟื่องปัญหา
เหมือนคิด ปิดหู และปิดตา...............................เดินฝ่า ประจญ หนทางภัย
๏ (หาก)เยาวว์วัย ไม่ขยัน การศึกษา.....................เติบใหญ่ ไม่ปรารถนา (ทำมา)หากินใคร่
เกียจคร้าน งานประจำ (ทำ)เล่นตามใจ...............หลงใหล อบายมุข คอยคลุกคลี
๏ (ทำงาน)เช้าชาม เย็นชาม คือความชอบ.............ลักลอบ(ขโมย) ทุจริต(โกง) ผิดวิถี
ทำงาน คร้านตั้งใจ ทำให้ดี(ทำแค่พ้นๆไป)..........ไม่มี ความทุ่มเท(ให้ส่วนรวม)-เห็นแก่ตน
๏ ใช้เงิน เกินตัว ไม่กลัว(เป็น)หนี้..........................ไม่มี นิสัย ใฝ่(เก็บ)ออมผล
งมงาย ไสยศาสตร์ มัดกระมล.............................ความลำบาก ยากจน คือหนทาง(ที่ต้องเผชิญ)
๏ ศีลธรรม อำไพ บ่ใยดี........................................แม้มี พุทธธรรม (ส่อง)นำแสงสว่าง
(แต่)ไม่เอา ใส่ใจ (สติปัญญาย่อม)ไร้เลือนลาง.....ดวงตา ฝ้าฟาง ทาง(อนาคต)มืดมน
๏ แก้ปัญหา อะไร ไม่ได้ดอก.................................หาก(คนส่วนใหญ่)ยัง กลิ้งกลอก-หลอกลวง-ฉล
ชาติใด "(ความ)ใฝ่ชั่ว" พัวพันชน........................หนีไม่พ้น อนธการ พันธนา
๏ (เมื่อ)สมาชิก ส่วนใหญ่ "ไม่รักดี"........................สังคม ย่อมมี แต่ปัญหา
เมื่อประ ชาชน ฉลชั่วช้า......................................ประเทศชาติ (จะ)พัฒนา อย่าฝันไป
๏ (เมื่อ)เศรษฐกิจ-การเมือง-การศึกษาฯลฯ.............(มี)ปัญหา เยอะแยะ แก้ไม่ได้(สักที)
ต้นเหตุ ปัญหา คืออะไร?.....................................เพราะคน(ส่วนใหญ่) "เหลวไหล-ไม่รักดี"ฯ
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
พุทธศาสนาจะอยู่ที่ไหน? : กลอนคติเตือนใจ
พุทธศาสนาจะอยู่ที่ไหน? : กลอนคติเตือนใจ
๏ พระกระเทย นำพระวัด จัดดอกไม้.....................ดูคลับคล้าย งานแต่ง สำแดงผล
ซุ้มประตู ดอกกุหลาบ ประดับยล.......................ดอกไม้ดื่น อื่นท้น วน(รอบ)เวที
๏ พื้นพิลาส พาดพรม ผสมผสาน(ลวดลาย)..........อลังการ เก้าอี้หลุยส์ ฉุยฉายสี
ผ้าแพรมัด จัดโยง บรรจงดี...............................เสมือนมี งานวิวา หะมงคล
๏ เต้นท์(น้ำ)ปานะ ขนาบ (เต้นท์)รับบริจาค............เต้นท์หลายหลาก ตั้งชิด ปิดถนน(ในวัด)
พระ-เณรหลาม คล่ำคลา(คลาคล่ำ) ประชาชน.....ชวนฉงน สนเท่ห์ เหตุใด?
(เหตุ อ่าน เห-ตุ มุขขำๆที่เด็กชอบพูดเล่น)
๏ (เดินดู)จึงเห็นป้าย ประกาศ งาน(ฉลอง)พัดยศ.........(รู้สึก)อัปยศ อดสู พระผู้ใหญ่
แนวประพฤติ ปฏิบัติ ถนัดใจ...................................เผยหลงใหล โลกีย์ อวิชา(อวิชชา)
๏ ลาภ-ยศ-สรร เสริญ-สุข คือทุกสิ่ง............................มัดใจยิ่ง มิ่งมาด ปรารถนา
เปรียญธรรม มิทำให้ ได้(สติ)ปัญญา........................รักวิถี ชีวา (สุขสบายแบบ)คหบดี
๏ (ใช้)ของแพงโปรด รถหรู กุฏิใหญ่ฯลฯ.....................ล้วนทำให้ ไกลห่าง กลางวิถี(ทางสายกลาง)
(การ)ปฏิบัติตาม ธรรมวินัย ไร้ฤดี(ไม่มีใจ).................ทำทุกอย่าง อ้างประเพณี วิถีไทย(ไม่ใช่ธรรมวินัย)
๏ พระทำ(ตัว)ราว ชาวบ้าน รกตัณหา..........................แล้วพุทธ(ะ) ศาสนา จะอยู่(ที่)ไหน?
วัดตั้งหน้า(ตั้งตา) หาเงิน เพลิดเพลินใจ...................เป็นธุรกิจ ผิดวิสัย(พุทธ)....(จึง)ไม่ศรัทธา
๏ พระไตรปิฎก ยกยอ พิเคราะห์อ่าน..........................ประดิษฐาน วิสุทธิ์ พุทธศาสนา
ณ กลางดวง หฤทัย ให้วัฒนา..................................ด้วยปฏิบัติ บูชา สาธุเอยฯ
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๗
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ชันตุสูตรที่ ๕ [๒๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง ภิกษุเป็นจำนวนมากอยู่ในกุฎีอันตั้งอยู่ในป่าข้างเขาหิมวันต์ แคว้นโกศล เป็นผู้ฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่ง โอนเอน ปากกล้า วาจาสามหาว มีสติ ฟั่นเฟือน ขาดสัมปชัญญะ ไม่มั่นคง มีจิตคิดนอกทาง ประพฤติเยี่ยงคฤหัสถ์ ฯ [๒๙๔] วันหนึ่งเป็นวันอุโบสก ๑๕ ค่ำ ชันตุเทพบุตรเข้าไปหาพวกภิกษุ เหล่านั้นถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจึงได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นด้วยคาถาทั้งหลายว่า ครั้งก่อน พวกภิกษุผู้เป็นสาวกพระโคดม เป็นอยู่ง่าย (เลี้ยง ง่าย) ไม่เป็นผู้มักได้แสวงหาบิณฑบาต ไม่มักได้ที่นอน ที่นั่ง ฯ ท่านรู้ว่าสิ่งทั้งปวงในโลกเป็นของไม่เที่ยง กระทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้ ฯ ส่วนท่านเหล่านี้ ทำตนให้เป็นคนเลี้ยงยากเหมือนชาวบ้านที่ โกงเขากิน กินๆ แล้วก็นอน เที่ยวประจบไปในเรือนของ คนอื่น ฯ ข้าพเจ้าขอทำอัญชลีต่อท่าน ขอพูดกะท่านบางพวกในที่นี้ว่า พวกท่านถูกเขาทอดทิ้ง หมดที่พึ่ง เป็นเหมือนเปรต ฯ ที่ข้าพเจ้ากล่าวนี้หมายเอาบุคคลจำพวกที่ประมาทอยู่ ส่วน ท่านพวกใดไม่ประมาทอยู่ ข้าพเจ้าขอนมัสการท่านพวกนั้น ฯ
วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ ‘สังคมคนโสด’ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Y และ Gen Z
วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
กรงขังแห่งสังสาร : กาพย์ยานี๑๑
กรงขังแห่งสังสาร : กาพย์ยานี๑๑
๏ วัยเยาว์* เคยเฝ้าเมียง..................................นกถูกเลี้ยง ในกรงขัง
ดูมี (ความ)สุขดีจัง....................................เป็นเหมือนดั่ง มิรู้ตัว
๏ (ว่า)อิสระ เสรีไร้.........................................ถึงภายใน กรงพร้อมทั่ว(อาหาร,ที่นอนฯลฯ)
เภทภัย ไม่พันพัว......................................บินเล่นหัว ครอบครัวเคียง
๏ คิดเทียบ เปรียบกับคน................................แม้อยู่บน โลกใหญ่เยี่ยง
(ท่างกลาง)จักรวาล อันกว้าง(ไกล)เพี้ยง......คนเคียงคล้าย นกในกรง(แคบๆ)
๏ เติบใหญ่** ได้ศึกษา...................................พุทธศาสนา ลดละหลง(อวิชชา)
จึงได้ เข้าใจตรง........................................การเวียนว่าย ตาย-เกิดมี
๏ เปรียบไป ไม่ต่างกรง...................................ขังเราคง (อยู่กับ)สงสาร(วัฏ)วิถี
ทุกข์โศก โรค-ไพรีฯลฯ...............................ไร้สิ้นสุด ดุจนิรันดร์
๏ คนหนอ บ่ต่างนก(ในกรง).............................ไป่ตระหนก ตระหนักหัน
(ไม่)เห็นภัย ในวัฏฏ์อัน................................ขวางกั้นอิส (สะ)ระเสรี
๏ นกอยาก อยู่ในกรง.......................................เหมือนคนหลง ไหลโลกนี้
อยากกลับ มาเกิดมี.....................................ชีวิตต่อ บ่อยากตาย
๏ คำสอน พุทธศาสนา.....................................(วัฏ)สังสารา คะนึงหมาย
หลุดพ้น (การ)วนเวียนว่าย............................(การเกิด)แก่-เจ็บ-ตาย ให้สิ้น(สุด)เอยฯ
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๗
*ผู้เขียนคิดเรื่องนกในกรง ตอนมีอายุ 13 ปี
**ผู้เขียนเริ่มอ่านพระไตรปิฎก ตอนอายุ 19 ปี
วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
เลือกคู่=เลือกชีวิต : กลอนคติเตือนใจ
๏ (ก่อน)เลือกคู่ ดูให้ดี...................................คนอัปรีย์ มิคบหา
เมินเมียง เพียงหน้าตา..............................(สมบัติ)ทรัพยา ยศใหญโตฯลฯ
๏ (เพราะ)ไม่เพียง นอนเคียงข้าง....................กิจกรรม(ร่วม)สร้าง อย่างอักโข
ร่วม(รับ)ผล ล้นเดโช................................ดี-ชั่วโผ ผันชีวี
๏ ลูกไม้ (ย่อมหล่น)มิไกลต้น..........................ลูกหลานยล(เอาเยี่ยงอย่าง) ดลวิถี
อัชฌาสัย ได้ชั่ว-ดี....................................มีแม่-พ่อ ก่อสันดาน
๏ (หวัง)อยากพึ่ง ยามเฒ่าแก่.........................ผู้(เป็น)พ่อแม่ แลลูกหลาน
ต้องมี ธรรมาภิบาล...................................เป็นแก่นสาร มาน-หทัย
๏ สำนึก (ผิด)ชอบ-ชั่ว-ดี................................มุ่งมั่นมี สืบนิสัย
ศีลธรรม จำใส่ใจ......................................ประพฤติง่าย ไม่คลอนแคลน
๏ คุณธรรม ความสุจริต..................................คู่ความคิด นิมิตแม้น
พิทักษ์ ให้หนักแน่น..................................เสมือนแก่นสาร ชวาลชนม์
(ชวาล=ความรุ่งเรือง,ความสว่าง)
๏ (พ่อแม่)ไม่สอน เหมือนสอนให้....................ลูก(หลาน)จัญไร ใจโฉดฉล
(เพราะ)ธรรมชาติ สัตว์กระมล.....................ล้วนเหลือล้น สัญชาตญาณ(สัตว์ดิบเถื่อน)
๏ สังคม สิ่งแวดล้อม.....................................อบาย(มุข)ห้อม ล้อมลูกหลาน
ปกป้อง ต้อง(เริ่ม)ที่บ้าน ............................พระ-(ครู)อาจารย์ พึ่งไม่ได้เลยฯ
(อย่าหวังพึ่งพระ-ครู เพราะการอบรมสั่งสอนลูกหลานเป็นหน้าที่ของพ่อแม่)
๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๗
วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
ทางโลก ≠ ทางธรรม : กลอนคติเตือนใจ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiLglQExQrxZcwVegT5yYEwKWXsnxZXJ5HCq7O10ZxmLTSmLHa6PFFDykd7a_PQI7ngQ0PzjrnZyaZoEYHfFJQPtDoixbsGsd86hi5nYviAOwadnE6Di63HYO51j3Aa0F84TN9gcuvR98A3_gW6gwIqSqytMceBO5ORGARHoevx_j-cm0nakCmB2nzoYzvk/w423-h217/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%AE%E0%B8%B2.jpg)
๏ นี่คือผล (การ)มิสนใจ พระไตรปิฎก..................เทศนา ตลกๆ ฮายกใหญ่
สนุกสนาน หรรษา หฤทัย-............................ชาวบ้านผูก ถูกใจ ใคร่ศรัทธา
๏ ละเลยธรรม (มะ)วินัย (ทำ)ตามใจชอบ.............ปราศจากกรอบ ครอบกาย-(วาจา)-ใจ ไตรสิกขา
อวดอ้างตน ล้นเด่น เป็น(พระ)พัฒนา..............อนิจจา การประพฤติ ยึดโลกีย์*
๏ สมณะ วิสัย** ไม่รู้จัก......................................ผูกพัน-รัก โลกวิสัย ใคร่สุขี
ยังหลงตน ล้นอัตตา (กู)เป็นพระดี..................(ทั้งๆที่)ไม่ประสี ประสา มิละอาย
๏ ปากนักบวช อวดตน (เป็น)คนสมถะ..................(แต่)ไม่ลดละ รับเงิน เชิญถวาย(ให้กูมากๆ)
กูจะได้ ใช้-ทำ-สร้างฯลฯ อย่างมากมาย...........ดูเป้าหมาย คล้ายเลิกรา พระนิพพาน
๏ ทางสายกลาง ห่างเหิน (ชอบ)เดินสายเทศน์......ทั้งๆที่ ล้นกิเลส เหตุสังสาร(วัฏ)
คนไม่รู้ บูชา เรียก"อาจารย์"............................ถวายยาน พาหนะ ราคาแพง(กูต้องฝืนนั่ง)
๏ ของไม่ดี(ไม่แพง) มิควรใคร่ ถวายพระ...............ฟังพูดจา ฉะฉาน หาญกำแหง
ต้องถวาย ของดี(มีราคา) วจีแจง.....................เพื่อแสดง ศรัทธา ว่าตามกัน
๏ บริขาร๘ สำมะหา ล้าสมัย................................พระเดี๋ยวนี้ นิยมใช้(สิ่งของ) ตามใจฉัน
ของแบรนด์เนม ไขว่คว้า มาประชัญ.................ยุญาติโยม โหมหรรษ์ แบ่งปันทุน(ร่วมบริจาคเงิน)
๏ ไม่เคยพบ(เห็น) พระดี เพราะกิเลส...................พบ(เห็น)แต่เปรต เวทนา พาลสถุล
เรื่องเงินทอง ของแพง แฝงทำบุญ..................ไม่เกิ้อหนุน (พุทธ)ศาสนา เจริญรุ่งเรืองฯ(อย่าถวายพระ-วัด)
๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๗
*โลกีย์=เกี่ยวกับโลก, ทางโลก, ธรรมดาโลก, ตรงข้ามกับโลกุตระ, เช่นโลกิยธรรม
**สมณวิสัย มีความหมาย 2 นัย คือ
(1) โลกของสมณะ คือการครองชีวิตตามแบบของนักบวช หรือกรอบขอบเขตที่นักบวชจะพึงประพฤติปฏิบัติหรือไม่ควรประพฤติปฏิบัติ ทั้งนี้เป็นไปตามกฎหรือหลักการที่ศาสนานั้นๆ กำหนดไว้ ถ้าปฏิบัติตามกรอบก็เรียกว่า อยู่ในสมณวิสัย ถ้าออกนอกกรอบ คือทำสิ่งที่สมณะไม่พึงทำ ก็เรียกว่า ผิดสมณวิสัย (2) ความสำนึกว่าเป็นสมณะ คือความรู้สึกตัวได้ด้วยตนเองว่า บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว อาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ ถ้ามีความรู้สึกตัวดังนี้ก็เรียกว่า มีสมณวิสัย(https://dhamtara.com/?p=4615)
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. สมณสัญญาวรรค หมวดว่าด้วยสมณสัญญา๑- ๑. สมณสัญญาสูตร ว่าด้วยสมณสัญญา [๑๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สมณสัญญา ๓ ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วย่อมให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์ สมณสัญญา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ สมณสัญญาว่า ๑. เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์ ๒. ชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๓. มารยาทอย่างอื่นที่เราควรทำมีอยู่
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรคธัมมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒ ตถาคตสูตรที่ ๑ ทรงแสดงพระธรรมจักร [๑๖๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด ๒ อย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ ส่วนสุด ๒ อย่างนั้นเป็นไฉน? คือ การประกอบตนให้ พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบความลำบากแก่ตน เป็นทุกข์ ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ ๑ ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุด ๒ อย่างเหล่านี้ อันตถาคต ได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางนั้น ... เป็นไฉน? คือ อริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ ซึ่งได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพ ชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจมั่นชอบ ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางนี้แล อันตถาคตได้ตรัสรู้ แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อ นิพพาน.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต ๑๐. อนุรุทธสูตร ...........ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึก มหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในการนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ในกาลใดแล เธอ จักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุ จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้มีปรกติได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่ง ฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุล จีวรจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่หวาดเสียว ด้วย ความอยู่เป็นสุข ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนหีบใส่ผ้าของคฤหบดี หรือบุตรแห่งคฤหบดี อันเต็มไปด้วยผ้าสีต่างๆ ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใด แล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน ปัจจุบัน ในกาลนั้น โภชนะ คือ คำข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง จักปรากฏแก่เธอผู้ สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนข้าวสุก (หุงจาก) ข้าวสาลี คัดเอาดำออกแล้ว มีแกงและกับหลายอย่าง ของคฤหบดีและบุตรแห่งคฤหบดี ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และ จักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิต ยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น เสนาสนะ คือ โคนไม้ จัก ปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเรือนยอด ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี ฉาบทาไว้ดีแล้ว ปราศจากลม ลงลิ่มสลักมิด ชิด ปิดหน้าต่างสนิท ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริส- *วิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ที่นอน ที่นั่งอันลาดด้วยหญ้า จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนบัลลังก์ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี อันลาดด้วยผ้าโกเชาว์ขน ยาว ลาดด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยผ้าสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดี ทำด้วยหนังชะมด มีเครื่องลาดเพดานแดง มีหมอนข้างแดงสองข้าง ฉะนั้น ดูกร อนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า จักปรากฏ แก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเภสัชต่างๆ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี ฉะนั้น ฯ......