ตัวอย่างของวิกฤติทักษะทุนชีวิต
- 2 ใน3 ของวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ไม่มีความสามารถในการอ่านและเข้าใจข้อความสั้นๆ เพื่อแก้ปัญหาง่ายๆ เช่น การปฏิบัติคำแนะนำทางการแพทย์
- 3 ใน 4 ของวัยรุ่นและผู้ใหญ่ มีความยากลำบากในการใช้เว็บไซต์ เพื่อทำงานง่ายๆเช่น การหาราคาของแพ็กเกจโทรศัพท์มือถือรายเดือน บนเว็บไซต์
- 30% ของวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ไม่มีแนวโน้มที่จะคิดริเริ่มเพื่อสังคม หรือกระตือรือร้น
ทั้งนี้ จุดเริ่มของวิกฤติทักษะทุนชีวิต เกิดขึ้นตั้งแต่การเรียนรู้ในระดับปฐมวัย ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ในช่วงวัยอื่นๆ รวมถึงการเรียนรู้ในช่วงวัยแรงงาน ดังนั้นจำเป็นต้องเชื่อมโยงการเรียนรู้ในทุกช่วงวัย เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต (life-long learning) เน้นบูรณาการทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน รวมไปถึงท้องถิ่น เพื่อการดำเนินนโยบายที่มีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น