ขอบเขตของความมี-เป็น-ได้ : กลอนคติสอนใจ
๏ อัมพร (สี)อ่อนใส ไร้ขอบเขต......................(แต่)โลกนี้ ปฏิเสธ ไม่ได้ว่า
(มี)ขอบเขต เหตุ-ผล ล้นนานา....................สารพัน ปัญหา ล้อมประจัญ
๏ ธรรมชาติ ดาษดา คราขัดสน.......................ส่วนคน (ยัง)ดลวิกฤต ผลิตสรรค์
เพิ่มความ ยากแค้น แร้นชีวัน.......................ห้ำหั่น สันติ นิคาลัย(นิคาลัย=ตาย)
๏ วิถี ชีวาตม์ คล้อยวาสนา.............................โลกา สถานการณ์ ลานอ่อนไหว
บริบท (สร้าง)กฎเกณฑ์ ความเป็นไป............ที่ใคร ไม่อาจ ขัดขวาง-เมิน(ว่าไม่เกี่ยวกับฉัน)
๏ ได้แต่ ปรับตัว ปรับหัวจิต.............................(เพื่อให้)ชีวิต อยู่รอด ปลอดภัยเหิน
ต้านทาน ปัญหา อย่าเล่อเลิน.......................ประเชิญ ประชิด คิดใคร่ครวญ
๏ ทำอะไร ให้ดี เท่าที่(ทำ)ได้..........................ทำอะไร ไม่ได้ ไม่ผันผวน
มั่นคง ฤดี มิเรรวน.......................................(หมั่น)ทบทวน หวนจรด เก็บบทเรียน
๏ ธรรมชาติ ขัดสน ล้น(ข้อ)จำกัด......................โลกทัศน์ ปัจจัย ไม่แปรเปลี่ยน
จิตใจ ของคน คอยวนเวียน...........................พากเพียร พยายาม กระทำการ-
๏ ค้นหา นิยาม ความสำเร็จ...............................(ทะลวง)ขอบเขต ต่อไป ไร้สะท้าน
อยากมี ชีวิต พิศดาร(แปลกใหม่)...................ยาวนาน หรรษา หาเรื่อยไป
๏ (ยังไงก็)สะดุด หยุดลง ตรง"ขอบเขต"............สมเพช เวทนา อายุขัย
สิ่งที่ "มี-เป็น" (คิด)เห็นว่า"ได้".....................สุดท้าย (เป็นแค่ความ)ใหลหลง งงงวยเองฯ
๒๐ มีนาคม ๒๕๖๗
๘. ทุติยคัททูลพัทธสูตร ว่าด้วยอุปมาด้วยสุนัขถูกล่าม สูตรที่ ๒ [๑๐๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นเบื้องปลายที่ใครๆ รู้ไม่ได้ เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไป สุนัขที่เขาผูกไว้ด้วยเชือก ล่ามไว้ที่หลักหรือเสาที่แข็งแรง ถ้าแม้สุนัขนั้นเดิน ก็เดินใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้สุนัขนั้นยืน ก็ยืนใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้า แม้สุนัขนั้นหมอบ ก็หมอบใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้สุนัขนั้นนอน ก็นอนใกล้ หลักหรือเสานั้นเอง แม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็น รูปว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ปุถุชนนั้น ถ้าแม้เขาเดินก็เดินใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เอง ถ้าแม้เขายืนก็ ยืนใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เอง ถ้าแม้เขานั่งก็นั่งใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เอง ถ้าแม้เขานอนก็นอนใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เอง.......
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น