วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2566

เด็กไม่ใช่ผ้าขาวตั้งแต่เกิด : กลอนคติเตือนใจ


ฝ้ายธรรมชาติ

ผ้าฝ้ายธรรมชาติ


เด็กไม่ใช่ผ้า(สี)ขาวตั้งแต่เกิด : กลอนคติเตือนใจ


    ผ้าขาว พราวพราย เพราะได้(รับการ)ฟอก..................ธรรมชาติ ฝ้ายดอก ออกหม่นสี

ผ้าขาว บริสุทธิ์ ผุดยากมี.........................................เหมือนฤดี ที่มนุษย์ ดุจฝ้ายรงค์(รงค์=สี,น้ำย้อม,ตัณหา)


    เด็กไม่ ใช่ผ้าขาว พราวแต่เกิด..................................(แต่)กำเนิด พร้อมกิเลส โลภ-ร้าย-หลง

(มี)อกุศล (ละ)มูล พูนเผ่าพงศ์.................................มั่นคง ความจริงแท้ เห็นแก่ตัว(เอาตนเป็นศูนย์กลาง)

 

    อยากได้ เด็กดี ต้องมีกิจ...........................................ฝึกฝน ดลจิต อย่าคิดชั่ว(กิจ=เรื่องที่ต้องทำ)

บาปกรรม (จด)จำละอาย ใจหวาดกลัว......................ผลตาม ติดตัว ฝังหัวใจ


    ไม้อ่อน ดัดได้(ง่าย) ให้รีบดัด....................................(อย่ารอจน)ไม้แก่ แม้ดัด ขัดนิสัย

ลำบาก ยากแสน แม้นขาดใจ...................................ดัดได้ น้อยนิด (เพราะ)ติด(เป็น)สันดาน


    (เมื่อ)อกุศล (ละ)มูล พูนพอกจิต.................................(มี)บ่อเกิด กรรมผิด วิตถาร(วิตถาร=กว้างขวาง,นอกแบบฯลฯ)

ก่อกรรม ทำชั่ว มัวเมามาน.......................................ง่ายดาย ไม่สะท้าน คัดค้านปอง


    กุศล (ละ)มูล น้อมหนุนส่ง..........................................ลดละโลภ ร้าย-หลง จงสนอง

ผู้ใหญ่ ใคร่ทำ นำเด็กมอง........................................ตรึกตรอง คล่องจิต ความคิดจำ

 

    (เด็ก)จึงจะ สะอาดใส คล้ายผ้าขาว.............................เพริศพราว ประเสริฐ เลอเลิศล้ำ

เด็กเป็น คนดี มีศีลธรรม...........................................ย่อมนำ สังคม สมเจริญ

 

    แต่ถ้า ผู้ใหญ่ ไม่จำนง...............................................(ยัง)เสริมส่ง สิ่งชั่ว ทั่วสรรเสริญ

แวดล้อม เด็กเกิด ความเพลิดเพลิน...........................ก้าวเดิน ตามรอย เลวถ่อยเอยฯ


๒ เมษายน ๒๕๖๖


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)


กุศลมูล 3 (รากเหง้าของกุศล, ต้นตอของความดี)
       1. อโลภะ (ความไม่โลภ, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโลภะ, ความคิดเผื่อแผ่, จาคะ)
       2. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโทสะ, เมตตา)
       3. อโมหะ (ความไม่หลง, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับความหลง, ปัญญา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น