ผลงานของชายคนหนึ่งซึ่งนอกจากตามหลักสูตรของโรงเรียนแล้ว ต้องเรียนรู้ศึกษาหาความรู้เอง ทั้งหลักธรรมและการประพันธ์ ชอบคิด-วิเคราะห์-สรุปบทเรียนใหม่เป็นประจำ แล้วบันทึกไว้เป็นบทกวีเพราะมิเช่นนั้นจะลืมบทเรียนเก่า คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง จึงโพสต์สู่สื่อสาธารณะ
วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566
การแสวงหาที่ประเสริฐ : กลอนคติธรรม
การแสวงหาที่ประเสริฐ : กลอนคติธรรม
๏ (แมวจร)เลี้ยงแต่ออก แต่อ้อน มาจรจาก................ยังทำใจ ได้ลำบาก ยากนักหนา
(แม้เข้าใจ)ความเจ็บไข้ ไม่สบาย วายมรณา..........คือปกติ ชีวา โลกสากล
๏ อันชีวี มิใช่ อะไร(ที่สวย)หรู..................................ความคับข้อง (เป็น)ครรลองอยู่ คู่เหตุผล
ทำให้ชี วิตไซร้ ไม่พิมล......................................อย่างที่คน ทั่วไป รักใคร่ปอง
๏ การเวียนว่าย ตาย-เกิด ประเสริฐไร้........................วัฏฏะสง สารไซร้ ไม่ผุดผ่อง
มีความทุกข์ คลุกเคล้า โศกเศร้าครอง..................มิพึงตรอง มองข้าม (ความ)เป็นธรรมดา
๏ สู้อุตส่าห์ เสาะแสวง แหล่งกุศล............................ที่ส่งผล ล้นสุข สิ้นทุกขา
หมั่นทำบุญ สุนทาน เสริมปัญญา.........................ฝึกสมาธิ วิปัสสนา เป็นอาจิณ
๏ เลิกก่อกรรม กระทำเข็ญ (จะ)เร้นเศร้าโศก..............อย่าพึ่งโชค จงพึ่งธรรม (จด)จำถวิล
สุจริต ทิศา มุ่งหากิน...........................................ไร้ราคิน นินทา สถาพร
๏ โลภ-ร้าย-หลง จงปัด กำจัดเป่า.............................(เพราะเป็น)บาปสถุล มูลเค้า ทุกข์เร่าร้อน
ความยึดมั่น-ตัณหา มิอาวรณ์................................คือเงื่อนไข ไถ่ถอน รอนวัฏฏา
๏ ผู้ประสงค์ นิพพาน อันประเสริฐ.............................หยุดเวียนว่าย ตายเกิด เลอเลิศหา
จงทุ่มเท สรรพกำลัง ทั้งชีวา.................................เพราะใช่ว่า จะง่ายดาย หมายนิพพาน
๏ อย่าเอาแต่ แส่สม ใช้ลมปาก................................มิกระดาก สากใจ ไสโวหาร
เสพโลกีย์ วิสัย ใจสามานย์...................................โลกธรรม สำราญ ช่างด้านชาฯ
๑๐ มีนาคม ๒๕๖๖
๖. ปาสราสิสูตร ว่าด้วยกองบ่วงดักสัตว์ การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ [๒๗๔] ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหามี ๒ อย่าง คือ (๑) การแสวงหาที่ ประเสริฐ (๒) การแสวงหาที่ไม่ประสริฐ การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ ตนเองมีความเกิดเป็นธรรมดายังแสวงหาสิ่งที่มีความเกิด เป็นธรรมดาอยู่อีก ตนเองมีความแก่เป็นธรรมดายังแสวงหาสิ่งที่มีความแก่เป็น ธรรมดาอยู่อีก ตนเองมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็น ธรรมดาอยู่อีก ตนเองมีความตายเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความตายเป็น ธรรมดาอยู่อีก ตนเองมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าโศกเป็นธรรมดาอยู่อีกตนเองมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาอยู่อีกภิกษุทั้งหลาย หากเธอทั้งหลายถามว่า อะไรเล่า เรียกว่าสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา คือ บุตร ภรรยา ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่าสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาเหล่านั้นเป็นอุปธิ๑- ผู้ที่ติดพันลุ่มหลงเกี่ยวข้องในอุปธิเหล่านั้น ชื่อว่าตนเองมีความเกิดเป็นธรรมดา ก็ยัง แสวงหาสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาอยู่อีก อะไรเล่า เรียกว่าสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา คือ บุตร ภรรยา ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่าสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพันลุ่มหลงเกี่ยวข้องในอุปธิเหล่านั้น ชื่อว่าตนเองมีความแก่เป็น ธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาอยู่อีก อะไรเล่า เรียกว่าสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา คือ บุตร ภรรยา ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่าสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพันลุ่มหลงเกี่ยวข้องในอุปธิเหล่านั้น ชื่อว่าตนเองมีความเจ็บไข้เป็น ธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาอยู่อีก อะไรเล่า เรียกว่าสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา คือ บุตร ภรรยา ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่าสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพันลุ่มหลงเกี่ยวข้องในอุปธิเหล่านั้น ชื่อว่าตนเองมีความตายเป็น ธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาอยู่อีกอะไรเล่า เรียกว่าสิ่งที่มีความเศร้าโศกเป็นธรรมดาคือ บุตร ภรรยา ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่าสิ่งที่มีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา สิ่งที่มีความเศร้าโศกเป็น ธรรมดาเหล่านั้นเป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพันลุ่มหลงเกี่ยวข้องในอุปธิเหล่านั้น ชื่อว่าตนเอง มีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าโศกเป็นธรรมดาอยู่อีก อะไรเล่า เรียกว่าสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา คือ บุตร ภรรยา ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่าสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา สิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็น ธรรมดาเหล่านั้นเป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพันลุ่มหลงเกี่ยวข้องในอุปธิเหล่านั้น ชื่อว่าตนเอง มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาอยู่อีก นี้คือการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐการแสวงหาที่ประเสริฐ [๒๗๕] การแสวงหาที่ประเสริฐ เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ ตนเองมีความเกิดเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษใน สิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหานิพพานที่ไม่มีความเกิด ไม่มีธรรมอื่น ยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ ตนเองมีความแก่เป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมแสวงหานิพพานที่ไม่มีความแก่ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ ตนเองมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ย่อมแสวงหานิพพานที่ไม่มีความเจ็บไข้ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ ตนเองมีความตายเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหานิพพานที่ไม่มีความตาย ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ ตนเองมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความเศร้าโศก เป็นธรรมดา ย่อมแสวงหานิพพานที่ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และ เกษมจากโยคะตนเองมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหานิพพานที่ไม่มีความเศร้าหมอง ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ นี้คือการแสวงหาที่ประเสริฐ [๒๗๖] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ตนเองมี ความเกิดเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาอยู่นั่นแล ตนเองมี ความแก่เป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาอยู่นั่นแล ตนเองมี ความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาอยู่นั่นแล ตนเอง มีความตายเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาอยู่นั่นแล ตนเอง มีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าโศกเป็นธรรมดาอยู่นั่นแล ตนเองมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็น ธรรมดาอยู่นั่นแล เราจึงคิดอย่างนี้ว่า ‘เรามีความเกิดเป็นธรรมดา ไฉนยังแสวงหาสิ่งที่มีความ เกิดเป็นธรรมดาอยู่อีก’ เรามีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ... มีความตายเป็นธรรมดา ... มีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ... มีความเศร้าหมอง เป็นธรรมดา ไฉนยังแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาอยู่อีก’ ทางที่ดี เราเองมีความเกิดเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาแล้ว ควรแสวงหานิพพานที่ไม่มีความเกิด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ เราเองมีความแก่เป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแล้ว ควรแสวงหานิพพานที่ไม่มีความแก่ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ เราเองมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา แล้ว ควรแสวงหานิพพานที่ไม่มีความเจ็บไข้ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ เราเองมีความตายเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา แล้ว ควรแสวงหานิพพานที่ไม่มีความตาย ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะเราเองมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความเศร้าโศกเป็นธรรมดาแล้ว ควรแสวงหานิพพานที่ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ เราเองมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความเศร้าหมอง เป็นธรรมดาแล้ว ควรแสวงหานิพพานที่ไม่มีความเศร้าหมอง ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ....
เสมือนยาหมดอายุ : กาพย์ยานี๑๑
เสมือนยาหมดอายุ : กาพย์ยานี๑๑
๏ ๓ ปี ที่พันผูก....................................หลังจากถูก คนทิ้งขว้าง(ทิ้งวัด)
(รับลูกแมว)เลี้ยงดู อยู่ไม่ห่าง............มิจืดจาง รักจากจร
๏ แต่ทว่า ชะตาชีวิต.............................ถูกลิขิต ยากผลัดผ่อน
(เมื่อ)เวรกรรม ตามมาย้อน................(สนอง)ผลสะท้อน เหมือนสัญญา(ที่ทำกันไว้ก่อน)
๏ เกิด-แก่ และเจ็บ-ตาย........................คือเครื่องหมาย ของสังขาร์
คงอยู่ คู่ชีวา....................................ทุกชีวา อย่าเผลอใจ
๏ เร็ว-ช้า ต้องมาสู่................................แค่บ่รู้ คือวันไหน
วันที่ ชีวีใคร.....................................ต้องจากไกล ตลอดกาล
๏ ข่มจิต อย่าคิดเศร้า............................รู้ทันเท่า วัฏสงสาร
(คือ)เหตุผล ดลบันดาล.....................ให้พานพบ ประสบเป็น(การเวียนว่ายตายเกิด)
๏ (ความ)ตายเอื้อ เพื่อไปเกิด................(มีชีวิตใหม่)ทราม-ประเสริฐ สุข(หรือ)ทุกข์เข็ญ
ก็แล้ว แต่กรรมเวร.............................จงแลเห็น เช่นสัจจะ
๏ เสมือนยา หมดอายุ............................มิควรลุ แก่โมหะ
ปลงใจ ใคร่เสียสละ...........................ปลดพันธะ ละผูกพัน
๏ ปล่อยกาย ไปกับดิน...........................สู่ปัถพิน อินทรีย์สรรค์
ธรรมชาติ ธาตุอนันต์..........................อย่ายึดมั่น เปลื้องพันธนา(พันธนะ=การผูก,การมัด,การจับขัง)
๏ สำคัญ วารยังอยู่(ยังมีชีวิต)..................จงล่วงรู้ ในคุณค่า
ครรลอง ของเวลา..............................เพื่อแสวงหา บุญบารมีฯ
๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖
วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2566
วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566
วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2566
วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2566
วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2566
วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2566
จงฝึกความคิด อย่าฝึกจิตใจ : กาพย์ฉบัง๑๖
วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2566
บาปเกิดจากการเบียดเบียน(ผู้อื่น) : กลอนคติเตือนใจ
บาปเกิดจากการเบียดเบียน(ผู้อื่น) : กลอนคติเตือนใจ
๏ ทำคุณ กับใคร คงไม่บาป................................จนตราบ จับขั้ว ชั่วสาไถย
เบียดเบียน เขาจน ท้นทุกข์ใจ..........................ทุกข์กาย ; จะได้รับ กลับทรมาน
๏ บาปกรรม จึงเกิด ละเมิดก่อ.............................ติดต่อ ส่อสัจ วัฏสงสาร
กฎแห่ง เวรกรรม ตามบันดาล...........................ให้พาน พบทุกข์ คลุกกลับคืน
๏ ความเห็น แก่ตัว คือหัวใจ................................(ก่อ)บาปกรรม์ จัญไร ใจระรื่น
(คิดว่า)เอารัด เอาเปรียบ เหยียบ(ย่ำ)ผู้อื่น-.........ได้ ; ชื่น สุขสม ภิรมย์ฤดี
๏ (เอารัด)เอาเปรียบ เขาได้ ใครว่าฉลาด?............กฎหมาย (อาจจะ)ไม่อาจ ตัดสินชี้(ลงโทษ)
แต่กฎ แห่งกรรม (จะ)ตามราวี...........................ไม่มี(ทาง) หนีรอด ปลอดภัยพา
๏ ศีล ๕* เป็นเกราะ ป้องกันใคร-..........................ต่อใคร ไม่ให้ ไป(สร้างบาป)หยาบช้า
หลักใหญ่ ใจความ คือสัมมา**...........................มิปรารถ (ถะ)นา จะเบียดเบียน(ใคร)
๏ ธรรมคือ หิริ โอตตัปปะ....................................(ช่วย)เอาชนะ อกุศล กมล(อกุศลจิต)เสถียร
ลบล้าง ทางโฉดฉล หลงวนเวียน.......................(ช่วยให้)พากเพียร ประพฤติ ยึดคลองธรรม
๏ ศีลธรรม นำทาง สว่างไสว................................บาปกรรม์ จัญไร มิกรายกล้ำ
แต่สำ คัญใจ (ต้อง)ใคร่ประจำ............................เคารพ หลัก(ศีล)ธรรม ล้ำเลอจินต์(จินต์=คิด)
๏ อย่ายก ยอตน ยลเป็นใหญ่...............................กระทำ ตาม(อำเภอ)ใจ ใฝ่ถวิล
(จะ)พ้นข้อ ครหา ไร้ราคิน..................................(มี)ชีวิน สุขสันตฺิ์ (ตราบ)กาลนานเอยฯ
๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖
เบญจศีล (ศีล ๕)
เป็นหลักธรรมประจำสังคมที่มีมาก่อนพุทธกาลแล้ว ปรากฏในจักกวัตติสูตร[ (บาลี: จกฺกวตฺติสุตฺต) อันกล่าวถึงเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิตรัสสอนประชาชนว่า ท่านทั้งหลายต้องไม่ฆ่าสัตว์ (บาลี: ปาโณ น หนฺตพฺโพ), ต้องไม่ถือเอาของที่เขามิได้ให้ (บาลี: อทินฺนํ น อาทาตพฺพํ), ต้องไม่ประพฤติไม่เหมาะสมทางเพศ (บาลี: กาเมสุ มิจฺฉา น จริตพฺพา), ต้องไม่กล่าวเท็จ (บาลี: มุสา น ภาสิตพฺพา) และต้องไม่บริโภคสุรายาเมา (บาลี: มชฺชํ น ปาตพฺพํ) ต่อมา เมื่อมีผู้ประพฤติผิดจากที่พระเจ้าจักรพรรดิสอน จึงมีการลงโทษด้วยวิธีจับแขนไพล่หลังแล้วเอาเชือกเหนียวมัดอย่างมั่นคง โกนผม และประโคมบัณเฑาะว์เสียงกร้าว แห่ประจานไปตามถนนและตรอกซอกซอย พาออกไปทางประตูเมืองทิศใต้ ก่อนประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ
..........
ต่อมาพระโคตมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นและประกาศศาสนาพุทธก็ทรงยอมรับเอาข้อห้ามห้าประการตามจักวัตติสูตรมาสั่งสอนในพุทธศาสนาอย่างแพร่หลาย เรียกว่า "ศีล" บ้าง "สิกขาบท" บ้าง แต่ในทางปฏิบัติหมายถึง เจตนางดเว้นจากการกระทำความชั่วห้าประการข้างต้น ไม่เพียงเท่านี้ ครั้งเสด็จออกบรรพชาก็ทรงถือปฏิบัติตามคุณธรรมนักบวชสี่ประการดังกล่าว โดยทรงขนานชื่อว่า "อกรณียกิจ 4" แปลว่า เรื่องที่นักบวชไม่พึงทำสี่ประการ และทรงนำไปเป็นเกณฑ์บัญญัติพระวินัยอีกด้วย ที่เห็นได้ชัดคือ ปาราชิก 4
...........
( จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี )วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2566
วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2566
พ่อมดหมอผี : กลอนคติสอนใจ
ก้อม ภาษาอีสาน แปลว่า สั้น, ไม่ยาว, เตี้ย, หด
(https://esan108.com/dict/view/%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1)
พ่อมดหมอผี : กลอนคติสอนใจ
๏ พ่อมด หมอผี...........................................ประกอบ พิธี คุณไสย
แต่ไหน แต่ไร.........................................มีอยู่ ทั่วไป ในโลกา
๏ ทำตาม ความเชื่อ......................................ความเหลือ เชื่อเพื่อ (สม)ปรารถนา
ตอบสนอง อุรา........................................(ที่)ไร้สา ระโง่ งมงาย
๏ เมื่อพุท ธ(ะ)ศาสนา...................................เข้ามา เผยแผ่ แพร่หลาย
(จึง)ผสมผสาน กัน ; กลาย........................ขยาย คลายตาม กรรมพิธี
๏ พระห่ม ผ้าเหลือง......................................ฟุ้งเฟื่อง เรื่อง(เวท)มนต์ หมอผีฯลฯ
(บวช)หาความ มั่งมี..................................หวงแหน(ยศถาบรรดาศักดิ์) แทนที่ นิพพาน
๏ คาถา อาคม..............................................เป็นที่ นิยม ของชาวบ้าน
ใบ้หวย รวย(ทะเยอ)ทะยาน.......................ปราดเปรียว เชี่ยวชาญ การไกร
๏ พุทธ(ะ) ศาสนา.........................................แปร(เปลี่ยน)ปาน มารยา สาไถย
(เป็นพุทธ)เพียงเปลือก นอกไซร้................พร่ำเพรื่อ เนื้อใน (เป็น)ไสยศาสตร์
๏ พระไม่ ใช่สมณะ(ผู้สงบกิเลส).....................(ประพฤติ)เสมอ ชีวะ ฆราวาส
ตัณหา ดารดาษ........................................ฉกาจ กิเลส เจตนา
๏ ศีลห่าง ว่างเว้น(ไม่ทำตามธรรมวินัย)............ชาวบ้าน บ่เห็น เป็นปัญหา
(เพราะ)สิ่งที่ ต้องตา(ต้องใจ)......................ปรารถนา (คือ)พ่อมด หมอผีฯ
๑๐ มีนาคม ๒๕๖๖
วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2566
วิถีธรรมชาติคือปรัชญา : กลอนคติสอนใจ
วิถีธรรมชาติคือปรัชญา : กลอนคติสอนใจ
๏ เพราะมี PM. 2.5.................................................ความร่า เริงใจ พลอยหายหนี
ลำบาก ยากเข็ญ เป็นทุกข์มี...............................สุขภาวะ ที่ดี ทำยังไง?
๏ ปัญหา ใหญ่ยิ่ง สิ่งแวดล้อม..................................เพรียงพร้อม (ปัญหา)เศรษฐกิจ วิกฤติไฉน
บ่รู้ ว่า(กู)ทำ กรรมอะไร(ไว้)?..............................ถึงได้ ตามสนอง ต้องทัณฑา(ทัณฑ์)
๏ (มีเงิน)อยากซื้อ เสื้อใหม่ ใส่หน้าร้อน.....................ต้องย้อน เป็นทุกข์ เพราะ(กาม)ตัณหา?
ขนาด(size) ต้องพอดี มีอุปาทาน์(ยึดมั่น).............ทำให้ ทุกขา หรือกระไร?
๏ อยากเป็น คนดี มีวิชา...........................................ตั้งหน้า ตั้งตา ปฏิบัติใฝ่
บ่เห็น เป็นทุกข์ คุกคามใจ...................................(มี)ภว ตัณหาไง ใครว่าไม่ดี?
๏ ไม่อยาก ติดคุก ติดตะราง.....................................จึงละวาง ทางชั่ว มั่วบัดสี
ร้างเร้น เป็นทุกข์ ไร้คลุกคลี.................................ทั้งๆ ที่มี วิภวะ(ตัณหา)*
๏ อยากแล้ว ไม่ได้ ดั่งใจอยาก..................................ต่างหาก (ที่)ทำให้ ไร้สุขะ(ไม่ใช่ทุกข์เพราะอยาก)
อภิรมย์ สมใจ (เมื่อ)ได้ชัยชนะ..............................ธรรมะ ไม่ดู ก็รู้ดี
๏ ความจริง บนโลก ตามปกติ....................................หากมิ เกียจคร้าน ปัญญาลี้(โง่เขลา)
ธรรมะ ย่อมจะเห็น เด่นดุษณี.................................(เพราะ)วิถี ธรรมชาติ คือปรัชญา
๏ ควบคุม จิตใจ ให้เป็นกุศล......................................ส่งผล สุคติ มิทุกขา
เมื่อกฎ แห่งกรรม คือธรรมดา(ความจริง).................ศึกษา ให้ปรากฏ เห็นบทเรียนฯ
๙ มีนาคม ๒๕๖๖
*ว่าตามความเป็นจริง ความอยากหรือตัณหาไม่ไช่สาเหตุที่ทำให้เป็นทุกข์โดยตรง
ถ้าความอยากได้รับการตอบสนองก็ทำให้เป็นสุข ถ้าไม่สมอยากก็จะทำให้เป็นทุกข์
ผู้เขียนเข้าใจว่า
ที่พระพุทธเจ้าสอนให้กำจัดความอยาก(ตัณหา) เพราะถ้าอยาก(มีตัณหา)แล้ว จะควบคุมผลลัพธ์ยากหรือควบคุมไม่ได้เลย อาจจะทำให้เป็นสุขหรือทุกข?
แต่เราควบคุมความอยาก(ตัณหา)ได้ ถ้าไม่มีความอยาก(ไม่มีตัณหา)ก็จะไม่มีความทุกข์
แน่นอนว่า จะไม่มีความสุขด้วย
แต่ไม่สำคัญ เพราะพระพุทธเจ้ามองว่า ความสงบเป็นความสุขที่สุด นิพพานเป็นสภาวะที่สงบที่สุด
ศาสนาพุทธยกย่องความสงบไม่ใช่ความสุข.