ผลงานของชายคนหนึ่งซึ่งนอกจากตามหลักสูตรของโรงเรียนแล้ว ต้องเรียนรู้ศึกษาหาความรู้เอง ทั้งหลักธรรมและการประพันธ์ ชอบคิด-วิเคราะห์-สรุปบทเรียนใหม่เป็นประจำ แล้วบันทึกไว้เป็นบทกวีเพราะมิเช่นนั้นจะลืมบทเรียนเก่า คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง จึงโพสต์สู่สื่อสาธารณะ
วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
มากกว่าแค่ "วงจรชีวิต" : กาพย์ยานี๑๑
มากกว่าแค่ "วงจรชีวิต" : กาพย์ยานี๑๑
๏ (หาก)เจาะจง เพียง "วงจร............................ชีวิต" รอน ทอนแก่นสาร(เนื้อหาสาระ)
(ก็แค่)เกิด-แก่-(เจ็บ) แลวายปราณ................ลาญสลาย ไร้ตัวตน
๏ ชีวิต (ถ้า)คิด(อย่าง)หยาบๆ...........................ย่อมไม่ซาบ ซึ้งเหตุ-ผล
สงสาร(วัฏ) การเวียนวน...............................เกิดเป็นคน สัตว์ฯลฯวนเวียน
๏ (มี)อารมณ์ ความรู้สึก....................................จิตเบื้องลึก มิแปรเปลี่ยน
สัตว์-คน กระมลเคียน...................................บ่ผิดเพี้ยน เนียนคล้ายคลึง(เคียน=พัน, คาด)
๏ (มี)ความรัก ความผูกพัน................................กันและกัน หมั่นคิดถึง
(มีความ)นึกคิด จิตคะนึง...............................ซึ่งกิจกรรม(ที่อยากทำ) ความหวังมี
๏ (เมื่อ)ประสบ พบเหตุการณ์............................ดลบันดาล มานสุขี
หรือทุกข์ ใจคลุกคลี.....................................ดวงฤดี อยู่มิคลาย
๏ (ได้รับการ)กระทบ กระเทือนกมล...................อยู่จวบจน ชนม์สลาย
สู่กระแส แวะเวียนว่าย...................................กำเนิดใหม่ ในวัฏฏา
๏ (ตาม)ผลสนอง ครรลองธรรม.........................กฎแห่งกรรม นำไปหา
พบพาน การณ์นานา......................................เสมอมี ที่เคยดล(ทำไว้ในอดีต)
๏ (มุมมอง)ชีวิต วินิจฉัย....................................เป็นปัจจัย ในเหตุผล
(การ)กระทำ กรรมของคน...............................ต่อตัวตน (และ)คนอื่นเอยฯ
๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
ธรรมะจะคงอยู่คู่กาลเวลา : กลอนคติสอนใจ
๏ (คำว่า)กิเลส ตัณหา อุปาทานฯลฯ........................เนิ่นนาน บัญญัติ ก่อน(พุทธ)ศาสน์สมัย
นักปราชญ์(ในอดีต) รู้ซึ้ง ก้นบึ้งใจ....................ของสัตว์ ทั้งหลาย ในโลกีย์
๏ (ความมี)ราคะ โทะ โมหะฯลฯไซร้.........................ปัจุบัน ยังไม่ ไคลวิถี
(คนจะ)ใช้ฟืน ใช้ไฟ(ฟ้า) หาได้มี......................ดวงฤดี แตกต่าง อย่างเดียวกัน
๏ ธรรมะ จึงอยู่ คู่กาลเวลา......................................เพราะเป็น สัจจา หาแปรผัน
มนุษย์ ทุกยุค ทุกชาติพันธุ์...............................(มีลักษณะ)ตรงตาม หลักธรรม์ อันธรรมดา
๏ (ฐานะ)รวย-จน คนไซร้ ไร้แตกต่าง.......................อยู่ห่าง (หรืออยู่)กลางสถาน การศึกษา
บ่เคย ได้ยิน หรือชินชา.....................................(คำว่า)กิเลส ตัณหา เสมอมี(มีเหมือนกัน)
๏ ผู้ไม่ ถือตาม หลักธรรมะ.....................................ย่อมจะ ยากไร้ ไคลสุขี
ส่วนผู้ ประพฤติ ยึดความดี.................................ย่อมมี คติสุข สิ้นทุกข์ตรม
๏ ไม่ใช่ ชอบอวด ว่าบวชเรียน................................เป็นเปรียญ กี่ประโยค ก็โศกสม
หากดี แค่เทศน์-ท่อง คล่องคารม.......................แต่นิยม ชมชั่ว มั่วราคิน
๏ (ถึง)ไม่ได้เรียน บาลี ถ้ามีธรรม.............................เป็นเครื่อง เปลื้องกรรม คำติฉิน
ทำดี ด้วยฤดี ที่ประทิน.......................................(ย่อม)ได้ดี ชีวิน ไร้ภินท์พา
(ประทิน=ทำให้สะอาดหมดจด , ภินท์=แตกหัก,ทำลาย)
๏ ธรรมะ (คือสิ่ง)ประเสริฐ เลอเลิศทรัพย์...................ผู้สดับ รับไว้ (จะ)ไร้กังขา
ส่วนคน ขาดสติ อวิชา........................................(ชอบ)ใช้ธรรมะ หากิน ปลิ้นปล้อนเอยฯ
๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
กามฉันทะละวางเป็นทางประเสริฐ : กลอนคติธรรม
กามฉันทะละวางเป็นทางประเสริฐ : กลอนคติธรรม
๏ หมู่ผกา หน้าหนาว พราวผุดผ่อง........................แข่งแสงเงิน แสงทอง ครองสีสัน
ประเชิญโชค โรคแมลง แปลงชีวัน....................สวนดอกไม้ (หา)ใช่สวรรค์ ดั่ง(กวี)พรรณนา
๏ อุปกา ระแมวจร จนอ่อนจิต................................ยงชีวิต ให้อยู่รอด (เป็น)ยอดปัญหา
เดี๋ยวประสบ ป่วยไข้ วายชีวา............................ค่ารักษา(โรค) อาหาร บานตะไท(เสียเวลามาก)
๏ เศรษฐกิจ อิดหนา ค่าครองชีพ...........................คนปากกัด ตีนถีบ (ความหวัง)ริบหรี่ไฉน
(แม้)กระทั่งเศรษ ฐียัง กังวลใจ.........................ยอดรายได้ หายหด (ต้อง)ปลดคนงาน
๏ (การ)มีชีวิต คิดให้ดี มิใช่อื่น...............................ธรรมชาติผืน พสุธา ปราศปาฏิหาริย์
หากจะมี พิภพใด ในจักรวาล............................บ่แคล้วพาน ปัญหา(นานา) เป็นอาจิณ
๏ เพียงกามคุณ หนุนนำ ความสุขี...........................ชวนอยากมี ชีวิต เฉกนิจสิน
กลัวความตาย คล้ายวิกล จนเคยชิน..................หวงชีวิน (ดุจ)หินหุ้มไข่(ไข่ในหิน) ความหมายมอง
๏ (แท้จริง)การเวียนว่าย ตายเกิด ประเสริฐไม่..........(การ)มีร่างกาย หนีไม่พ้น วังวนสนอง
สงสารวัฏ (ฏะ)จักรไซร้ ไร้เรืองรอง.....................คือครรลอง ของไตรลักษณ์ ประจักษ์เจน
๏ กามคุณ ก็ไม่เที่ยง เมียงมองเถิด.........................มี(การ)เวียนว่าย ตายเกิด(เกิด-ดับ) เลอเลิศเร้น
การได้(กามคุณ)มา มีอุปสรรค ยากใช่เล่น...........สมควร(ละ)เว้น รักเอ็นดู ชูเชิดชัย
๏ กามฉันทะ ละวาง เป็นทางประเสริฐ......................ตัดต้นสาย อยาก(เวียนว่าย)ตายเกิด เลยเถิดได้
(มีแต่)อริยะ บุคคล จึงสนใจ...............................พากเพียรให้ ไม่(เวียนว่าย)ตายเกิด บรรเจิดเอยฯ
๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
*พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาตกามคุณสูตร [๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วย จมูก ฯลฯ รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละ กามคุณ ๕ ประการนี้แล ฯ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
ภพ 3 (ภาวะชีวิตของสัตว์, โลกเป็นที่อยู่ของสัตว์)
1. กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร, ภพของสัตว์ผู้ยังเสวยกามคุณคืออารมณ์ทางอินทรีย์ทั้ง 5 ได้แก่ อบาย 4 มนุษยโลก และกามาวจรสวรรค์ทั้ง 6)
2. รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงรูปฌาน ได้แก่ รูปพรหมทั้ง 16 )
3. อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน ได้แก่ อรูปพรหม 4)
หมายเหตุของผู้เขียน :
ปุถุชนคนทั่วไป ย่อมติดใจ-มีความสุขกับกามคุณ๕
กามคุณ๕ เป็นปัจจัยแห่งความสุขในกามภพ
การขาด-ลดละกามคุณ๕ ทำให้เกิดความทุกข์
แนวทางพ้นทุกข์ของคนทั่วไปจึงแตกต่างจากวิถีของพุทธศาสนา.