ผลงานของชายคนหนึ่งซึ่งนอกจากตามหลักสูตรของโรงเรียนแล้ว ต้องเรียนรู้ศึกษาหาความรู้เอง ทั้งหลักธรรมและการประพันธ์ ชอบคิด-วิเคราะห์-สรุปบทเรียนใหม่เป็นประจำ แล้วบันทึกไว้เป็นบทกวีเพราะมิเช่นนั้นจะลืมบทเรียนเก่า คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง จึงโพสต์สู่สื่อสาธารณะ
วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567
พระจอนนี่ เล่าทำไมไฟไหม้ตนเองสาหัสเพราะ เวรกรรมมีจริง | เรื่องร้อนอมรินทร์
วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2567
วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2567
วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567
วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567
วิกฤติโลกร้อน หรือสายเกินแก้? : กาพย์ยานี๑๑
วิกฤติโลกร้อน หรือสายเกินแก้? : กาพย์ยานี๑๑
๏ (น้ำ)ท่วมใหญ่ ในหน้าร้อน............................อุทาหรณ์ ก่อนจะสาย(หรือว่าสายเสียแล้ว?)
ธรรมชาติ ถูกทำลาย...................................ความฉิบหาย (เป็น)เรื่องใกล้ตัว
๏ เหมือนการ กระทำบาป.................................ต้องคำสาป(กรรมตามสนอง) รับผลชั่ว
ความเขลา หลงเมามัว................................สถิตทั่ว ทั้งหัวใจ
๏ สภา วะโลกร้อน...........................................คำเตือนว่อน ห่อนหวั่นไหว
น้อย(คน)นัก จักใส่ใจ..................................(ยัง)ทำอะไร ตามใจตน
๏ มองการณ์ วันข้างหน้า..................................(จะ)มีปัญหา ทุกแห่งหน
เห็นแค่ ความมืดมน.....................................โลกร้อนรน ท้นทรมาน์
๏ หลงใหล ในดวงจิต.......................................(กับความ)สุขน้อยนิด เฉพาะหน้า
(กิน-เที่ยว-ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยฯลฯ)
มองข้าม มินำพา..........................................อนาคต หมด(สิ้น)-มืดมน(มองไม่เห็นทางออก)
๏ คนไซร้ มักไม่ซื่อ(ตรง)...................................สม(คำ)ร่ำลือ คือเหตุผล
โลกนี้ จิประจญ............................................โกลาหล ล้นพรรณนา
๏ โลกา คราวิกฤติ.............................................ทุกชีวิต ทุกทิศา
จักต้อง ข้องชะตา(กรรมเดียวกัน)....................ทุกข์ทั่วหน้า ทุก(ทิวา)ราตรี
๏ โลกา จะเปี่ยมทุกข์........................................ร้อนรนรุก สุขสลายหนี
(เพราะ)คนไซร้ บ่ใยดี....................................โลกย่ำยี พินาศเอยฯ
๒๔ เมษายน ๒๕๖๗
วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567
วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2567
บวชทำลายพุทธศาสนา : กลอนคติเตือนใจ
บวชทำลายพุทธศาสนา : กลอนคติเตือนใจ
๏ "ตัดหาง ปล่อยวัด" ปัจจุบัน............................เห็นทำ ตามกัน กับลูกหลาน
พวกไม่ รักดี มิเอาถ่าน...................................มอบให้ สมภาร สันดานดัด(ดัดนิสัย)
๏ อีกยัง มายา ค่านิยม.......................................สร้างบาป สะสม บ่มสารพัด
ล้างเคราะห์ ล้างกรรม หวังกำจัด.....................เข้าวัด บวชแก้ แพร่หลายมี
๏ อีกทั้ง พวกพระ ยึด(เป็น)อาชีพ.......................ปากกัด ตีนถีบ(ความยากจน) อยากรีบหนี
หาสุข สราญกาย สบายฤดี.............................มากมี มาบวช (รับจ้าง)สวดมนต์กันฯลฯ
๏ สรุปความ ทำตาม ประเพณี.............................บวชพอ เป็นพิธี มิกวดขัน
แคลนขาด ศรัทธา จรรยาบรรณ......................ช่างมัน เถิดคำ "ธรรมวินัย"
๏ ผ้าเหลือง เครื่องหมาย คล้ายเป็นพระ...............แต่ใจ ไร้สมณะ อัชฌาสัย
โลกุต ตรธรรม=คำท่องไป..............................โลกีย์ สิกระหาย ใส่กระมล
๏ จึงเห็น เป็นข่าว แทบเช้าค่ำ............................พวกพระ ระยำ ทำอกุศล
ทำลาย ศรัทธา สาธุชน...................................สร้างผล มลทิน แผ่นดินธรรม
๏ ชาวบ้าน ชาวช่อง ต้องใส่ใจ............................เชิดชู "ธรรมวินัย" ให้เลิศล้ำ
ไม่ใช่ ประเพณี พิธีกรรม..................................ชี้นำ สำนึก ตรองตรึกการ
๏ สังคม งมงาย คล้ายอุปสรรค............................เสื่อมหลัก (พุทธ)ศาสนา ละแก่นสาร
(ไม่ใช่คนนอก)คนใน ใจชั่ว คือตัวมาร................ทำพุทธ ชุติกาล อันตรธานเอยฯ
๒๑ เมษายน ๒๕๖๗
วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567
วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567
วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567
วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2567
วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2567
วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2567
โลกร้อนสำแดงฤทธิ์ อ.ธรณ์ น้ำตาซึม ไข่เต่ามะเฟือง120ฟองไม่ได้รับการผสม ไม่มีลูกเต่าออกมาแม้แต่ตัวเดียว
วันที่ 14 เมษายน ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความอาลัย ที่อากาศร้อนเกินไป ทำให้ไข่ของแม่ 14 กุมภา ซึ่งเป็นแม่เต่ามะเฟืองที่ออกไข่ไว้ 120 ฟอง ไม่ได้รับการผสม ทำให้ไม่มีลูกเต่าเกิดออกมาแม้แต่ตัวเดียว โดย อ.ธรณ์ระบุว่า
“ไม่ว่าเราทุ่มเทขนาดไหน มีบางครั้งที่โลกไม่เป็นอย่างที่เราคาดหวัง
ไข่เต่ามะเฟืองของแม่ 14 กุมภา 120+ ฟอง ทั้งหมดไม่ได้รับการผสม
ไม่มีลูกเต่าเกิดแม้แต่ตัวเดียว
ปัญหาไข่ไม่มีเชื้อเกิดทั่วโลก บางแห่งถึงขั้นทำให้เต่ามะเฟืองหายไปจากพื้นที่นั้นถาวร
เหตุเพราะเพศของเต่าจะขึ้นกับอุณหภูมิในรัง หากอุณหภูมิสูงเป็นเพศเมีย ต่ำเป็นเพศผู้
แต่โลกร้อนขึ้น ทรายร้อนขึ้น เต่าเกือบทั้งหมดฟักเป็นเพศเมีย เหลือตัวผู้เพียงน้อยนิด
ยิ่งเวลาผ่านไป โลกร้อนขึ้นและร้อนขึ้น ตัวผู้ยิ่งน้อยลงและน้อยลง
แม่เต่าบางตัวเจอตัวผู้ผสมพันธุ์เพียงไม่มาก ทำให้สัดส่วนของไข่ไม่มีเชื้อสูงขึ้น
แต่สำหรับรังนี้ ไม่มีเลย แม่เต่าไม่เจอคู่ของเธอเลย
ทั้งที่เธอขึ้นมาวางไข่ในวันที่ 14 กุมภา วันแห่งความรัก
เธออยากมีความรัก แต่โลกที่มนุษย์ทำให้เปลี่ยนไป ไม่ยินยอมให้เธอมีรัก
และไม่ยอมให้เธอมีลูก…
ผมใส่เสื้อกำเนิดเต่ามะเฟือง ใส่กางเกงลายเต่า มาพร้อมกับความหวังเต็มเปี่ยม
คิดถึงการระดมทุนครั้งใหญ่ให้กองทุนเต่า คิดถึงความหวังของเพื่อนธรณ์ ตั้งใจจะมาถ่ายภาพลูกเต่ายิ้มขอบคุณพวกเรา
แต่ไม่เลย ไม่มีเลย ไม่มีลูกเต่าแม้แต่ตัวเดียว
ผมจ้องมองไข่เต่าที่บ้างก็แตก บ้างก็เน่า ไม่มีชีวิตน้อยๆ ถือกำเนิด
ตะวันลับผืนน้ำ แสงสุดท้ายบนฟ้าเหนือท้องทะเลแสนงดงาม
จะไม่ยอมแพ้ครับ จะยังไงก็ไม่มีทางยอม
แต่ขอน้ำตาซึมบ้างได้ไหม…
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_4525653
วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2567
วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2567
พนักงานขอลางานบ่อย-บางครั้งก็ไม่ไปทำงานเป็นสัปดาห์ เจ้าของไม่ตำหนิ แต่ยังโอนเงินให้
![🇨🇳](https://static.xx.fbcdn.net/images/emoji.php/v9/t25/2/16/1f1e8_1f1f3.png)
World Forum ข่าวสารต่างประเทศ
วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2567
ฆ่าตัวตาย ≠ ได้นิพพาน : กลอนคติเตือนใจ(กาพย์ยานี๑๑)
ฆ่าตัวตาย ≠ ได้นิพพาน : กลอนคติเตือนใจ(กาพย์ยานี๑๑)
๏ นิพพาน คือ(ความ)ฝันใฝ่............................(ตั้ง)แต่ก่อนสมัย ไร้(พุทธ)ศาสนา
เพราะ(ความคิด)เบื่อ เหลือระอา.................ต่อทุกขา (และ)ชีวาภัย(เช่นแก่-เจ็บป่วย-ตายฯลฯ)
๏ (จินตนาการ)เข้าใจ ไปต่างๆ........................วิถีทาง นิพพานได้
(พระ-ชาวบ้าน พูดกันไปสารพัด)
โดยที่ มิใส่ใจ...........................................ใฝ่ศึกษา พระไตรปิฎก
๏ กิเลส และตัณหา.......................................ชวนชักพา อุรารก(รุงรัง)
ฟุ้งเฟื่อง เรื่องสกปรกฯลฯ...........................สุมอกให้ ไร้ปัญญา
๏ คนเขลา (คน)พาลเข้าวัด............................(เมื่อ)ไม่กำจัด ตัด(กิเลส)ตัณหา
(ย่อม)ก่อกรรม ต่างๆนานา..........................ตามประสา มิจฉาชน
๏ เหลวไหล ในสาระ.....................................ปฏิปทา มรรคาผล(มรรคผล)
ดวงฤดี ที่มืดมน.........................................ยากหลุดพ้น อกุศลกรรม
๏ (มัก)ศรัทธา ประเพณี.................................กรรมพิธี(พิธีกรรม) (ยกให้เป็นสิ่ง)วิเศษล้ำ
(เรื่อง)งมงาย ฝังใจจำ................................ครอบงำจิต คิดสัปดน
๏ พุทธะ(องค์) สอนอะไร?.............................ช่างประไร ข้าไม่สน
กระทำ ตามใจตน......................................ที่เปี่ยมล้น อวิชชา
๏ เข้า(วัด)ไป ไร้ทางออก..............................โดนปอกลอก หลอกเงินหาฯลฯ
โฉดไพร่(คนเลว) ใช้วัดวา(ผ้าเหลือง)..........เพื่อทำมา หากินเอยฯ
๙ เมษายน ๒๕๖๗
≠ สัญลักษณ์ไม่เท่ากับ, ที่แทนด้วย ≠, ใช้เพื่อแสดงว่าค่าหรือนิพจน์คณิตศาสตร์สองอย่างไม่เท่ากัน.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปัญหาว่าด้วยผู้หลุดพ้น [๒๔๘] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ จะเกิดในที่ไหน? ดูกรวัจฉะ คำว่าจะเกิดดังนี้ ไม่ควรเลย. ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น จะไม่เกิดขึ้นหรือ? ดูกรวัจฉะ คำว่า ไม่เกิดดังนี้ ก็ไม่ควร. ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มี ไม่เกิดก็มีหรือ? ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ดังนี้ ก็ไม่ควร. ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่หรือ? ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ ก็ไม่ควร. [๒๔๙] พระองค์อันข้าพเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้ว อย่างนี้ จะเกิดในที่ไหน ก็ตรัสตอบว่า ดูกรวัจฉะ คำว่าจะเกิด ดังนี้ ไม่ควร. ฯลฯ พระองค์ อันข้าพเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้นเกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่หรือ ก็ตรัสตอบว่า ดูกรวัจฉะ คำว่า เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ ก็ไม่ควร. ข้าแต่ท่านพระโคดม ในข้อนี้ ข้าพเจ้าถึงความไม่รู้ ถึงความหลงแล้ว แม้เพียงความเลื่อมใสของข้าพเจ้าที่ได้มีแล้ว เพราะ พระวาจาที่ตรัสไว้ในเบื้องแรกของท่านพระโคดม บัดนี้ได้หายไปเสียแล้ว. [๒๕๐] ดูกรวัจฉะ ควรแล้วที่ท่านจะไม่รู้ ควรแล้วที่ท่านจะหลง เพราะว่าธรรมนี้ เป็นธรรมลุ่มลึก ยากที่จะเห็น ยากที่จะรู้ สงบระงับ ประณีต ไม่ใช่ธรรมที่จะหยั่งถึงได้ด้วย ความตรึก ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้นอันท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจ เป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักของอาจารย์อื่น รู้ได้โดยยาก ดูกรวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านเห็นควรอย่างใด ก็พึง พยากรณ์อย่างนั้น ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน ท่านจะพึง รู้หรือว่า ไฟนี้ลุกโพลงต่อหน้าเรา. ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟลุกโพลงต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่า ไฟนี้ลุกโพลงอยู่ ต่อหน้าเรา. ดูกรวัจฉะ ถ้าใครๆ พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไร จึงลุกโพลง ท่านถูกถามอย่างนี้แล้วจะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร? ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าใครๆ ถามข้าพเจ้าอย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงต่อหน้าท่านนี้ อาศัย อะไรจึงลุกโพลง ข้าพเจ้าถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรานี้ อาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุกโพลงอยู่. ดูกรวัจฉะ ถ้าไฟนั้นพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านพึงรู้หรือว่า ไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว? ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟนั้นดับไปต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่าไฟนี้ดับไปต่อหน้า เราแล้ว. ดูกรวัจฉะ ถ้าใครๆ พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ไฟที่ดับไปแล้วต่อหน้าท่านนั้น ไปยังทิศ ไหนจากทิศนี้ คือทิศบูรพา ทิศปัศจิม ทิศอุดร หรือทิศทักษิณ ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะ พึงพยากรณ์ว่าอย่างไร? ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้อนั้นไม่สมควร เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุก แต่เพราะเชื้อนั้นสิ้นไป และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเชื้อ ไฟนั้นจึงถึงความนับว่าไม่มีเชื้อ ดับ ไปแล้ว.การละขันธ์ ๕ [๒๕๑] ฉันนั้นเหมือนกัน วัจฉะ บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะ รูปใด รูปนั้นตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่ารูป มีคุณอันลึก อันใครๆ ประมาณ ไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก. เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะ กล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิด ก็หามิได้. บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะเวทนาใด ... เพราะสัญญาใด ... เพราะ สังขารเหล่าใด ... เพราะวิญญาณใด ... วิญญาณนั้น ตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้ดุจเป็นตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการ นับว่าวิญญาณ มีคุณอันลึก อันใครๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก. เปรียบเหมือน มหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิด ก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิดก็หามิได้.ปริพาชกวัจฉโคตรถึงสรณคมน์ [๒๕๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วัจฉโคตตปริพาชกได้ทูลพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม เปรียบเหมือนต้นสาละใหญ่ ในที่ใกล้บ้านหรือนิคม กิ่ง ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้ ของต้นสาละใหญ่นั้น จะหลุดร่วง กะเทาะไปเพราะเป็นของไม่เที่ยง สมัย ต่อมา ต้นสาละใหญ่นั้นปราศจาก กิ่ง ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้แล้ว คงเหลืออยู่แต่ แก่นล้วนๆ ฉันใด พระพุทธพจน์ของท่านพระโคดม ก็ฉันนั้น ปราศจากกิ่ง ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้ คงเหลืออยู่แต่คำอันเป็นสาระล้วนๆ. ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของ พระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศ ธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ถึงท่านพระโคดม พระธรรมและภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดม จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.