วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง สู้คดีอมเงินวัด 300 ล.พบติดบาคาร่าออนไลน์ | เที่ยงทัน...


พระพุทธเจ้าห้ามพระ-วัด รับเงิน
แต่คนไทยชอบให้เงินพระ-วัด
พูดไปก็ไม่มีใครฟัง
เงิน จะเป็นปัญหาที่ทำให้ศาสนาพุทธแบบไทยๆ ไม่มีความเจริญงอกงาม.

จงใช้ชีวิตให้ต่ำกว่าฐานะของคุณ

 


🟢“จงใช้ชีวิตให้ต่ำกว่าฐานะของคุณ”
...
🌿“ไม่ว่าคุณจะมีเท่าไหร่ ก็ใช้ให้มันน้อยๆหน่อย”
นักลงทุนมืออาชีพมักจะใช้ชีวิตต่ำกว่าฐานะของตนเองอย่างมาก ขณะที่คนทั่วไป (จำนวนมากเสียด้วย) ใช้ชีวิตเกิดฐานะของตัวเอง หากคุณไม่ได้เป็นบุคคลประเภทที่โชคดีเกิดมาบนกองเงินกองทอง วิธีเดียวที่จะสามารถสะสมเงินเพื่อนำไปลงทุนได้ก็คือ "การใช้จ่ายให้ต่ำกว่าฐานะของตนเอง" ความร่ำรวยไม่เคยทำให้ค่านิยมหลักในการใช้ชีวิตของนักลงทุนผู้ประสบความสำเร็จหลายๆคนเปลี่ยนแปลงไปได้เลย
.
คนส่วนใหญ่อยากรวยเพื่อที่จะได้นั่งเครื่องบินชั้นหนึ่ง พักโรงแรมสุดหรู ช็อปปิ้งไปเรื่อยๆ ได้โดยไม่ต้องกังวลกับวงเงินในบัตรเครดิต ปัญหาก็คือคนที่มีทัศนคติต่อเงินในลักษณะเช่นนี้จะไม่มีทางรอจนกว่าตัวเองจะรวย เพื่อที่จะได้ลิ้มรสสิ่งฟุ้งเฟ้อเหล่านั้น พวกเขากลับเลือกเส้นทางการใช้ชีวิตอยู่บนกองหนี้แบบชนชั้นกลางทั่วๆไป
.
นักลงทุนมืออาชีพนั้นหลังจากที่พวกเขาต้องฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการจนได้มาซึ่งอิสรภาพทางการเงินแล้ว สิ่งสุดท้ายที่นักลงทุนมืออาชีพจะทำ คือยอมให้อิสรภาพนั้นสั่นคลอนด้วยการใช้เงินทั้งหมดไปอย่างโง่ๆ
...................
📌“ผมมีแรงปรารถนาที่จะร่ำรวยอยู่พอสมควร ไม่ใช่เพราะผมอยากขับเฟอร์รารี่ แต่เพราะผมอยากมีอิสรภาพ ผมอยากมีอิสระมากจริงๆ” : 'ชาร์ลี มังเกอร์ (Charlie Munger)'
..........................................................
บางส่วนจากหนังสือ "บัฟเฟตต์-โซรอส ลงทุนถูกนิสัย ยังไงก็ชนะ : อัจฉริยะภาพการลงทุนของนักลงทุนที่รวยที่สุดในโลก"

คัดลอกจาก Introverted investor
https://www.facebook.com/photo/?fbid=687166867236814&set=a.166269935993179

ช่วยกัน.......ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป

 


ช่วยกัน......ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป
อยากแนะนำให้อ่านหนังสือ Why Nations Fail: The Origins of Power, Prosperity, and Poverty ของนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล
หนังสือเล่มนี้อธิบายว่า ความร่ำรวยหรือยากจนของประเทศหนึ่ง ๆ ไม่ได้เกิดจากภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม หรือความขยันของประชาชน แต่สิ่งที่ “กำหนดอนาคต” อย่างแท้จริงคือ สถาบันการเมืองและเศรษฐกิจ ที่ประเทศนั้นสร้างขึ้น
📍ถ้าประเทศมี สถาบันแบบ Inclusive (ครอบคลุม-เปิดโอกาส):
• มี rule of law (นิติรัฐ) ที่เข้มแข็ง
• คุ้มครองสิทธิในทรัพย์สิน
• มีประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมจริง
ประเทศจะสร้างโอกาสอย่างทั่วถึงและพัฒนาได้อย่างยั่งยืน
📍ถ้าประเทศติดกับ สถาบันแบบ Extractive (เอาเปรียบ-กอบโกย):
• กลุ่มอำนาจบิดเบือนกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ตัวเอง
• ขัดขวางการแข่งขันและนวัตกรรม
• ระบบการเมืองคอร์รัปชันและไร้ความโปร่งใส
ผลคือ ติดกับดักความยากจนและเหลื่อมล้ำแบบไม่มีทางออก
📍ตัวอย่างจริงจากทั่วโลก:
• สหรัฐอเมริกา vs เม็กซิโก:
หนังสือยกตัวอย่าง “Nogales” เมืองชายแดนที่แบ่งครึ่งด้วยรั้ว—ครึ่งหนึ่งอยู่ในรัฐแอริโซนา (สหรัฐฯ) อีกครึ่งในโซโนรา (เม็กซิโก)
แม้ทั้งสองฝั่งมีวัฒนธรรมและภูมิศาสตร์คล้ายกัน แต่ฝั่งสหรัฐฯ มีรายได้ต่อหัวและคุณภาพชีวิตสูงกว่าอย่างชัดเจน เพราะสถาบันการเมืองและเศรษฐกิจที่มี rule of law เข้มแข็งกว่า เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วม ขณะที่ฝั่งเม็กซิโกเผชิญกับการคอร์รัปชัน ความไร้เสถียรภาพ และโครงสร้างอำนาจที่กดขี่
• เกาหลีเหนือ vs เกาหลีใต้:
จุดเริ่มต้นเหมือนกัน แต่วันนี้ต่างกันราวฟ้ากับดิน เพราะสถาบันการเมืองและเศรษฐกิจต่างกันโดยสิ้นเชิง
• โคลอมเบีย vs คอสตาริกา:
โคลอมเบียติดกับดักความรุนแรงและคอร์รัปชัน ขณะที่คอสตาริกาสร้างสถาบันประชาธิปไตยและการศึกษาที่มั่นคง
• บอตสวานา vs ซิมบับเว:
สองประเทศในแอฟริกาที่ตัดสินใจคนละเส้นทาง บอตสวานามีการบริหารจัดการโปร่งใส ส่วนซิมบับเวพังทลายเพราะคอร์รัปชันและการกดขี่
📍บทสรุปสำคัญของหนังสือ:
เศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อสถาบันการเมืองและเศรษฐกิจทำงานเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ ไม่ใช่เพื่อชนชั้นนำกลุ่มเล็ก ๆ ประเทศที่ไม่กล้าปฏิรูปสถาบัน แม้จะดูแข็งแรงในบางช่วงเวลา สุดท้ายจะเจอกับจุดตันที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
และเมื่อมองกลับมาที่ประเทศไทย — สัญญาณอันตรายหลายอย่างที่หนังสือเล่มนี้เตือน เรา “กำลังเห็นกับตา” อยู่แล้ว:
• ระบบการเลือกตั้งที่ ประชาชนเริ่มรู้สึกว่า “ไม่ matter”
• การแทรกแซงอำนาจตุลาการ จนความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมสั่นคลอน
• วัฒนธรรมที่ “คนทำผิดไม่ต้องรับผิด” และการใช้กฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์พวกพ้อง
และนี่คือตัวเลขล่าสุดที่ตอกย้ำว่าเรากำลังเผชิญกับอะไร:
• Rule of Law Index 2024 (World Justice Project):
ไทยอยู่อันดับ 78 จาก 142 ประเทศ ต่ำกว่าหลายประเทศในภูมิภาค เช่น มาเลเซียและสิงคโปร์
• Corruption Perceptions Index 2024 (Transparency International):
ไทยได้คะแนน 36/100 อยู่อันดับ 107 จาก 180 ประเทศ สะท้อนปัญหาคอร์รัปชันเรื้อรัง
• Democracy Index 2024 (The Economist Intelligence Unit):
ไทยถูกจัดเป็น “ระบอบประชาธิปไตยที่มีข้อบกพร่อง” (Flawed Democracy) อยู่อันดับ 63 จาก 167 ประเทศ
ทุกตัวชี้วัดเลวร้ายลงเรื่อยๆ
นี่คือสัญญาณชัดเจนว่า หากไทยไม่เร่งปฏิรูปสถาบันหลัก ๆ โดยเฉพาะ rule of law, คอร์รัปชั่น และประชาธิปไตย เราอาจไม่ได้เป็นเพียงผู้สังเกต แต่จะกลายเป็น “กรณีศึกษา” ที่ถูกเขียนไว้ในหนังสือ Why Nations Fail ในอนาคต
ช่วยกันก่อนทุกอย่างจะสายเกินไปเถอะครับ

คัดลอกจาก Pipat Luengnaruemitchai
https://www.facebook.com/photo?fbid=10162488095145700&set=a.38477680699