วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2567

ภาพแรกและเป็นภาพสุดท้าย : กลอนคติชีวิต


Rest in peace แปลจากภาษาอังกฤษ-หลับให้สบาย เป็นวลีจากภาษาละติน requiescat in Pace บางครั้งใช้ในการสวดมนต์และสวดมนต์ของชาวคริสต์แบบดั้งเดิม เช่น ในนิกายคาทอลิก นิกายลูเธอรัน แองกลิกัน และนิกายเมธอดิสต์ เพื่ออวยพรให้ดวงวิญญาณได้พักผ่อนและสงบสุขชั่วนิรันดร์ (วิกิพีเดีย)

ภาพแรกและเป็นภาพสุดท้าย : กลอนคติชีวิต


    เมฆี เหมือนชีวิต...........................................อย่ายึดติด ตามที่เห็น

ชั่วครู่ ยังอยู่-เป็น........................................กลับกระเซ็น เร้นลับลา


    แมวถูก เขาทอดทิ้ง.......................................เสมือนสิ่ง ไม่มีค่า

ดวงฤดี ที่(แสนจะ)ธรรมดา...........................ยากจะหา ใครใส่ใจ


    (จึง)อำนวย ช่วยชุบเลี้ยง................................ขอเป็นเพียง ทางบุญให้

(ชีวิตที่น่าสงสาร)เป็นสุข สบายฤทัย..............(กิน)อิ่ม-อาศัย ปัจจัย(๔)พลี


    แต่เพียง เลี้ยง(ได้ ๑)เดือนผ่าน........................ก็พบพาน สงสารวิถี

(แมววิ่ง)ข้ามถนน รถล้นมี..............................ชนเต็มที่ ชีวีจร(ทั้งๆที่เพิ่งจะเริ่มต้นชีวิตในบ้านใหม่)


    สลดใจ ในสัจจะ.............................................อาชีวะ อุทาหรณ์

(ยัง)เล่น-วิ่งฯลฯ อย่านิ่งนอน(ใจ)....................(หาก)เวรกรรมย้อน จรจากกัน


    (ถ่าย)ภาพแรก และ(เป็น)ภาพสุดท้าย...............ช่างละม้าย คล้ายความฝัน

เมื่อครู่ ยังอยู่ครัน..........................................คลอเคลียฉันท์ หรรษาหทัย


    ชีวิต ชวนคิดว่า...............................................เป็น(เพียง)มายา อย่าหลงใหล

(คือ)เหตุผล ตัวตนไร้(อนัตตา)........................(ครอบงำสรรพ)สิ่งใดๆ ในโลกา


    "หวงแหน แม้นชีวิต".......................................คำพูดติด ปาก(คน)นักหนา

(แต่)ชีวิต คืออนิจจา(ไม่แน่นอน)......................(มี)โชคชะตา เป็นอากรฯ(อากร=บ่อเกิด)


๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๗


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

๓. เผณปิณฑสูตร
ว่าด้วยอุปมาขันธ์ ๕
.....
[๒๔๗] 	พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้วว่า
                          รูปอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ เวทนาอุปมาด้วยฟองน้ำ สัญญาอุปมาด้วย
                          พยับแดด สังขารอุปมาด้วยต้นกล้วย และวิญญาณอุปมาด้วยกล.
                          ภิกษุย่อมเพ่งพิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้นโดยแยบคายด้วยประการ
                          ใดๆ  เบญจขันธ์นั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า
                          ด้วยประการนั้นๆ ก็การละธรรม ๓ อย่าง อันพระพุทธเจ้า ผู้มี
                          ปัญญาดังแผ่นดิน ปรารภกายนี้ทรงแสดงแล้ว ท่านทั้งหลาย
                          จงดูรูปอันบุคคลทิ้งแล้ว. อายุ ไออุ่น และวิญญาณย่อมละ
                          กายนี้เมื่อใด เมื่อนั้น กายนี้อันเขาทอดทิ้งแล้วย่อมเป็นเหยื่อ
                          แห่งสัตว์อื่น หาเจตนามิได้ นอนทับถมแผ่นดิน. นี้เป็น
                          ความสืบต่อเช่นนี้ นี้เป็นกลสำหรับหลอกลวงคนโง่  เบญจขันธ์
                          เพียงดังว่าเพชฌฆาตผู้หนึ่ง  เราบอกแล้ว สาระย่อมไม่มีใน
                          เบญจขันธ์นี้. ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วมีสัมปชัญญะ มีสติ
                          พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน. ภิกษุเมื่อ
                          ปรารถนาบทอันไม่จุติ (นิพพาน) พึงละสังโยชน์ทั้งปวง พึงกระทำ
                          ที่พึ่งแก่ตน พึงประพฤติ ดุจบุคคลผู้มีศีรษะอันไฟไหม้ ดังนี้.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น