ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิธีนั่งสมาธิเบื้องต้น



    วิธีนั่งสมาธิเบื้องต้น (อานาปานสติ กรรมฐาน)

    อานาปานสติ เป็นกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าสอน มีในพระไตรปิฎก
       ทำง่าย-ได้สมาธิลึก-ละเอียด-พัฒนาไปได้ถึง "ฌาน-อภิญญา-ญาณ-วิมุตติ"
        เป็นการ "เพ่งลมหายใจ เข้า-ออก"
    ปฎิรูปเทสวาโส แปลว่าการอยู่ในสถานที่อันสมควร
       ไม่ว่าจะทำอะไร ก็ต้องเลือกทำเลที่เหมาะสม
       จะอ่านหนังสือยังต้องหาที่เงียบๆ-อ่านคนเดียว จะจำง่ายเข้าใจง่าย
       ประสาอะไรกับ การนั่งสมาธิ 
       ยิ่งต้องการความสงบที่สุดๆ
       อย่าไปนั่งเป็นกลุ่ม จะได้แค่ความอบอุ่น
       ไม่ได้สมาธิหรอก

    ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างให้หมด
      ในขณะที่นั่งสมาธิ จงเลิกคิด เลิกสนใจ
      ถ้ามีเวลาจำกัด ควรตั้งนาฬิกาปลุกไว้
      ควรเลือกนั่งในที่มุง-บัง กันแดด ลม น้ำค้าง แมลงฯลฯ อากาศถ่ายเทสะดวก
      ทำความสะอาดร่างกาย-สถานที่ เสียก่อน
      จะได้ไม่รู้สึกคัน

    วิธีนั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย วางบนขา
      หลังตรง คอตรง 
      (หลังอาจงอ-โน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อไม่ให้หงายหลังและนั่งนิ่งๆได้นานๆ) 
      อย่าเกรงตัว-มือ-ขา
      ทำตัวสบายๆ
      ทำใจให้ผ่อนคลาย
      ระหว่างหลับตา อาจเห็นภาพสารพัด อย่าได้สนใจเป็นอันขาด เพราะเป็นความฟุ้งซ่านอย่างหนึ่ง อย่าคิดว่าเป็นนิมิต-สิ่งวิเศษ
       (ขอเตือนว่า มึคนจำนวนมากเสียสติ เพราะเชื่อในสิ่งที่เห็น ขณะหลับตานั่งสมาธิ)

    เริ่มต้นด้วย  ให้หายใจเข้า-ออก ช้าๆ ยาวๆ (ไม่เกินพอดี)
      เมื่อเข้าที่แล้ว การหายใจให้ "ปล่อยตามธรรมชาติ"
     (อย่าใช้วิธี "ยุบหนอ-พองหนอ" ซึ่งเป็นการเพ่งที่กล้ามเนื้อกระบังลม
      วิธีนี้ใช้ได้เมื่อยังหายใจแรง แต่จะขัดขวางการได้สมาธิลึกๆ ซึ่งการหายใจจะเบา
      กล้ามเนื้อกระบังลมแทบไม่เคลื่อนไหว)

    พระพุทธเจ้าเปรียบจิตขณะเริ่มทำสมาธิ เหมือนลูกแกะ ที่ชอบวิ่งไปทั่ว-กระโดดโลดเต้น
      การเพ่งลมหายใจเปรียบเหมือนเอาเชือกล่ามลูกแกะไว้กับเสา
      จิตที่ถูกบังคับให้เพ่งเฉพาะลมหายใจ  จะดิ้นรน-ขัดขืน-ต่อสู้
      ถ้าเราไม่หวั่นไหว-มั่นคง สุดท้าย จิตจะเป็นหนึ่ง มีสมาธิ

    ขณะที่นั่งสมาธิ จึงอย่าสนใจอย่างอื่น
      ให้สนใจแค่ "ลมหายใจ" ที่สัมผัสจมูกเพียงอย่างเดียว
      ถ้าคิดฟุ้งซ่านจนเอาไม่อยู่ ให้บริกรรม"พุท - โธ"ตามจังหวะหายใจเข้า-ออก
      หักห้าม/ควบคุมความคิดให้ " ไม่คิด "
      โดยมุ่งความสนใจไปที่ "ลมหายใจ / พุท - โธ"แล้วแต่กำลังเพ่งอะไร
      ถ้าไม่ฟุ้งซ่าน / ไม่คิดสะเปะสะปะ แล้ว
      หยุดบริกรรม "พุท - โธ"
      เพ่งลมหายใจอย่างเดียว
      จะสงบกว่า
      ได้สมาธิลึกกว่า

    อย่าใช้วิธี "ดูความคิด"ไปเรื่อยๆ
       เท่ากับเป็นการปล่อยใจให้ฟุ้งซ่าน เตลิดเปิดเปิง
      ไม่มีวันได้ "ขณิกสมาธิ"หรอก ไม่ต้องพูดถึง"อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ"

    ที่ขอแนะนำอีกอย่างคือ
       การรักษาอารมณ์ในชีวิตประจำวัน
       ต้องสงบกาย-สงบใจ-สงบกิเลส
       สงบกายอย่างไร?   อยู่ในที่ๆมีคนน้อย-ไม่วุ่นวาย-ไม่อึกทึก-ไม่พูดมาก-ไม่ฟังมากฯลฯ
       สงบใจอย่างไร?     ไม่คิดมาก-ไม่ฟุ้งซ่าน-ไม่อารมณ์อ่อนไหว -ไม่วุ่นวายใจ-ไม่กลุ้มใจฯลฯ
       สงบกิเลสอย่างไร?  ลด-ละ-เลิก ราคะ โทสะ โมหะ

    สิ่งสำคัญ ต้องนอนให้พอ ขาดไม่ได้ เพราะนั่งเป็นง่วง / หลับ
      ถ้าเกิดวูปไป/หมดความรู้ตัว จงรู้ว่า คุณหลับแล้ว!
      ถ้าเห็นอะไรต่อไป จงรู้ว่า คุณฝันแล้ว!

      อย่าเข้าใจว่า คุณได้"ญาณวิเศษ"ใดๆ
      เพราะตามหลักของ พระพุทธเจ้า
      คนจะได้ญาณวิเศษ ต้องผ่านขั้นตอน
      "ปราศจาก อุปกิเลส/นิวรณ์ ๕" ไปแล้ว
      ลองทำตามที่แนะนำ
      ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องรีบร้อน แต่ต้องทำสม่ำเสมอ
      ด้วยประสบการณ์
      ขอรับรองว่า การทำสมาธิจะก้าวหน้า อย่างแน่นอน

    ถ้าอยากพัฒนามากๆ
      ขอแนะนำให้อ่านพระไตรปิฎก ในคำค้นหา  " อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก "

    และอาการ-ความรู้สึกของร่างกาย ขณะได้ ฌาน ๔ + อภิญญาญาณอื่นๆ
    [๓๔๓] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญฌานสี่. ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงาน สรงสนาน ผู้ฉลาด จะพึงใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำหมักไว้ ก้อนจุรณสิ ตัวนั้นซึ่งยางซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกาย นี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง....(มีต่อ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น