ผลงานของชายคนหนึ่งซึ่งนอกจากตามหลักสูตรของโรงเรียนแล้ว ต้องเรียนรู้ศึกษาหาความรู้เอง ทั้งหลักธรรมและการประพันธ์ ชอบคิด-วิเคราะห์-สรุปบทเรียนใหม่เป็นประจำ แล้วบันทึกไว้เป็นบทกวีเพราะมิเช่นนั้นจะลืมบทเรียนเก่า คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง จึงโพสต์สู่สื่อสาธารณะ
วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2567
วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2567
วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2567
วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2567
วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2567
ชีวีที่สวยงาม : กลอนจรรโลงใจ
ชีวีที่สวยงาม : กลอนจรรโลงใจ
๏ ชีวี ที่สวยงาม...............................................กอปรด้วยความ งาม(ของ)กุศล
ความดี ที่พิมล...........................................ทำให้คน ห่าง(ไกล)มลทิน(มลทิน=ความมัวหมอง)
๏ ศีลธรรม และกุศล.........................................(เสมือน)เลอเลิศท้น ยลทรัพย์สิน
ทรัพย์ใด ในแผ่นดิน....................................ประทินเทียบ เปรียบได้พอ?
๏ ความดี ไม่มีมรดก(ตกทอด)............................มิอาจยก มอบ(ให้)ใครต่อ
อยากได้ (ต้อง)ไม่รีรอ..................................อย่าย่อท้อ ก่อสร้างทำ(ความดี)
๏ ซื้อขาย ไม่ได้ดอก.........................................(อย่า)เชื่อเขาหลอก บอกบุญล้ำ
ชวนเชิญ เงินทองนำ....................................บริจาควัด และอาตมา
๏ ความงาม ตามร่างกาย....................................ประเดี๋ยว(ก็)สลาย ไม่มีค่า(ตามวัย)
(ใครไม่งามมักโดน)เหยียดหยาม เป็นธรรมดา..ตามประสา ตัณหาชน
๏ ความดี มิบูดเน่า.............................................(แม้)กายแก่เฒ่า (ความดียัง)เกลี้ยงเกลาท้น
ยิ่งทำ(ความดี) ยิ่งอำพน................................ล้นสุขี นิรามัย(อำพน=มาก,งาม)
๏ เชิดชู (ความ)ดี-กุศล.......................................อดทนทำ (ให้)งามนิสัย
(ถึงแม้)ความดี อยู่ที่ใจ(มองไม่เห็น)................แต่รู้ได้ ว่าใครดี(หรือชั่ว)
๏ ร่วม(กัน)สร้าง สังคมเลิศ.................................ชูชาติเชิด ประเสริฐศรี
ทุ่มเท ทั้งชีวี.................................................(ในการ)ทำความดี มีศีลธรรมฯ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๗
วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2567
โลกนี้ไร้ความวิจิตร : กลอนคติเตือนใจ
โลกนี้ไร้ความวิจิตร : กลอนคติเตือนใจ
๏ ปัญหา มาเยี่ยมเยือน...................................เปรียบเสมือน สิ่งเตือนจิต
(ว่า)ธรรมชาติ ของชีวิต...............................ไป่วิจิตร อย่าง(ที่คนมัก)คิดฝัน
๏ อุปสรรค และปัญหา.....................................เป็นประสา ปวงชีวัน(ประสา=วิสัยที่เป็น)
รู้เท่า เข้าใจทัน...........................................ช่วยทอนบั่น ทุกข์โศกตรม
๏ สรรพะ อกุศล-.............................................กรรมที่คน ท้นสั่งสม
เนื่องนำ ความระทม.....................................สู่สังคม คุ กรมกรอม(คุ=ไหม้กรุ่นอยู่ข้างใน)
๏ คนดี (จึง)มีทุกข์ได้.......................................ด้วยปัจจัย สิ่งแวดล้อม
(มี)คนชั่ว ที่ทั่วห้อม......................................(คนดี)พึงถนอม ระวังตน
๏ อย่าหวัง ความยุติธรรม..................................(จาก)ผู้ก่อกรรม ทรามโฉดฉล(เป็นปกติ)
คร่ำครา เคียงปะปน......................................ประชาชน คนทั่วไป
๏ โลกนี้ มิใช่สวรรค์..........................................ครองชีวัน อย่าหลงใหล
รอบข้าง สะพรั่งภัย.......................................ตักเตือนใจ ในสัจจา
๏ ครรลอง ของชีวาตม์......................................ความประมาท=ศาสตร์ชั่วช้า
(จง)ใส่ใจ ในกติกา........................................ที่โลกหล้า ตราติดตรึง
๏ (และ)อย่าให้ ใกล้มรณา................................(ค่อย)เข้าวัดวา ปรารถนาถึง-
สวรรค์ ชั้นดาวดึงส์.........................................รำพึงเพ้อ เห่อหาทำฯ
๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๗
วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2567
วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2567
วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567
วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2567
ภาพแรกและเป็นภาพสุดท้าย : กลอนคติชีวิต
ภาพแรกและเป็นภาพสุดท้าย : กลอนคติชีวิต
๏ เมฆี เหมือนชีวิต...........................................อย่ายึดติด ตามที่เห็น
ชั่วครู่ ยังอยู่-เป็น........................................กลับกระเซ็น เร้นลับลา
๏ แมวถูก เขาทอดทิ้ง.......................................เสมือนสิ่ง ไม่มีค่า
ดวงฤดี ที่(แสนจะ)ธรรมดา...........................ยากจะหา ใครใส่ใจ
๏ (จึง)อำนวย ช่วยชุบเลี้ยง................................ขอเป็นเพียง ทางบุญให้
(ชีวิตที่น่าสงสาร)เป็นสุข สบายฤทัย..............(กิน)อิ่ม-อาศัย ปัจจัย(๔)พลี
๏ แต่เพียง เลี้ยง(ได้ ๑)เดือนผ่าน........................ก็พบพาน สงสารวิถี
(แมววิ่ง)ข้ามถนน รถล้นมี..............................ชนเต็มที่ ชีวีจร(ทั้งๆที่เพิ่งจะเริ่มต้นชีวิตในบ้านใหม่)
๏ สลดใจ ในสัจจะ.............................................อาชีวะ อุทาหรณ์
(ยัง)เล่น-วิ่งฯลฯ อย่านิ่งนอน(ใจ)....................(หาก)เวรกรรมย้อน จรจากกัน
๏ (ถ่าย)ภาพแรก และ(เป็น)ภาพสุดท้าย...............ช่างละม้าย คล้ายความฝัน
เมื่อครู่ ยังอยู่ครัน..........................................คลอเคลียฉันท์ หรรษาหทัย
๏ ชีวิต ชวนคิดว่า...............................................เป็น(เพียง)มายา อย่าหลงใหล
(คือ)เหตุผล ตัวตนไร้(อนัตตา)........................(ครอบงำสรรพ)สิ่งใดๆ ในโลกา
๏ "หวงแหน แม้นชีวิต".......................................คำพูดติด ปาก(คน)นักหนา
(แต่)ชีวิต คืออนิจจา(ไม่แน่นอน)......................(มี)โชคชะตา เป็นอากรฯ(อากร=บ่อเกิด)
๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๗
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๓. เผณปิณฑสูตร ว่าด้วยอุปมาขันธ์ ๕ ..... [๒๔๗] พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้วว่า รูปอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ เวทนาอุปมาด้วยฟองน้ำ สัญญาอุปมาด้วย พยับแดด สังขารอุปมาด้วยต้นกล้วย และวิญญาณอุปมาด้วยกล. ภิกษุย่อมเพ่งพิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้นโดยแยบคายด้วยประการ ใดๆ เบญจขันธ์นั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า ด้วยประการนั้นๆ ก็การละธรรม ๓ อย่าง อันพระพุทธเจ้า ผู้มี ปัญญาดังแผ่นดิน ปรารภกายนี้ทรงแสดงแล้ว ท่านทั้งหลาย จงดูรูปอันบุคคลทิ้งแล้ว. อายุ ไออุ่น และวิญญาณย่อมละ กายนี้เมื่อใด เมื่อนั้น กายนี้อันเขาทอดทิ้งแล้วย่อมเป็นเหยื่อ แห่งสัตว์อื่น หาเจตนามิได้ นอนทับถมแผ่นดิน. นี้เป็น ความสืบต่อเช่นนี้ นี้เป็นกลสำหรับหลอกลวงคนโง่ เบญจขันธ์ เพียงดังว่าเพชฌฆาตผู้หนึ่ง เราบอกแล้ว สาระย่อมไม่มีใน เบญจขันธ์นี้. ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วมีสัมปชัญญะ มีสติ พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน. ภิกษุเมื่อ ปรารถนาบทอันไม่จุติ (นิพพาน) พึงละสังโยชน์ทั้งปวง พึงกระทำ ที่พึ่งแก่ตน พึงประพฤติ ดุจบุคคลผู้มีศีรษะอันไฟไหม้ ดังนี้.