ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ธรรมะคืออะไร ? : กลอนแปด



ธรรมะคืออะไร ? : กลอนแปด

    อธิบาย นัยความ ของธรรมะ................คือสัจจะ ความจริง ยิ่งยวดเห็น
เกินสัมผัส ทั้งห้า โลกประเด็น.........โดยเฉพาะเช่น โลกุตร์ จากพุทธองค์(โลกุตร์=โลกุตระ)

    อีกความหมาย ของธรรม (คือ)ความถูกต้อง...ที่สอดคล้อง สัจจา อานิสงส์
ไม่เอนเอียง-โง่เขลา-มัวเมา-งง.................ไม่ขึ้นตรง อัตตา ค่านิยม

    คือตัวบท กฎเกณฑ์ เป็นธรรมชาติ.........แห่งโลกธาตุ ปัจจัย กว้าง-ใหญ่สม
ความเป็นเหตุ เป็นผล กลกลืนกลม............อย่างอุดม สมบูรณ์ ดุลย์นิรันดร์

    คือความดี มีศีล ธรรมเป็นต้น................ซึ่งบุคคล ก่อกรรม ทำกวดขัน
คนทำดี (ย่อม)ได้ดี จิรนันท์.....................ชื่นสุขสันติ์ บันเทิง เริงฤทัย

    คือคำสอน สัทธรรม นำชี้แนะ...............โดยแยกแยะ แจกแจง แสดงไว้
จนรู้แจ้ง เห็นจริง สิ่งอันใด.......................ที่เป็นมา เป็นไป ในสัจจา

    คือหลักการ จรรยา พรตปฏิบัติ..............เพื่อขจัด ปัดทุกข์ รุกปัญหา
อำนวยสุข สันติ แด่ชีวา...........................ผลชะงัด พัฒนา สถาพร

    คือสรรพสิ่ง ทุกอย่าง ทั่วทั้งหมด...........ในทิศทศ ทัศนา อดิศร
ธรรมเป็นสิ่ง ยิ่งใหญ่ ไกรบวร....................คู่สัจจา อากร อุบัติการณ์

    ธรรมเกี่ยวข้อง ผองชน ท้นชีวิต.............แม้ว่าใคร ไม่คิด อธิษฐาน
ธรรมประเด็น เป็นหลัก แห่งจักรวาล............ภพ-ชาติ-วัฏฏ์-สังสาร-นิพพาน ฯลฯเอย ฯ

๙ ธันวาคม ๒๕๕๗

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น