ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การเดินจงกรมเบื้องต้น


                                         

การเดินจงกรมเบื้องต้น   

                              

อานิสงส์ของ การนั่งสมาธิ กับ การเดินจงกรม
ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว

ผลที่เหมือนกัน คือ
ได้สมาธิ-มีสติ-อุเบกขา-สงบ-ระงับกิเลส-สนับสนุน วิปัสสนากรรมฐาน ฯลฯ

ผลที่ต่างกัน คือ
เดินจงกรม :มีสติ มั่นคงกว่า-ติดนานกว่า ทุกอิริยาบท
ระบบย่อยอาหารดี-สุขภาพของร่างกายดี-ร่างกายแข็งแรง โดยเฉพาะ ขา ฯลฯ
แต่ไม่มีทางได้ ฌาน-อภิญญา

นั่งสมาธิ (อานาปานสติ) :  ได้สติลึกกว่า-ละเอียดกว่า-สงบกว่า
ที่สำคัญ เป็นวิธีทำให้ได้ ฌาน-อภิญญา

วิธีเดินจงกรม

ต้องเตรียมทางเดินตรงๆ-ราบเรียบ ยาวประมาณ ๑๕ - ๒๐ เมตร กว้าง ประมาณ ๑ เมตร เป็นดินละเอียด-อัดแน่น จะดีที่สุด
ไม่มีสิ่งยั่วยวนกิเลสรอบข้าง - เงียบเสียง - ไร้คน / สัตว์ 
เป็นร่มเงา-สว่าง-ไม่หนาว-ไม่ร้อนเกินไป-ลมสงบด้วย

การเดิน ต้องเท้าเปล่า  มือประสานกันด้านหน้า
ก้มหน้าเล็กน้อย มองพื้นไปข้างหน้า  ๑ เมตร

ใจสงบ-ลมหายใจเบา-ยาว-ลึก (พอดีๆ)
ไม่คิดอย่างอื่น 
เพ่งความสนใจไปที่การก้าว - การยก - การเหยียบของเท้า
ก้าวที่ละก้าว-ช้าๆ
สุดทางให้หยุดสักครู่ ค่อยๆหมุนตัวกลับ อย่างรู้สึกตัวทุกขณะ

จะบริกรรมก็ดี คือ ยกหนอ-ย่างหนอ-เหยียบหนอ-กลับหนอ
แต่ถ้าจิตสงบแล้ว อย่าบริกรรม

เพ่งความรู้สึกไปที่เท้า เท่านั้น
ทำสัก ๑๐ - ๑๕ นาที ต่อรอบ
เพราะ การเดินจงกรม เครียดง่ายมาก
ทำติดต่อกันนานๆ จะมีอาการเครียดสูง ฯ

                           ๑ พฤษภาคม ๒๓๕๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น