ผลงานของชายคนหนึ่งซึ่งนอกจากตามหลักสูตรของโรงเรียนแล้ว ต้องเรียนรู้ศึกษาหาความรู้เอง ทั้งหลักธรรมและการประพันธ์ ชอบคิด-วิเคราะห์-สรุปบทเรียนใหม่เป็นประจำ แล้วบันทึกไว้เป็นบทกวีเพราะมิเช่นนั้นจะลืมบทเรียนเก่า คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง จึงโพสต์สู่สื่อสาธารณะ
ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้
วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2567
วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2567
วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2567
วันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2567
ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลก : กลอนคติสอนใจ
ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลก : กลอนคติสอนใจ
๏ เมฆบาง พรางสี สุริยน.............................หยาดฝน หล่นริน แผ่นดินหนาว
ย่างปลาย มกราฯ นภาพราว......................ยามเช้า หนาวลม สมประดี
๏ แนวโน้ม ลมหนาว เฝ้าสอดส่อง................จะได้ ไม่ต้อง พร่องวิถี
แพรพรรณ สรรหา หุ้มกายี........................สุขี ชีวัน บันดาลดล
๏ แนวโน้ม สถานการณ์ วันข้างหน้า...............รู้ไว้ ใช่ว่า พาสับสน
ก่อเกิด ปัญญา ตระเตรียมตน....................ประจญ ปัญหา รู้ระวัง
๏ สังคม สูงวัย ภายภาคหน้า.........................อัตรา ประชากร ลดทอน ; รั้ง
เศรษฐกิจ ชะลอตัว ทั่วโลกดัง...................รู้ฟัง รู้เห็น เป็นสัญญาณ(ปัญหา)
๏ กระแส สงคราม ลุกลามเร่ง......................กลัวเกรง วิกฤต ชีวิตผลาญ
ทอนสุข ทุกข์เสริม เพิ่มทะยาน.................ประจาน ปัญญา ประสาคน
๏ กิเลส ตัณหา พามืดบอด..........................สืบทอด สัตว์พันธุ์ อันโฉดฉล
ความสุข สวัสดี เพริศพิมล.......................ขัดสน บนความ เป็นธรรมดา(ของโลก)
๏ ศรัทธา ของคน ท้นไสยศาสตร์.................(แต่)ประกาศ เป็นพุทธ (ธะ)ศาสนา
กิจกรรม มากมาย ในวัดวา........................มักขัด ศาสดา ธรรมวินัย
๏ วัฏฏะ สงสาร (ปรากฏแล้ว)ในวันนี้.............บ่รั้ง รอรี อายุขัย(อายุขัย=การสิ้นอายุ,ความตาย)
การเกิด (ของ)ความทุกข์ ซุกซอนใจ..........จงใคร่ ครวญคิด พิชิต(ดับทุกข์)เทอญฯ
๒๕ มกราคม ๒๕๖๗
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
๒. มาณวปัญหา ว่าด้วยปัญหาของมาณพ ๑๖ คน ๑. อชิตมาณวปัญหา๑- ว่าด้วยปัญหาของอชิตมาณพ [๕๗] (ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้) โลกถูกอะไรเล่าหุ้มห่อไว้ เพราะเหตุไรเล่า โลกจึงไม่สดใส ขอพระองค์โปรดตรัสบอกว่า อะไรเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้นไว้ อะไรเล่า เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น (๑) [๕๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อชิตะ) โลกถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้ โลกไม่สดใสเพราะความตระหนี่และความประมาท เราเรียกความอยากว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น (๒) .........ฯลฯ.........
วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2567
ตามกระแส-ทวนกระแส : กลอนคติสอนใจ
ตามกระแส-ทวนกระแส : กลอนคติสอนใจ
๏ การทำมา หากิน ต้องดิ้นรน.............................ตั้งกมล ทนทำ ตามกระแส
จับตา สถานการณ์ ผันผวนแปร........................แน่วแน่ แก้ล่วง ทันท่วงที
๏ จับกระแส แฟชั่น อย่างมั่นเหมาะ.....................สืบเสาะ เจาะใจ อย่าหน่ายหนี
(จึง)จะร่ำรวย เงินทอง คล่องขายดี...................เป็นอยู่ สุขี ชีวันแล
๏ แต่เรื่อง ทำดี มีศีลสัตย์...................................(จง)ยืนหยัด อย่าเรรวน ทวนกระแส
ใครจะชั่ว ก็ช่าง ยับยั้งแด................................แน่วแน่ จิตใจ ใฝ่หลักธรรม
๏ ค้าขาย ให้ทำ ตาม(ใจ)คนซื้อ..........................(เพราะ)เขาคือ คนชุบ อุปถัมภ์
(แต่)การกระทำ ต้องคำนึง ถึงกฎ(แห่ง)กรรม......ที่ครอบงำ โลกา ชีวาไกร
๏ ค้าขาย อย่าได้ผุด ทุจริต.................................สิ่งผิด ศีลธรรม อย่าตามไพล่
ฉาบฉวย รวยร่ำ ไปทำไม?...............................ถ้าต้อง ตามไป ชดใช้กรรม
๏ ความสุข จากกรรม กระทำเข็ญ........................ก่อเวร เป็นบาป ให้หลาบ(จำ)ล้ำ
แม้ใคร ชักชวน มิควรทำ.................................เรื่องผิด ศีลธรรม อย่าจำนน
๏ (ทำ)สิ่งที่ ดีทวย ร่ำรวยได้...............................ทำให้ ได้ดี มั่งมีผล
ความมี ศีลธรรม ทำให้คน.................................เอ่อล้น ท้นสุขี นิรามัย
๏ (การ)เกิดแก่ เจ็บตาย ไป่สิ้นสุด.......................ประดุจ คงคา ชลาไหล
ก่อเวร ก่อกรรม (ต้อง)ตามชดใช้......................ขอให้ ใคร่คิด พินิจเทอญฯ
๒๕ มกราคม ๒๕๖๗
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
กรรมสูตรที่ ๑ [๑๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่ง กรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล อันสัตว์ผู้ทำพึงได้เสวยในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมเวทนียะ) ในอัตภาพถัดไป (อุปปัชชเวทนียะ) หรือในอัตภาพต่อๆ ไป (อปราปรเวทนียะ) ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์ แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ในข้อนั้น ความวิบัติอันเป็นโทษแห่ง การงานทางกาย ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์ เป็นวิบาก ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจ เป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ความวิบัติอันเป็นโทษแห่ง การงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์ เป็นวิบาก ฯ
...........
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่งกรรมที่ สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล ย่อมเกิดในปัจจุบัน ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อๆ ไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่ สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น สมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อม มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจ เป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ฯ.....ฯลฯ
วันเสาร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2567
วันอังคารที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2567
วันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2567
วันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2567
พบแนวโน้มระบาดโควิด-19 เพิ่มสูงอีกรอบ | จับตาสถานการณ์ | 9 ม.ค. 67
วันที่ 14 มกราคม 2567 นายธนกร วังบุญคงชนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ขณะนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาเตือนพี่น้องประชาชนให้ระมัดระวังการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์ JN.1 ที่พบว่าเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดอยู่ในประเทศไทยขณะนี้ เพราะเป็นสายพันธุ์ที่ติดกันง่าย แพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิม ซึ่งหลังจากปีใหม่มีสถิติผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์นี้แพร่ระบาดเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ประมาณวันละกว่า 4,000-6,500 คนต่อวัน ยังมีอัตราผู้ป่วยหนักต้องใส่เครื่องช่วยหายใจต่อเนื่องด้วย โดยแพทย์คาดการณ์ว่าจะมีการแพร่ระบาดสูงในช่วงเดือนมกราคม หรือ 5 สัปดาห์แรกของปีนี้เป็นต้นไป จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และจะสงบลงในเดือนมีนาคม 2567
ดังนั้นจึงขอประชาชนกลับมายกการ์ดให้สูงขึ้นอีกครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ JN.1 แม้ว่าอาการเบื้องต้นจะไม่ค่อยรุนแรง มีไข้หวัด ไอเจ็บคอ ธรรมดา แต่ก็มีผู้ป่วยที่อาการหนักรุนแรงถึงขั้นต้องใส่ท่อช่วยหายใจแต่พบตัวเลขผู้ป่วยที่ทั้งไปหาหมอและไม่ได้ไปรักษา ดูแลตัวเองอยู่ที่บ้านก็ตามมีจำนวนที่สูงขึ้นต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้ กรมควบคุมโรคยังต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดในช่วงต้นปี 2567 อย่างใกล้ชิด ทั้งเชื้อโควิดที่มีโอกาสกลายพันธุ์ได้เพิ่มขึ้น รวมถึงโรคไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เช่นกัน และโรคไข้เลือดออกที่มีความรุนแรงมากขึ้น.
https://www.thairath.co.th/news/politic/2755046
วันเสาร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2567
วันศุกร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2567
วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2567
วันจันทร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2567
วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2567
การอบรมสั่งสอน(ลูก)เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ : กลอนคติเตือนใจ
การอบรมสั่งสอน(ลูก)เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ : กลอนคติเตือนใจ
๏ การทำสวน ไร่นา ต้องขจัด....................สารพัด วัชพืช ศัตรู(พืช)ผอง
เลือกพันธุ์พืช ที่ดี พลีผลปอง..................(จึงจะ)สมปรารถนา ตอบสนอง ต้องใจราว(ราวต้องใจ)
๏ บ่มีใคร เกิดมา ก็ประเสริฐ......................ตั้งแต่เกิด เปรียบเช่น เป็นผ้าขาว(อย่างคำเปรียบเปรย)
หากต้องการ ปั้นดิน ให้เป็นดาว................(สร้าง)ลูกล้ำเลิศ เพริศพราว (ต้อง)เอาใส่ใจ(อบรมสั่งสอน)
๏ ถ้าแม่พ่อ ทะเลาะกัน หมั่นทอด่า............(หวัง)ลูกรักสา มัคคี(กัน) มีที่ไหน?
พ่อแม่เห็น แก่ตัว แน่นหัวใจ.....................หวังลูกล้ำ เลิศน้ำใจ (เรื่อง)เหลวไหลมี
๏ พ่อ(เป็นคน)โหดเหี้ยม ชั่วช้า อำมหิต......ทุจริต คิดคด โฉดบัดสี
ลูกย่อมไม่ ไคลห่าง ทางราคี....................จิตประหวัด บัดสี สมบิดา
๏ แม่หมกมุ่น ลุ้นพนัน เช้ายันค่ำ................ไร้ศีลธรรม ความดี ปรีติหา
ลูกย่อมเขลา ราวพาล เลียนมารดา............มุ่งมั่นคิด มิจฉา เช่นสามัญ
๏ อยากได้ลูก ที่ดี มีศีลสัตย์.......................พ่อแม่ต้อง ยืนหยัด ศรัทธาสรรค์(ก่อน)
(ทำตัว)เป็นตัวอย่าง ที่ดี มีศีลธรรม์.............จิตผดุง มุ่งมั่น มิผันแปร
๏ เพียรสั่งสอน ลูกเรา รู้(จัก)เกลาขัด...........คอยขจัด บัดสี นิสัยแก้
(อย่า)ปล่อยตามมี ตามเกิด (ย่อม)เตลิดแล..สิ่งเลวทราม ย่ำแย่ แพร่(หลายทั่ว)สังคม
๏ อย่าหวังพึ่ง โรงเรียน เปลี่ยนจริต(ลูก).......ครูแค่คิด ให้วิชา ประสาสม(สอนหนังสือ)
(ครูมากมาย)ติดหนี้สิน ท่วมหัว ทั่วระงม......(เพราะมี)ค่านิยม งมงาย ไม่รักดี
๏ อย่าหมายพึ่ง วัดวา พระสอนสั่ง................พระมากมาย ไพล่ยัง ร้างศีลศรี
เอาศาสนา (บังหน้า)หากิน เลี้ยงอินทรีย์......บ่ได้มี ศีลธรรม เหมือนคำคุยฯ
๗ มกราคม ๒๕๖๗
วันศุกร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2567
ใจบริสุทธิ์จุด(ให้เกิดมี)เสน่ห์ : กลอนจรรโลงใจ
ใจบริสุทธิ์จุด(ให้เกิดมี)เสน่ห์ : กลอนจรรโลงใจ
๏ ความบริสุทธิ์ ดุจเสน่ห์...............................ชวนสนเท่ห์ ชนเห่หา
ใครพบเห็น เป็น(ต้อง)เมตตา......................ปรารถนา จะชิดชม
๏ ใจบริสุทธิ์ จุด(ให้เกิดมี)เสน่ห์.....................ปราศจากเล่ห์ เฉฉลสม
ทุกความดี ที่อุดม......................................ก่อวิกรม โสมนัส(วิกรม=เก่งกล้า,กล้าหาญ,มีชัยชนะ)
๏ ผู้ที่มี ใจบริสุทธิ์........................................ย่อมไม่หยุด ยั้งซื่อสัตย์
สุจริต จิตประภัทร์......................................เป็นกิจวัตร สัจนิสัย(ประภัทร=ดี เจริญ ประเสริฐ)
๏ ความซื่อตรง ไม่โก่งคด(ของจิต)................เสมือนกฎ เกณฑ์สืบไป
รุ่งเรืองรอง งามผ่องใส...............................มิต้องใช้ (สิ่ง)ใดแต่งเติม(ของปลอม)
๏ ไร้ด่างพร้อย รอยตำหนิ.............................เพราะความดี บริสุทธิ์เสริม-
(ความ)เพริศพิไล ให้(มีมาก)กว่าเดิม............เพียงแค่เริม(จาก) เพิ่มเจตนา(บริสุทธิ์)
๏ การยึดถือ ความซื่อสัตย์............................ช่วยกำจัด ตัดปัญหา
แม้อาศัย ในโลก........................................ที่คร่ำครา(คราคร่ำ) มุสาชน
๏ ความสุจริต ชวนพิสมัย..............................ความใส่ใจ ในกุศล
คือโซ่ทอง คล้องใจคน(ที่ทนทาน)...............ให้เวียนวน รัก(ใคร่)เมตตา
๏ ความหวังดี และบริสุทธิ์(ใจ)......................ต่อมนุษย์ (และ)สัตว์โลกหล้า
คือพรหมวิหาร อันโสภา..............................สร้างเสน่หา ให้(แสน)ตราตรึงฯ
๕ มกราคม ๒๕๖๗
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ๗. วัตถูปมสูตร ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยผ้า [๗๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ช่างย้อมผ้าจะพึงนำผ้าที่สกปรก เปรอะเปื้อน ใส่ลงในน้ำย้อมสี คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมพู ผ้าผืนนั้นจะพึงเป็นผ้าที่ย้อมได้ไม่ดี มีสี ไม่สดใส ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผ้าผืนนั้นเป็นผ้าที่ไม่สะอาด แม้ฉันใด เมื่อจิต เศร้าหมอง ทุคติก็เป็นอันหวังได้ ฉันนั้นเหมือนกันช่างย้อมผ้า จะพึงนำผ้าที่สะอาดหมดจดใส่ลงในน้ำย้อมสี คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมพูผ้าผืนนั้นจะพึงเป็นผ้าที่ย้อมได้ดี มีสีสดใส ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผ้าผืนนั้นเป็นผ้าที่สะอาดแม้ฉันใด เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติก็เป็นอันหวังได้ ฉันนั้นเหมือนกันอุปกิเลสแห่งจิต ๑๖ ชนิด [๗๑] ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสแห่งจิต อะไรบ้าง คือ ๑. อภิชฌาวิสมโลภะ(ความโลภไม่สม่ำเสมอคือความเพ่งเล็งอยากได้ สิ่งของของผู้อื่น) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๒. พยาบาท(ความคิดปองร้ายผู้อื่น) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๓. โกธะ(ความโกรธ) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๔. อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๕. มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๖. ปฬาสะ(ความตีเสมอ) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๗. อิสสา(ความริษยา) เป็นอุปกิเลสแห่งจิตฯ