ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

กลอนแปด : มะม่วง สอน ธรรมะ

                                                          

กลอนแปด : มะม่วง สอน ธรรมะ

      กลางมีนาฯ มะม่วง ทุกปวงพันธุ์            ทยอยกัน ผันผล เต็มต้นหลาม
ละลานย้อย ห้อยยวง เป็นพวงงาม                ลมพัดพล่าม ระบำโยก โบกสบาย

     มะม่วงสด รสเลิศ หอมเฉิดฉันท์             พร้อมผิวพรรณ สันสี ที่เฉิดฉาย
ชนนิยม ชมชื่น ตื่นติดดาย                         ต่างหลงหลาย ใฝ่หา รสตระการ

     หากแม้เพียง ผิวสวย รวยสันสี                ไร้รสดี มิหอม กล่อมมัน-หวาน
มะม่วงคง หลงไร้ ใครต้องการ                      สูญสิ้นพันธุ์ รานทิ้ง ไม่กริ่งใจ

      หากแม้เพียง ผิวทราม ไม่งามสี              รสหวานดี หอมหวน ชวนหลงใหล
(ย่อม)ยังเป็นที่ นิยม ชมทั่วไป                     ต่างปลูกไว้ ขยายแพร่ แลหลากพันธุ์

      เปรียบเสมือน คนสวย รวยความดี            ย่อมเป็นที่ หมายปอง จ้องเสพสันติ์
หากรูปสวย ใจทราม สิ้นสำคัญ                     ขี้เกียจพาล รั้นไพร่ ใครใคร่ครอง

      แม้รูปชั่ว ตัวดำ ไม่งามสวย                    แต่รุ่มรวย ด้วยความดี ไม่มีสอง
จริยวัตร ปราดเปรื่อง การย์เรืองรอง                คนหมายปอง ครองรู้ เป็นคู่เรือน

      ทานผลไม้ ได้คิด พินิจเถิด                     ธรรมประเสริฐ เลิศคติ มั่งมีเหมือน
สุภาษิต นิดหน่อย คอยย้ำเตือน                     อย่าลืมเลือน เบือนดี ศีลธรรมเอย ฯ

๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น