ผลงานของชายคนหนึ่งซึ่งนอกจากตามหลักสูตรของโรงเรียนแล้ว ต้องเรียนรู้ศึกษาหาความรู้เอง ทั้งหลักธรรมและการประพันธ์ ชอบคิด-วิเคราะห์-สรุปบทเรียนใหม่เป็นประจำ แล้วบันทึกไว้เป็นบทกวีเพราะมิเช่นนั้นจะลืมบทเรียนเก่า คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง จึงโพสต์สู่สื่อสาธารณะ
วันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
อยากเป็นประเทศรายได้สูง?แต่ 'ทักษะทุนชีวิต' ไทยยังต่ำกว่าเกณฑ์ | กรุงเท...
ตัวอย่างของวิกฤติทักษะทุนชีวิต
- 2 ใน3 ของวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ไม่มีความสามารถในการอ่านและเข้าใจข้อความสั้นๆ เพื่อแก้ปัญหาง่ายๆ เช่น การปฏิบัติคำแนะนำทางการแพทย์
- 3 ใน 4 ของวัยรุ่นและผู้ใหญ่ มีความยากลำบากในการใช้เว็บไซต์ เพื่อทำงานง่ายๆเช่น การหาราคาของแพ็กเกจโทรศัพท์มือถือรายเดือน บนเว็บไซต์
- 30% ของวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ไม่มีแนวโน้มที่จะคิดริเริ่มเพื่อสังคม หรือกระตือรือร้น
ทั้งนี้ จุดเริ่มของวิกฤติทักษะทุนชีวิต เกิดขึ้นตั้งแต่การเรียนรู้ในระดับปฐมวัย ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ในช่วงวัยอื่นๆ รวมถึงการเรียนรู้ในช่วงวัยแรงงาน ดังนั้นจำเป็นต้องเชื่อมโยงการเรียนรู้ในทุกช่วงวัย เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต (life-long learning) เน้นบูรณาการทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน รวมไปถึงท้องถิ่น เพื่อการดำเนินนโยบายที่มีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง.
วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
ความรัก....ต้องกินข้าวและเอาใจใส่ : กลอนคติเตือนใจ
ความรัก....ต้องกินข้าวและเอาใจใส่ : กลอนคติเตือนใจ
๏ พ่อค้าหนุ่ม(หน้าเศร้า) อุ้มลูกน้อย.....................อีกมือคอย ถือ(ตะกร้า)ขนม(ผิง)
เดินตากแดด(เที่ยง) แผดระบม.......................ร้องระดม เรียกลูกค้า(แต่ไม่มีใครซื้อ)
๏ (จึง)ช่วยซื้อ-ถาม ได้ความรู้.............................ไม่มีผู้ ช่วยเลี้ยง(ลูก)หนา
(เดาว่า)คงคลาไคล ไร้ภรรยา.........................มีปัญหา (เช่น)เงินตราฯลฯตรม
๏ พบมากหลาย ในโลกนี้....................................คนอยากมี คู่สู่สม
ไม่เจียมตน (ยังไม่พร้อมเช่น)ยากจนฯลฯจม.....จึงรักล่ม ซมน้ำตา
๏ (การดำรง)ชีวิตใคร่ ปัจจัยสี่..............................(หาก)เงินไม่มี สิซื้อหา
ย่อมลำบาก ยาก-ทรมาน์................................ทุกชีวา ทุกขานอง
๏ คนรักข้อง ต้องกินข้าว.....................................นุ่ง(ห่ม)กันหนาว ร้อนผ่าวผองฯลฯ
ที่(อยู่)อาศัย ใคร่จับจอง.................................พร้อมสนอง ป้อง(กัน-รักษา)โรค-ภัย
๏ (ใครที่)เลี้ยงตัวเอง ยังไม่รอด...........................อย่าคิดคอด(แคบ) ทอด(สะพาน)รักใคร่
ก่อนจะรัก ภักดีใคร........................................จงใส่ใจ ในความจริง(อย่าเพ้อฝัน-ตาบอดตามัว)
๏ (ถามตัวเอง)ชีวิตคู่ (จะ)อยู่รอดไหม?.................วันหน้าไซร้ ไร้เกรงกริ่ง(มั่นใจหรือ?)
หลังมีลูก ไม่ถูกทิ้ง?.........................................รักกลอกกลิ้ง (ชาย)หญิงนอกใจฯลฯ
๏ ปัญหาอื่น อีกหมื่นแสน....................................อาจคลอนแคลน ความรักให้
อย่างที่เป็น เห็นข่าวไป....................................ฆ่ากันได้ ใคร่ครวญเทอญฯ(คิดให้รอบคอบ)
๒๔ กุมภาพันธุ์ ๒๕๖๗
วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
ความไม่ซื่อสัตย์คืออุปัทวะของสังคม : กาพย์ยานี๑๑
ความไม่ซื่อสัตย์คืออุปัทวะ*ของสังคม : กาพย์ยานี๑๑
๏ สถิติ สิถูกทำลาย.............................คือเครื่องหมาย (ของ)ความรุ่มร้อน
โลกา ทรัพยากร.............................ถูกบั่นทอน ทุกเพลา
๏ โลกร้อน ก็ช่างมัน............................สิฟาดฟัน พันธุ์พฤกษา
บุกรุก ทำลายป่า.............................ลาภะหมาย ให้ตัวตน(เอง)
๏ (การ)ทุจริต คิดไม่ซื่อ.......................สัตย์ไม่ถือ คืออกุศล
ลักษณะ เฉพาะคน..........................ที่หลากล้น สังคมใด(ๆ)
๏ (ถึง)แม้มี การศึกษา.........................สิสัตยา ก็หาไม่
มือ(ใคร)ยาว สาวเข้าไป...................(โลก)ชาติบรรลัย ใส่ใจเมิน
๏ ดวงฤดี มิซื่อสัตย์.............................เป็นอุปัทวะ อย่ามอง(เป็นเรื่องผิว)เผิน
บ่อเกิด การเพลิดเพลิน....................หลอกลวง-โกง หักหลังกันฯลฯ
๏ ผัวเมีย ละเหี่ยจิต..............................คอยแต่คิด ชีวิต(หวาด)หวั่น
ครอบครัว สถาบัน............................ขาดสะบั้น สัมพันธ์แปร(เปลี่ยน)
๏ (คน)ใกล้ชิด มิตรสหาย.....................(ความ)รักเสื่อมคลาย ไร้เที่ยงแท้
สอดส่าย สายตาแล..........................แส่(หาผล)ประโยชน์ หมด(ความ)หวังดี
๏ คู่ค้า ตระบัดสัตย์..............................ข้อผูกมัด ขยาด-ขยี้
(การ)ค้าขาย อย่าหมายมี...................เพริศผลผลิต แค่กิจการ(ตน)ฯลฯ
๏ ใจคด จดจ้องสู่................................เจ้าหน้าที่-ครู-ผู้บริหารฯลฯ
ชี-พระ-ข้าราชการฯลฯ.......................ก่อวิกฤตการ บั่น(ทอน)สังคมฯ
๒๒ กุมภาพันธุ์ ๒๕๖๗
*อุปัทวะ= อุบาทว์, จัญไร, อัปมงคล, เป็นเสนียด.
วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
ชีวิต(โลก)ทราม(หรือ)สวยด้วยมือเรา : กลอนคติเตือนใจ
ชีวิต(โลก)ทราม(หรือ)สวยด้วยมือเรา : กลอนคติเตือนใจ
๏ ความงาม เยี่ยมเยือน เดือนกุมภาฯ..................บุปผา แผกพันธุ์ ประชันสี
สำเร็จได้ ด้วยมือผู้ ความรู้มี............................กอปรกรรม ความดี มีคุณธรรม
๏ พื้นดิน ถิ่นฐาน ครั้น(ปล่อย)ว่างเปล่า...............ปวงเหล่า วัชพืช (จะเข้า)ยึดครองล้ำ
บุปผา อย่าหมายมี ที่ประจำ............................(เป็น)เงื่อนงำ ธรรมชาติ ทัศไนย
๏ หวังเห็น บุปผา(เนือง)นอง ต้องเพียรหมั่น........อุตสาหะ ขยัน สร้างสรรค์ใคร่
อย่ามัว เกียจคร้าน สำราญใจ..........................จะไร้ ประไพศรี ภิรมย์รอง
๏ ก็เหมือน (การมี)อนาคต อันสดใส...................(ต้อง)ตั้งใจ ใส่จิต คิดสนอง
พัฒนา ศักยภาพ ประคับประคอง.....................จดจ้อง คล่องคู่ ความรู้(และความ)ดี
๏ อดทน อดกลั้น สู้ฟันฝ่า..................................ปัญหา อุปสรรค บาก(บั่น)วิถี
คุณธรรม (ให้ความ)สำคัญ ยึดมั่นมี...................ทำแต่ ความดี มิชั่วพาน
๏ อาจจะมี สิ่งใด ให้บกพร่อง.............................สอดส่อง ป้องปราม กำจัดหาญ
ค่านิยม บ่มเพาะ พิเคราะห์คราญ......................ต้านทาน ค่านิยม โสมมทราม
๏ ศึกษา คำสอน ของนักปราชญ์........................พุทธศาส (สะ)นา อย่าเย้ยหยาม
ครองตน กุศลกล้า พยายาม............................จะพบความ สำเร็จ สมเจตจินต์
๏ อย่าหวัง พึ่งโชค วาสนา.................................เพราะปราศ สัจจา ว่า(จะ)สมถวิล
ความประเสริฐ โสภี ของชีวิน(และโลก)............ทั้งสิ้น สำเร็จหรือ(ไม่?) เพราะมือเรา(เอง)ฯ
๑๙ กุมภาพันธุ์ ๒๕๖๗
วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
มีก็เหมือนไม่มี คือสัจธรรมของชีวิต : กลอนคติชีวิต
มีก็เหมือนไม่มี คือสัจธรรมของชีวิต : กลอนคติชีวิต
๏ มองนภา สลัว เมฆมัวหม่น.............................สุริยน ค้นหาย ไร้สักขี
ฝนโปรยปราย ไม่เปียกพอ ก็จรลี.....................ลมไม่มี แรงทอน ลดร้อนลง
๏ เด็กออกไป เที่ยวเล่น อย่างเป็นสุข.................ความสนุก ของวัย(เยาว์) ชวนใหลหลง
เมื่อภาระ หน้าที่ มิจำนง..................................ชีวิตคง (วน)เวียนสุข ทุกนาที
๏ แต่ถ้าต้อง ท่องมา ทำหากิน...........................เลี้ยงชีวิน ดิ้นรน ค้นวิถี
(จะ)เริ่มรับรู้ อุปสรรค หนักฤดี..........................ปัญหามี คู่วิสัย (ชีวิต)ในโลกา
๏ ความสำเร็จ,สิ่งของฯลฯ จ้องประสงค์..............ที่เจาะจง ลงแรง แสวงหา
มีมากมาย ไม่หมดสิ้น ด้วยจินดา......................ที่(คนมีความ)มุ่งมาด ปรารถนา เป็นสามัญ(ปกติ)
๏ สิ่งที่ได้ ใช่ว่า จะวิเศษ...................................(หลายอย่าง)เป็นสาเหตุ เภทภัย ให้อาสัญ(เป็นทุกข์ฯลฯ)
ต้องรักษา ทะนุถนอม พร้อมป้องกัน-.................คนแย่งชิง ยิ่งนับวัน เพิ่มอันตราย
๏ โลกามอบ (ทั้ง)โอกาส และ(ความ)ขัดสน.........เคยยากดี มีจน คน......สุดท้าย(ท้ายที่สุด)
มิรอดพ้น หนทาง ย่าง(สู่)ความตาย..................สิ่งที่มี ที่ได้ (สูญ)สลายพลัน
๏ มีก็เหมือน ไม่มี ในที่สุด..................................สรรพสิ่งผอง ต้องสะดุด หยุดเพ้อฝัน
(ลาภ,ยศฯลฯ)ของทุกอย่าง (ล้วน)ว่างเปล่า ก็เท่านั้น.......คือสัจจ์ที่ ไม่มีวัน เปลี่ยนผันแปร
๏ หวนคำนึง ซึ่งการ (ขับ)เคี่ยวขันแข่ง................(ดั่ง)เครื่องตกแต่ง อัตตา (คิด)ว่า(เป็นของ)จริงแท้
บังเกิดความ โง่เขลา เฝ้าดูแล(หวงแหน)...........ทั้ง(ๆ)ที่แม้ แต่ชีวา ก็มลาย(หายลับ)ฯ
๑๘ กุมภาพันธุ์ ๒๕๖๗
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๔. อนิจจสูตรที่ ๒ ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕ [๔๒] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่ เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้ อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่ เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของ เรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็น จริงอย่างนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.