วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การเดินจงกรมเบื้องต้น


                                         

การเดินจงกรมเบื้องต้น   

                              

อานิสงส์ของ การนั่งสมาธิ กับ การเดินจงกรม
ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว

ผลที่เหมือนกัน คือ
ได้สมาธิ-มีสติ-อุเบกขา-สงบ-ระงับกิเลส-สนับสนุน วิปัสสนากรรมฐาน ฯลฯ

ผลที่ต่างกัน คือ
เดินจงกรม :มีสติ มั่นคงกว่า-ติดนานกว่า ทุกอิริยาบท
ระบบย่อยอาหารดี-สุขภาพของร่างกายดี-ร่างกายแข็งแรง โดยเฉพาะ ขา ฯลฯ
แต่ไม่มีทางได้ ฌาน-อภิญญา

นั่งสมาธิ (อานาปานสติ) :  ได้สติลึกกว่า-ละเอียดกว่า-สงบกว่า
ที่สำคัญ เป็นวิธีทำให้ได้ ฌาน-อภิญญา

วิธีเดินจงกรม

ต้องเตรียมทางเดินตรงๆ-ราบเรียบ ยาวประมาณ ๑๕ - ๒๐ เมตร กว้าง ประมาณ ๑ เมตร เป็นดินละเอียด-อัดแน่น จะดีที่สุด
ไม่มีสิ่งยั่วยวนกิเลสรอบข้าง - เงียบเสียง - ไร้คน / สัตว์ 
เป็นร่มเงา-สว่าง-ไม่หนาว-ไม่ร้อนเกินไป-ลมสงบด้วย

การเดิน ต้องเท้าเปล่า  มือประสานกันด้านหน้า
ก้มหน้าเล็กน้อย มองพื้นไปข้างหน้า  ๑ เมตร

ใจสงบ-ลมหายใจเบา-ยาว-ลึก (พอดีๆ)
ไม่คิดอย่างอื่น 
เพ่งความสนใจไปที่การก้าว - การยก - การเหยียบของเท้า
ก้าวที่ละก้าว-ช้าๆ
สุดทางให้หยุดสักครู่ ค่อยๆหมุนตัวกลับ อย่างรู้สึกตัวทุกขณะ

จะบริกรรมก็ดี คือ ยกหนอ-ย่างหนอ-เหยียบหนอ-กลับหนอ
แต่ถ้าจิตสงบแล้ว อย่าบริกรรม

เพ่งความรู้สึกไปที่เท้า เท่านั้น
ทำสัก ๑๐ - ๑๕ นาที ต่อรอบ
เพราะ การเดินจงกรม เครียดง่ายมาก
ทำติดต่อกันนานๆ จะมีอาการเครียดสูง ฯ

                           ๑ พฤษภาคม ๒๓๕๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น