วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562

ปฏิบัติธรรม : กลอนคติสอนใจ



ปฏิบัติธรรม : กลอนคติสอนใจ

    บุคคล ควรตาม รักษาจิต.................................ควบคุม ความคิด (ให้)เป็นกุศล
คือหลัก(ที่) พุทธศา สนิกชน.............................(เพียร)ฝึกฝน ปฏิบัติ ด้วยศรัทธา

    ศึกษา(ว่า) อะไรดี-อะไรชั่ว..............................คือหัว ใจให้ ไม่มิจฉา
รู้หลัก ธรรมชาติ และสัจจา................................(เป็น)พื้นฐาน ปัญญา ประกอบกรรม

    มีเหตุ มีผล บนความเชื่อ.................................ไม่เบื้อ งมงาย ไถยถลำ
วิเคราะห์ วิจารณ์ หาญกระทำ.............................ขจัดส่ำ สงสัย ไม่เหลือมี

    กระทำ กรรมใด ไม่ประมาท.............................อุระ สะอาด พ้นบัดสี
อย่าอ้าง วัฒนธรรม ประเพณี..............................โดยที่ โง่เขลา มิเข้าใจ

    ถูก-ผิด วินิจฉัย ไม่อคติ..................................ขัดเกลา ทิฏฐิ ดัดนิสัย
มิเมา (ทำ)เอาตาม อำเภอใจ..............................(เอา)ใจใส่ สำนึก ตรึกตรองธรรม

    วิถี ชีวะ ประจำวัน..........................................สอดรับ หลักธรรม์ จรรย์จุนค้ำ
ไม่ใช่ สวดมนต์ บ่นท่องจำ.................................แต่การ กระทำ มินำพา

    เมื่อจิต ตั้งมั่น มิหวั่นไหว(ในกุศล).....................มีสติ วินัย(ไม่ก่ออกุศล) ไร้ปัญหา
นั่งสมาธิ ทำไม ให้เสียเวลา*................................โดยเฉพาะ อ้างว่า จะได้บุญ(เหมือนนั่งเติมบุญ ซึ่งไร้สาระ)

    กิเลส ตัณหา อุตส่าห์ลด.................................ทุจริต จิตคด ขจัดสุญ
ทุกลม หายใจ ใคร่เจือจุน...................................พิบุล พิพัฒน์ ปฏิบัติ(ธรรม)เทอญฯ(พิบุล=กว้างขวาง)

๔ เมษายน ๒๕๖๒

*เพราะการนั่งสมาธิที่เห็นเป็นส่วนใหญ่ จะทำพอเป็นพิธีและหลงเชือกันว่านั่งสมาธิแล้วได้บุญเพิ่มขึ้นๆ เหมือนชาร์ตแบ็ตฯมือถือฯลฯ
ผู้เขียนขอจำกัดความหมายของการนั่งสมาธิที่เสียเวลาในกลอนบทนี้ ไว้เท่านี้ 
ไม่นับรวมถึงการนั่งสมาธิตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ตามหลักไตรสิกขา

*นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้โดยยาก ห้ามได้โดยยาก ให้ตรง ดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น
จิตนี้อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือเบญจกามคุณเพียงดังน้ำ ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก เพื่อจะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันชาวประมงยกขึ้นแล้วจากที่อยู่คือน้ำ โยนไปแล้วบนบก ดิ้นรนอยู่ฉะนั้น
การฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปรกติตกไปในอารมณ์อันบุคคลพึงใคร่อย่างไร เป็นความดี เพราะว่าจิตที่บุคคลฝึกดีแล้วนำสุขมาให้
นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก ละเอียดอ่อน มีปกติตกไปตามความใคร่ เพราะว่าจิตที่บุคคลคุ้มครองแล้วนำสุขมาให้
จาก <http://www.84000.org/tipitaka/read/?25/13>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น